Newsดร.วรัชญ์ จับโกหก ThaiPBS หลังสร้างข่าวว่าอาหารผู้นำ APEC ไม่ได้ใช้ปลากุเลาเค็มจาก อ. ตากใบ ก่อนถูกเชฟและร้านป้าอ้วนตากใบแฉ จนไทยพีบีเอสต้องลบข่าวหนีในที่สุด

ดร.วรัชญ์ จับโกหก ThaiPBS หลังสร้างข่าวว่าอาหารผู้นำ APEC ไม่ได้ใช้ปลากุเลาเค็มจาก อ. ตากใบ ก่อนถูกเชฟและร้านป้าอ้วนตากใบแฉ จนไทยพีบีเอสต้องลบข่าวหนีในที่สุด

วันที่ 14 พ.ย.2565 ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) NIDA ได้ออกมาประณามช่อง ThaiPBS

 

ซึ่งได้นำเสนอข้อมูลบิดเบือนใส่ร้ายเชฟชุมพล และประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ APEC 2022 ด้วยการกุเรื่องว่า “ปลากุเลาเค็ม” ที่ขึ้นโต๊ะอาหารผู้นำเอเปคไม่ได้มาจากตากใบ

 

โดยเป็นการนำเสนอหัวข้อข่าวชื่อ “จับโป๊ะ Soft Power ‘ปลากุเลาเค็ม’ ขึ้นโต๊ะผู้นำเอเปค ไม่ได้มาจากตากใบ” ซึ่งเป็นการไปสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านขายอาหารทะเลกลุ่มหนึ่ง เพื่อให้ได้บทว่า “ไม่มีใครมาซื้อปลากุเลาไปใช้ในงาน APEC”

 

แต่ความจริงซึ่งถูกเปิดเผยโดยเชฟชุมพล แจ้งไพร เชฟมิชเชอร์ลินสตาร์ ที่เป็นหนึ่งในทีมทำอาหารเลี้ยงผู้นำเอเปค ก็คือ ทางทีมเชฟได้ซื้อปลามาจากร้าน “ปลากุเลาเค็มป้าอ้วนตากใบ” ซึ่งอยู่ที่ 40/1 หมู่ที่ 3 ต.เจ๊ะเห อ.ตกใบ จ.นราธิวาส เบอร์โทรร้าน 086-9636422

 

ซึ่งทางร้านก็ได้ออกมาประกาศผ่าน Facebook ทางร้านว่า ร้านเป็นผู้จัดจำหน่ายปลากุเลาเค็ม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 5 ดาวของชุมชน โดยก่อนหน้านี้มีเจ้าหน้าที่มาซื้อปลากุเลาเค็มไป 1 ตัวเพื่อนำไปชิม และภายหลังมีการสั่งออนไลน์วันละหลายหมื่นบาทในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา

 

หลังข้อมูลปรากฎชัดเจน ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต ได้ตั้งคำถามว่าไทยพีบีเอสทำแบบนี้ ไม่แน่ใจว่าทีมข่าวเรียนจบวารสารศาสตร์และมีกอง บก.หรือไม่ ทำไมจึงพยายามสร้างเนื้อหาที่ไม่สมเหตุผล ด้วยการไปสัมภาษณ์ร้านที่ไม่ได้รับการติดต่อซื้อ แล้วไปสรุปว่า “ไม่มีการซื้อจริง”

 

พร้อมระบุว่า ไทยพีบีเอส จะรับผิดชอบอย่างไรต่อชื่อเสียงของเชฟชุมพล และชื่อเสียงของประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพ APEC และไทยพีบีเอสยังเคยทำเรื่องแบบนี้มาหลายครั้ง และทุกครั้งก็รับปากว่าจะแก้ไข แต่ก็ทำซ้ำเหมือนเดิมเรื่อยๆ จนมาถึงครั้งนี้

 

สุดท้ายประชาชนเสียเงินภาษีปีละ 2,000 ล้านบาทเลี้ยงช่องไทยพีบีเอส ก็ควรได้ช่องข่าวที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ไม่ใช่ได้ช่องทีวีที่ผลิต Fake News

 

——————

ข้อความของ ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต

——————

 

“จับโป๊ะ” ใครกันแน่?

 

กรณีการลงข่าวนี้ ข่าวไทยพีบีเอสจะ “จับโป๊ะ” รัฐบาล หรือว่าข่าวไทยพีบีเอส จะถูก “จับโป๊ะ” เสียเอง?

 

เนื้อหาข่าวไทยพีบีเอส เป็นการให้สัมภาษณ์ของผู้ประกอบการในพื้นที่ตากใบ “บางคน” ที่ให้ข้อมูลว่าไม่เห็นรู้เรื่องว่ามีการซื้อปลากุเลาเค็มจากร้านใดร้านหนึ่งใน 9 ร้านที่ได้ขึ้นทะเบียน GI ของจังหวัดไปเลย จึงสรุปได้ว่า ที่รัฐบาลโปรโมตว่าจะนำเอาปลากุเลาเค็มไปทำอาหารในการประชุมเอเปคนั้น “ไม่จริง”

 

ซึ่งต่อมาเชฟชุมพล และรองโฆษกรัฐบาล ก็ออกมาให้ข้อเท็จจริงว่า เชฟชุมพลซื้อปลากุเลาเค็มมาจากตากใบจริง จากร้านป้าอ้วน เพราะเป็นร้านเดียวที่ผ่านมาตรฐาน ซึ่งต่อมาเฟซบุ๊กของร้านป้าอ้วนก็ออกมายืนยันว่ามีการสั่งซื้อไปจริง แต่ด้วยการที่ร้านขายจำนวนมาก ก็ไม่รู้ว่าใครซื้อไปบ้าง (แล้วก็คงบอกกันไปในกลุ่มว่า ไม่รู้เรื่องที่ขายปลาเค็มไปทำอาหารเอเปค เพราะไม่เห็นมีใครมาติดต่อแจ้งอย่างนั้น)

 

ผมไม่แน่ใจว่านักข่าวที่ทำข่าวนี้ เรียนจบวารสารศาสตร์มาหรือไม่ หรือบก. ที่ตรวจข่าวนี้ (มีไหม) ใช้หลักการอะไรในการปล่อยให้ข่าวนี้ออกมาได้ แต่ในฐานะที่ผมเป็นอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ ผมก็มีคำถามที่คนทั่วไปก็น่าจะสงสัยเหมือนกัน คือ ทำไมนักข่าวที่ทำข่าวนี้ถึง …

 

  1. เชื่อมั่นว่าไม่มีการซื้อจริง ด้วยคำบอกเล่าของร้าน (บางคน) ทำไมไม่คิดว่า คนที่ไปสัมภาษณ์นั้น เขารู้จริงหรือไม่ เข้าใจผิดหรือไม่ รู้ได้อย่างไรว่าไม่มีคนซื้อไปทำอาหารเอเปค การหาข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานนี่คือหลักการวารสารศาสตร์เบื้องต้นเลย

 

  1. ถ้าไม่แน่ใจว่าร้านค้าจะรู้ข้อมูลหรือไม่ ทำไมไม่ทำสิ่งที่ง่ายที่สุด ก็คือถามไปที่ต้นตน นั่นคือเชฟชุมพล หรือทางสำนักนายกก็ได้ ว่าซื้อจริงไหม ซื้อยังไง ใครซื้อ การหาข้อมูลจากอีกฝั่ง ก็เป็นหลักวารสารศาสตร์เบื้องต้นสุดๆ เช่นกัน (ถ้าติดต่อไม่ได้ ก็ระบุไปว่ายังไม่ได้รับคำตอบ)

 

แต่ไม่ครับ นักข่าวที่ทำข่าวนี้ ไม่ได้ทำทั้งสองข้อ แล้วก็ลงข่าวพร้อมพาดหัวเลยว่า “จับโป๊ะ” ที่แปลว่า “จับโกหก”

 

คำถามต่อไปของผมคือ

 

  1. ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชื่อเสียงของเชฟชุมพล จากการเกิดความเข้าใจผิดด้วยข้อมูลบิดเบือน ไทยพีบีเอสและนักข่าวคนนี้จะรับผิดชอบอย่างไร?

 

  1. ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชื่อเสียงของประเทศไทยในสายตาชาวโลกจากการเกิดความเข้าใจผิดด้วยข้อมูลบิดเบือน ไทยพีบีเอสและนักข่าวคนนี้จะรับผิดชอบอย่างไร?

 

  1. ไทยพีบีเอส เคยลงข่าวออนไลน์ด้วยข้อมูลที่ผิดพลาดมาแล้วหลายครั้ง และทุกครั้งก็ให้สัญญาว่าจะแก้ไข ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก รวมทั้งมีกลไกการตรวจสอบข่าวก่อนเผยแพร่ กลไกการป้องกัน การตรวจสอบข้อเท็จจริงนั้นคืออะไร ใครเป็นผู้รับผิดชอบ?

 

เหนื่อยใจเหมือนกันนะครับ เสียเวลาด้วย ที่ต้องมาคอยแก้ไขข้อมูลผิดๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก จากองค์กรสื่อที่ได้งบประมาณจากภาษีปีละ 2,000 ล้าน ที่ควรมีมาตรฐานการทำข่าวและสร้างประโยชน์ให้สาธารณะ ไม่ใช่การสร้าง Fake News เสียเอง

 

แล้วก็ไม่เข้าใจว่า จะทำเรื่องนี้ให้เป็นดราม่าเชิงลบ สร้างความขัดแย้ง และจะมาดิสเครดิตคนทำงานที่พยายามทำเพื่อชาติทำไม ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยได้รับเกียรติสำคัญระดับโลกเช่นนี้? มันมีผลดีกับใครหรือครับ?

 

(รายการเด็ก สารคดี ซีรีย์ รายการอื่นๆดีนะครับ แต่ข่าวออนไลน์ของไทยพีบีเอส ผิดซ้ำซากอย่างมีนัยสำคัญ และกรณีนี้ยิ่งชัดเจนว่าไม่มีระบบการตรวจสอบก่อนลงข่าวครับ)

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า