Newsกระจกตาจาก ‘หนังหมู’ นักวิทย์เจ๋ง! ปลูกถ่ายกระจกตาชีวภาพ ช่วยคนตาบอดให้มองเห็นได้ 14 ราย

กระจกตาจาก ‘หนังหมู’ นักวิทย์เจ๋ง! ปลูกถ่ายกระจกตาชีวภาพ ช่วยคนตาบอดให้มองเห็นได้ 14 ราย

ผลการวิจัยซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature Biotechnology เมื่อวันพฤหัสบดี (11 ส.ค.) ระบุว่า การมองเห็นของคนไข้โรคกระจกตาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากได้รับการปลูกถ่ายกระจกตาเทียมที่สังเคราะห์จากโปรตีนในหนังหมู

คนไข้โรคกระจกตาโป่ง (Keratoconua) ในอิหร่านและอินเดีย จำนวน 20 ราย ซึ่งในจำนวนนี้มีคนไข้ที่มีอาการรุนแรงจนถึงขั้นตาบอด 14 ราย การมองเห็นกลับคืนมาบางส่วนหรือทั้งหมด หลังได้รับการปลูกถ่ายกระจกตาเทียมเพียง 2 ปี 

Neil Lagali ศาสตราจารย์ด้านการทดลองทางจักษุวิทยา แห่งมหาวิทยาลัย Linköping กล่าวถึงขั้นตอนการวิจัยว่า เขาและทีมงานนักวิจัยทำการละลายเนื้อเยื่อสุกรเพื่อให้ได้สารละลายคอลลาเจนบริสุทธิ์ เพื่อนำไปสังเคราะห์ไฮโดรเจลให้มีความใสและโค้งเหมือนกับกระจกตามนุษย์ (กระจกตาเทียม) 

จากนั้นศัลยแพทย์จะผ่าเปิดฝากระจกตาของคนไข้เพื่อเปิดช่องสำหรับวางกระจกตาเทียม ซึ่งกระบวนการนี้จะปรับรูปร่างและทำให้กระจกตาหนาขึ้น ฟื้นฟูการทำงานของกระจกตา และคืนการมองเห็นให้กับคนไข้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจากการติดตามผลการรักษานาน 2 ปี ไม่พบการปฏิเสธเนื้อเยื่อ การอักเสบ หรือรอยแผลเป็นใดๆ ที่กระจกตา

เมื่อเปรียบเทียบการปลูกถ่ายกระจกตาเทียม กับการปลูกถ่ายกระจกตาบริจาค พบว่า การปลูกถ่ายกระจกตาบริจาคมีความเสี่ยงที่ร่างกายจะปฏิเสธเนื้อเยื่อสูงกว่า เนื่องจากมีเซลล์แปลกปลอม ในขณะที่กระจกตาเทียมไม่มีเซลล์ จึงแทบจะไม่มีความเสี่ยงที่ร่ายกายจะปฏิเสธเนื้อเยื่อ

นอกจากนี้ ขั้นตอนการปลูกถ่ายกระจกตาเทียมยังเร็วกว่าการปลูกถ่ายแบบดั้งเดิม โดยใช้เวลาเพียง 30 นาที ในขณะที่การปลูกถ่ายแบบดั้งเดิมอาจใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง และการผ่าตัดยังราคาสูงอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม Lagali ให้ข้อสังเกตว่า การศึกษานำร่องนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะได้ผลกับการรักษาคนไข้โรคกระจกตารูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากโรคกระจกตาโป่งหรือไม่

ทั้งนี้ Lagali กล่าวว่า ทีมของเขาหวังว่าจะได้ผลลัพธ์แบบเดียวกันจากการศึกษาเพิ่มเติมในคนไข้ 100 รายหรือมากกว่า จากนั้นจะดำเนินการขออนุมัติด้านกฎระเบียบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ทีมงานหวังว่าจะสามารถทำการปลูกถ่ายกระจกตาเทียมในประเทศที่มีปัญหาขาดแคลนกระจกตาบริจาค 

 

#TheStructureNews

#Eye #Implant #keratoconus #กระจกตาชีวภาพ #กระจกตาเทียม #โรคกระจกตาโป่ง

อ้างอิง :

[1] https://www.nbcnews.com/health/health-news/eye-implant-pig-protein-restored-sight-blind-people-rcna42681

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า