NewsGAP Monkey Free ก.เกษตร ออกมาตรฐาน “ปราศจากลิง” แก้กีดกันการค้าจากเรื่องลิงเก็บมะพร้าว

GAP Monkey Free ก.เกษตร ออกมาตรฐาน “ปราศจากลิง” แก้กีดกันการค้าจากเรื่องลิงเก็บมะพร้าว

กรมวิชาการเกษตรเตรียมใช้มาตรการ GAP Monkey Free Plus แก้ปัญหาถูกกีดกันทางการค้าจากการใช้แรงงานลิงเก็บมะพร้าว หวังสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ ป้องอุตสาหกรรมส่งออกมะพร้าวไทย

 

นายระพีภัทร จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเปิดเผยว่า กำลังจัดทำร่างเอกสารการตรวจรับรองแปลงมะพร้าวที่ปราศจากการใช้ลิงในการเก็บเกี่ยวหรือ GAP Monkey Free Plus ซึ่งเป็นมาตรการตรวจรับรองสวนมะพร้าวให้เข้าสู่ระบบผลิตพืชอาหารปลอดภัย (GAP) และเพิ่มการตรวจรับรองว่า แปลงนี้ไม่ได้ใช้ลิงเก็บเกี่ยว 

 

คาดว่า การดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวจะช่วยรับรองได้ว่า ผลิตภัณฑ์มะพร้าวเป็นผลผลิตที่มาจากแปลงที่ไม่ใช้ลิงซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ 

 

ก่อนหน้านี้มีข้อคิดเห็นขององค์กรประชาชนเพื่อการปฏิบัติต่อสัตว์อย่างมีจริยธรรมของสหรัฐอเมริกา (People  for the Ethical treatment of Animals : PETA) กรณีการเก็บเกี่ยวมะพร้าวโดยใช้ลิงเก็บเป็นการทรมานสัตว์ ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับมะพร้าวของไทยในการส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ กรมวิชาการเกษตรจึงเร่งดำเนินการแก้ปัญหา

 

ทั้งนี้ได้จัดประชุมหารือการดำเนินการตามมาตรการ GAP Monkey Free Plus ร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมมะพร้าว ประกอบด้วย สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย บริษัทผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์มะพร้าวของไทย 10 ราย 

 

ได้แก่ บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด บริษัท ชีวาดีโปรดักส์ จำกัด บริษัท วราฟู้ด แอนด์ ดริงค์ จำกัด บริษัท สุรีย์ อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด บริษัท ไทยอกริฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอเชียติคอุตสาหกรรมเกษตร กำจัด   บริษัท ไทยลี ฟู้ดส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเชฟช้อย จำกัด และบริษัท ไทยโคโคนัท จำกัด 

 

นอกจากนี้ยังมีภาครัฐ ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักการเกษตรต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และกรมปศุสัตว์ หากมาตรการนี้เป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน กรมจะดำเนินการในขั้นต่อไปคือ การรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชน

 

อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเชื่อมั่นว่า จากการที่กรมวิชาการเกษตรประสบความสำเร็จในการจัดทำมาตรการ COVID Free Plus ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ซื้อทุเรียนไทยและแก้ไขปัญหาการส่งออกทุเรียนไทยแล้วนำประสบการณ์ดังกล่าวมาช่วยแก้ปัญหาผลกระทบจากข้อกล่าวหาของ PETA ด้วย 

 

โดยการจัดทำมาตรการ GAP monkey free plus กรมจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมมะพร้าวของไทย และจะเป็นผู้เชื่อมโยงให้ทุกภาคส่วนพอใจและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน ซึ่งการเข้าสู่ระบบการตรวจรับรอง GAP Monkey free plus นอกจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นว่า ไทยผลิตอาหารปลอดภัยแล้ว ยังจะเป็นแนวทางไปสู่การผลิตมะพร้าวแบบยั่งยืน เมื่อการส่งออกมีอย่างต่อเนื่อง เกษตรกรขายผลผลิตได้สร้างรายได้ที่มั่นคง รวมทั้งยังสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการสามารถยืนหยัดได้ในเวทีแข่งขันระดับโลก 

 

#TheStructureNews

อ้างอิง :[1] https://tna.mcot.net/agriculture-1000072

 

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า