Newsพลังงานชีวภาพ จะเป็นพลังงานสะอาดสำหรับประเทศเกษตรกรรม อย่างประเทศไทยได้หรือไม่ ?

พลังงานชีวภาพ จะเป็นพลังงานสะอาดสำหรับประเทศเกษตรกรรม อย่างประเทศไทยได้หรือไม่ ?

ในปัจจุบันความต้องการพลังงานสะอาดมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของกระแสโลก ที่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Chage) ที่กำลังกลายมาเป็นภัยคุกคามใหม่ที่มีอาจเป็นชนวนของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของโลก [1]

 

ความต้องการพลังงานสะอาด เป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญของอุตสาหกรรมไฮเทคในการเข้ามาลงทุนในประเทศต่าง ๆ มากกว่าแหล่งพลังงานราคาถูกแต่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนคือการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยของ Google, Microsoft และ Tesla ทั้ง 3 บริษัทไฮเทคยักษ์ใหญ่ของโลก ต่างเรียกร้องแหล่งพลังงานสะอาดจากรัฐบาลไทย [2]

 

พลังงานทางเลือกที่ส่วนใหญ่พูดถึงในปัจจุบันคือพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ ด้วยเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์ในปัจจุบัน มีความสามารถในการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เพียง 200 วัตต์ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ในขณะที่กาต้มน้ำร้อน 1 ตัว ต้องการพลังงานขั้นต่ำ 800 วัตต์ หรือต้องการแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 4 ตารางเมตร เพื่อกาต้มน้ำร้อนตัวเดียว ดังนั้นแค่พลังงานแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว ยังไงก็ไม่พอ

 

ประเทศไทยของเราเป็นประเทศเกษตรกรรม ซึ่งเรามีเศษซากเหลือจากการเพาะปลูกอยู่มากมาย จากรายงานแผนพัฒนาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2563 (Alternative Energy Development Plan 2018: AEDP 2018) ของกระทรวงพลังงานระบุว่า ในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยของเรามีชีวมวลที่สามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้มากถึง 296,340,473 ตันต่อปี [3]



ซึ่งชีวมวลเหล่านี้ หมายถึงซากพืชเหลือทิ้งจากการเพาะปลูก อาทิเช่น แกลบ ฟาง ชานอ้อย ทะลายปาล์ม เศษไม้ กิ่งใบ ซึ่งมีศักยภาพในการแปรรูปเป็นพลังงานได้ทั้งในรูปแบบของพลังงานไฟฟ้าและ พลังงานความร้อน (ไม่นับก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นจากของเสียในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม และไม่นับรวมผลผลิตสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ) [3]

 

แต่ก็น่าเสียดายที่ชีวมวลเหล่านี้กลับถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์มากถึง 159,799,575 ตัน [3]  เกินกว่าครึ่งหนึ่ง (ประมาณ 54%) ที่ถูกทิ้งเปล่าประโยชน์ไป บางส่วนถูกทิ้งไว้ให้ถูกย่อยสลายตามธรรมชาติ จนกลายเป็นปุ๋ย แต่บางส่วนถูกเผาทำลายจนกลายเป็นปัญหาฝุ่น PM2.5 สร้างปัญหามลพิษทางอากาศทุก ๆ ปี [3]

 

และข้อจำกัดที่ทำให้ชีวมวลบางส่วนถูกทิ้งไปเนื่องจากต้นทุนในการรวบรวมและขนส่งยังสูงมากเกินไป ไม่มีความคุ้มค่าในการนำไปผลิตพลังงาน [3]

 

เราจะไม่มีทางออกสำหรับพลังงานชีวมวลหรือ ? คำตอบอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2563 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (Power Development Plan 2018 Revision 1: PDP 2018 Rev.1) ซึ่งแผนดังกล่าวมีความพยายามที่จะกระจายศูนย์การผลิตไฟฟ้า (Decentralized of Power) จากเดิมที่การผลิตไฟฟ้าอยู่ในมือของรัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนรายใหญ่

 

ให้กระจายออกไปสู่ชุมชน ภายใต้นโยบาย “โรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก” ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าป้อนประเทศ สร้างงาน สร้างรายได้สู่ชุมชน สร้างความมั่นคงด้านพลังงานแก่ท้องถิ่นได้โดยตรง โดยกำหนดเป้าหมายไว้ว่าในปี พ.ศ. 2580 โรงงานไฟฟ้าชุมชนจะจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้ 1,933 เมกกะวัตต์ [4]

และสำหรับเกษตรกรเอง ในปัจจุบันการลักลอบเผาไร่หลังการเก็บเกี่ยวนั้น มีสาเหตุจากต้นทุนค่าแรงในการกำจัดซากในปัจจุบันไม่มีวิธีอื่นใดที่คุ้มค่ามากไปกว่าวิธีการเผา ซึ่งก่อให้เกิดปัญหา PM2.5 และการจ่ายเงินชดเชยเองก็เป็นวิธีการสร้างแรงจูงใจที่จำเป็นจะต้องใช้เงินภาษีเพื่อการอุดหนุนในทุก ๆ ปี

 

แต่ถ้าหากว่าเกษตรกรสามารถเก็บซากเหล่านี้ไปขายได้ในราคาสูงมากเพียงพอ ก็จะกลายเป็นการสร้างแรงจูงใจไม่ให้เกิดการเผา โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเงินภาษีเพื่อการอุดหนุน

อย่างไรก็ดีการสร้างโรงไฟฟ้าชุมชน กระจายอำนาจการผลิตไฟฟ้า (และเชื้อเพลิงชีวภาพ) ไปสู่ชุมชนท้องถิ่นเพียงอย่างเดียวนั้น ยังไม่เพียงพอ แต่จะต้องมีการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้า หรือโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งในแผน PDP 2018 เองก็มีการกำหนดแผนการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าด้วยเช่นกัน [4] 

 

ซึ่งนั่นหมายถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงานที่รัฐบาลจำเป็นจะต้องลงทุนต่อเนื่องต่อไปในระยะยาว และมีความจำเป็นที่จะต้องให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในรูปแบบการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public-Private Partnership: PPP) และที่สำคัญคือ การพัฒนาคุณภาพบุคลากร สร้างกำลังคนที่มีทักษะมากเพียงพอที่จะเข้าไปดูแลโรงงานไฟฟ้าชุมชนเหล่านี้อีกมากมายหลายอัตรา

คงเป็นเรื่องที่ตอบได้ยากว่า ณ ปี พ.ศ. 2580 ประเทศไทยของเราจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวหรือไม่ แต่สังเกตจากเป้าหมายการผลิตพลังงานไฟฟ้าพลังงานชีวมวลในปี พ.ศ. 2580 แล้ว ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า เป้าหมายตามแผน AEDP 2023 ที่จะเข้ามาแทนที่ AEDP 2018 นั้น ตั้งเป้าหมายลดลงจาก 5,790 เมตตกวัตต์ [3] ลงเป็นเพียง 5,730 เมกกะวัตต์ [5] 

 

ถึงแม้ว่าจะดูเล็กน้อย แต่ก็เป็นสัญญาณว่ามีแนวโน้มว่าจะช้าลง และเป็นที่เข้าใจได้ว่า การลงมือพัฒนาในภาคปฏิบัติย่อมจะมีอุปสรรค จึงต้องลดเป้าหมายลง และถึงแม้ว่าจะช้าลง ก็ยังดีกว่าไม่เริ่มอะไรเลย

 

ศิราวุธ ภุมมะกสิกร

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า