Newsสัดส่วนการเป็นเจ้าของบ้านของคนไทย น่าหวั่นใจแค่ไหน เมื่อ ครม. “อนุมัติ” ต่างชาติซื้อบ้านในไทยได้ ภายใต้เงื่อนไขการลงทุน

สัดส่วนการเป็นเจ้าของบ้านของคนไทย น่าหวั่นใจแค่ไหน เมื่อ ครม. “อนุมัติ” ต่างชาติซื้อบ้านในไทยได้ ภายใต้เงื่อนไขการลงทุน

นักวิชาการอิสระชี้ คนไทยยังคงสัดส่วนการเป็นเจ้าของบ้านและที่ดินที่สูงมาก เมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศ ท่ามกลางการจับตามองหลัง ครม. อนุมัติต่างชาติซื้อบ้านอยู่อาศัยได้ในเมือง หวังดึงดูดชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนขั้นต่ำ 40 ล้าน

 

โดยครม. ได้อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการซื้อที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน ระยะเวลาบังคับใช้ 5 ปี นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดซื้อบ้านอยู่อาศัย เนื้อที่ไม่เกิน 1 ไร่ กำหนดเขตภายในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล หรืออยู่ภายในบริเวณที่กำหนดเป็นเขตที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง 

 

โดยแลกกับเงื่อนไขการเข้ามาลงทุนในประเทศไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท ในระยะเวลา 3 ปี ลดลงจากเดิมที่กำหนดต้องลงทุน 5 ปี อันได้แก่ การลงทุนประเภทต่างๆ เช่น การซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หากถอนการลงทุนในธุรกิจหรือกิจการก่อนครบกำหนด ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ถอนการลงทุน 

 

โดยได้กำหนดกลุ่มคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูง 4 ประเภท ที่สามารถซื้อที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ 

(1) กลุ่มประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง 

(2) กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ 

(3) กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย 

(4) กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ

ต่อข้อกังวลของประชาชนบางกลุ่มที่ว่า หากปล่อยให้มีการถือครองที่ดินโดยคนต่างชาติมากเกินไป วันหนึ่ง ประเทศไทยจะประสบปัญหาเช่นเดียวกับหลายประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ ที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ในลอนดอนเป็นกรรมสิทธิ์ของคนจีน หรือไม่ เรื่องนี้ มีนักวิชาการด้านการตลาดที่จับตามองความเคลื่อนไหวสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยและประเทศใหญ่ๆ ในโลก ได้ให้ความเห็นในเฟสบุ๊กส่วนตัว Intaka Piriyakul ไว้อย่างน่าสนใจว่า

 

“สัดส่วนการเป็นเจ้าของบ้านของแต่ละประเทศ

 

ค่านี้มันบอกอะไรได้หลายอย่าง

 

ประเทศไทยอยู่ที่ 80% ถือว่ากลางๆค่อนข้างสูง และการที่มีบ้านเยอะบอกเราได้ว่า

 

  1. คนส่วนใหญ่ไม่ต้องกังวลเรื่องปัจจัยพื้นฐานตลอดเวลา กรณีที่ผ่อนหมดแล้ว หรือ รัฐจัดสรรให้แล้ว ทำให้ความกังวลพื้นฐานเรื่องการดิ้นรนหาบ้านน้อยกว่า เมื่อเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจประเทศกลุ่มนี้จะกระทบน้อยกว่า ประเทศกลุ่มล่างๆ ที่คนเช่าบ้านอยู่เยอะ ถ้ารายได้สะดุดจะเกิด homeless ทันที

 

  1. ราคาที่อยู่อาศัยในประเทศนั้น และการที่รัฐแทรกแซงการถือครองทรัพสินเอกชนมากแค่ไหน อย่างในญี่ปุ่นที่เก็บค่ามีบ้านแพง ทำให้คนไม่อยากมีบ้าน เพราะเป็นภาระมากกว่าเป็นทรัพย์สิน คนในประเทศปล่อยบ้านของตระกูลร้างแล้วย้ายไปเช่าอยู่เพราะไม่มีเงินพอจะซ่อมแซมตามกฏหมาย

 

ส่วนในอเมริกา ปัญหา คือ คนมีเงินซื้อบ้านไปกองไว้เพื่อการลงทุน บ้านว่างรอการขายมีมากกว่า homeless การเกลี่ยประโยชน์ระหว่างคนมีสถานะทางเศรษฐกิจกับคนจน แทบจะแยกวรรณะกัน ในหลายรัฐเลยมีคนนอนริมถนนเต็มไปหมด

 

ที่ลอนดอนคนอยู่อาศัยมีสัดส่วนการเป็นเจ้าของบ้านต่ำมากๆๆๆๆๆ คือ เช่าอยู่กันน่าจะราวๆ 80% ขึ้นไป บ้านที่ดินในเมืองใหญ่ของอังกฤษเป็นของ landlord ทั้งหมด ช่วงห้าปีหลัง 30% เป็นนายทุนจีนและมีการขึ้นค่าเช่าทุกปี เพราะรัฐดันไปรีดภาษี นายทุนเลยรีดเลือดผู้เช่าต่ออีกรอบ ถึงขั้นนายกเมืองลอนดอนขออำนาจกฏหมายพิเศษให้ระงับการไล่ผู้เช่าออกจากบ้านโดยนายทุน ไม่งั้นชาวลินดอนครึ่งเมืองจะเป็น homeless

 

ประเทศเรา ถ้าเขตเมือง ที่ดินแพงจนเรามีสภาพวิ่งเข้าหาอเมริกาและลอนดอน สำหรับเด็กจบใหม่และคนต่างถิ่นที่ย้ายมาทำงาน สภาพชีวิตจะเป็นทุกข์คนเมืองแบบเดียวกับหลายๆ ประเทศที่ว่า ส่วนคนที่หลุดพ้นแล้ว เช่น คนแก่ คนรายได้สูง ก็จะอยู่เมืองได้สบายกว่ากันมาก

 

 

ถ้าคนเมืองย้ายออกไป ตจว ไปนอกเมืองใหญ่ แล้วยังทำงานเดิมได้ ชีวิตความเป็นอยู่จะดีขึ้นมากแทบทุกคน ทั้งจากค่าครองชีพและราคาที่อยู่อาศัย

 

สำหรับคนทำงานใหม่ๆ และเด็กๆ กำลังจะจบ ถ้าเราหางานทำในกลุ่มที่ทำที่ไหนก็ได้ แล้วไม่พยายามอยู่ในเขตที่ค่าบ้าน ค่าครองชีพแพง มันจะทำให้คุณภาพชีวิตดีอย่างเร็วที่สุด

 

ลองมาทางเลือกนี้ดู ก็น่าสนใจนะ ค่าที่ดินและบ้านในเมืองยังจะวิ่งอีกราว 10 ปีก็น่าจะอิ่มตัว คนซื้อบ้านในกรุง ถ้าผ่อนไม่หมดภายใน 10-15 ปีนี้ ถ้าคิดเลขดีๆ เช่าอยู่อาจจะคุ้มกว่าก็ได้

 

#TheStructureNews

#ต่างชาติ #ซื้อบ้าน #ลงทุน

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า