Newsยิงพลุสลายลูบเห็บ ! กรมฝนหลวงฯ ส่งเครื่องบินยิงพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ บรรเทา-ยับยั้งความรุนแรง หลังพายุลูกเห็บถล่มภาคเหนือ

ยิงพลุสลายลูบเห็บ ! กรมฝนหลวงฯ ส่งเครื่องบินยิงพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ บรรเทา-ยับยั้งความรุนแรง หลังพายุลูกเห็บถล่มภาคเหนือ

กรมฝนหลวงฯ ส่งเครื่องบินยิงพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ สลายลูกเห็บ บรรเทา-ยับยั้งความรุนแรง หลังพายุลูกเห็บถล่มภาคเหนือ

 

จากสถานการณ์ที่ขณะนี้บริเวณพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยกำลังได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อน เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำและความร้อนปกคลุมภาคเหนือและภาคกลางตอนบน ประกอบกับมีลมฝ่ายตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จึงทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง มีลูกเห็บตกและอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

 

นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร รักษาราชการแทนอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนจากสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด

 

ทั้งนี้ กรมได้ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่และสภาพอากาศเป็นประจำทุกวัน ที่ผ่านมาหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.เชียงใหม่ และ จ.พิษณุโลก ได้ปฏิบัติการฝนหลวงภารกิจยับยั้งความรุนแรงของพายุลูกเห็บช่วงวันที่ 16-18 มีนาคม 2566 ช่วยเหลือบริเวณพื้นที่ อ.สะเมิง อ.เชียงดาว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ อ.งาว อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง อ.แม่จัน จ.เชียงราย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ และ อ.ด่านซ้าย จ.เลย

 

การปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งความรุนแรงของพายุลูกเห็บเป็นการทำฝนหลวงในขั้นตอนที่ 5 (โจมตี) โดยใช้เครื่องบินชนิด Super King Air ติดเครื่องมือยิงพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์เข้าไปสลายกลุ่มเมฆที่มีการก่อตัวในระดับสูงและหนาแน่นเป็นผลึกน้ำแข็ง หรือลูกเห็บ เพื่อทำให้ผลึกน้ำแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นเม็ดน้ำละลายตกลงมาเป็นน้ำฝน ซึ่งจะช่วยบรรเทาความรุนแรงและความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้

 

สำหรับภารกิจด้านการช่วยบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่า สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ รวมถึงความต้องการน้ำของพื้นที่การเกษตรที่มีการร้องขอฝนหลวงเข้ามาอย่างต่อเนื่อง กรมฝนหลวงฯ ได้มีการติดตามและปฏิบัติภารกิจทุกวันอย่างไม่มีวันหยุดเช่นกัน

 

ผลปฏิบัติการฝนหลวงในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 13-18 มีนาคม 2566) พบว่า ทำให้มีฝนตกช่วยบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่าบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบใน จ.ตาก อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กาญจนบุรี ลำพูน พะเยา เชียงใหม่ แพร่ น่าน และมีฝนตกบริเวณพื้นที่การเกษตรบางส่วนของ จ.น่าน พะเยา ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด

 

อย่างไรก็ตาม กรมฝนหลวงฯ ขอให้พี่น้องประชาชนบริเวณภาคเหนือตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนองจากสถานการณ์พายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้นในช่วงนี้ และสามารถแจ้งสถานการณ์และความต้องการฝนหลวงเข้ามาได้เป็นประจำทุกวันได้ที่อาสาสมัครฝนหลวงในพื้นที่ หน่วยงานอำเภอ จังหวัดศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงทั่วประเทศ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า