
“โคราชวากิวย่างถ่านสมุนไพรจิ้มแจ่ว” ของดีจากโคราช 1 ใน 4 เมนูเรียกน้ำย่อย งานเลี้ยงอาหารค่ำเอเปค 2022
อาจารย์ มทส.ผู้พัฒนาสายพันธุ์โคราชวากิว ดีใจหลังถูกเลือกไปเป็นวัตถุดิบ ปรุง “โคราชวากิวย่างถ่านสมุนไพรจิ้มแจ่ว” 1 ใน 4 เมนูเรียกน้ำย่อย ในงานเลี้ยงอาหารค่ำเอเปค 2022
โคราชวากิวย่างถ่านสมุนไพรจิ้มแจ่ว เป็นหนึ่งในเมนูอาหารเรียกน้ำย่อยที่นำเสนอของดีจาก 4 ภาคในงานเลี้ยงอาหารค่ำเอเปค 2022 เป็นเมนูอาหารไทยที่รวมความเลิศรสเอาไว้อย่างหลากหลาย โดยดึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเนื้อวัวโคราชวากิวออกมาได้อย่างโดดเด่น ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าปริมาณไขมันแทรกในเนื้อวัวที่สูงทำให้เนื้อมีรสชาตินุ่มอร่อย
รองศาสตราจารย์ ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผู้พัฒนาสายพันธุ์โคราชวากิว กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจแทนเกษตรกร และชาวโคราชเป็นอย่างมากที่สามารถผลิตเนื้อวากิวสุดยอดของอร่อยอย่างหนึ่งของเมืองไทย ที่ผลิตในเขตโคราชของภาคอีสาน เกิดเป็นกำลังใจให้เกษตรกรในพื้นที่ว่าได้เป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ใช้รังสรรค์ให้ผู้นำระดับประเทศในการประชุมได้ลิ้มลองเนื้อวากิวเลิศรส และอาจเป็นอีกช่องทางในการนำเสนอเนื้อโคราชวากิวสู่สายตาคนทั่วโลก เปิดโอกาสในการส่งออกสู่ต่างประเทศ เพิ่มมูลค่าเนื้อวัวให้มีราคาที่ดีขึ้น
ผู้พัฒนาสายพันธุ์โคราชวากิว กล่าวต่อว่า จุดเด่นของโคราชวากิว จะคล้ายกับเนื้อของออสเตรเลีย เป็นวากิวลูกผสมเหมือนกัน แต่ความอร่อยของเรานั้นไม่แพ้ออสเตรเลียอย่างแน่นอน เพราะทางเรามีการเลี้ยงที่บ้านของเกษตรกรรายย่อย ขุนประณีตแบบญี่ปุ่น มีการดูแลอย่างทั่วถึง และข้อได้เปรียบคืออาหารธัญพืชใช้สำหรับขุน ตั้งแต่รำข้าว ปลายข้าว ข้าวโพด หรือแม้แต่มันสำปะหลัง ทางเรามีพร้อม เป็นแหล่งอาหารที่จะช่วยทำให้มีไขมันแทรกดี พูดว่าได้ว่าต้นทุนและวิธีการเลี้ยงดูเราสู้ได้แน่นอน
ดร.รังสรรค์ กล่าวด้วยว่า หลังจากงานประชุมเอเปกผ่านไป ตนก็คาดหวังว่าโคราชวากิวจะได้รับการยอมรับว่าเป็นเนื้อชั้นยอด จึงได้ถูกจัดเตรียมขึ้นเพื่อท่านผู้นำเอเปก ต่อไปคาดว่าโคราชวากิวจะโด่งดังไปจนถึงต่างประเทศและจะเป็นอีกเมนูหนึ่งที่จะตราตรึงใจอย่างแน่นอน โดยทางตนและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีจะยังคงมีการพัฒนาวัวสายพันธุ์โคราชวากิวให้มีคุณภาพที่สูงขึ้นอีกต่อไปในอนาคต
#TheStructureNews
#APEC2022 #โคราชวากิวย่างถ่านสมุนไพรจิ้มแจ่ว
“ใครครองอวกาศ ย่อมเป็นผู้ชนะ” ‘สุชัชวีร์’ ชี้การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศไม่ใช่แค่เรื่องความมั่นคง สามารถใช้แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดความเหลื่อมล้ำได้ด้วย
ส.ส.รีพลับริกันดันกฎหมาย ห้ามให้ ‘ยากดฮอร์โมนเพศ’ ในเด็ก หวังป้องกันล่วงละเมิดเด็ก-เยาวชน
สหรัฐฯ ปรับระเบียบควบคุม ส่งออกชิป AI ไปตะวันออกกลาง หวังสกัดไม่ให้ตะวันออกกลางส่งต่อเทคโนโลยีไปยังบริษัทจีน
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม