Newsเจรจาข้อพิพาท ‘กรมเหมืองแร่’ เผยการเจรจากับ ‘คิงส์เกต’ และ ‘อัคราฯ’ มีแนวโน้มที่ดี เหมืองทองกลับมาเปิดได้ หลังปรับปรุงมาตรการสิ่งแวดล้อม

เจรจาข้อพิพาท ‘กรมเหมืองแร่’ เผยการเจรจากับ ‘คิงส์เกต’ และ ‘อัคราฯ’ มีแนวโน้มที่ดี เหมืองทองกลับมาเปิดได้ หลังปรับปรุงมาตรการสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2567 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ชี้แจงความคืบหน้าของคดีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด ซึ่งในปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างการเจรจาแก้ไขปัญหาข้อพิพาท 

 

โดยคณะอนุญาโตตุลาการได้อนุญาตให้เลื่อนการออกคำชี้ขาดออกไปอีก 6 เดือน จากเดิมที่กำหนดออกคำชี้ขาดในช่วงสิ้นปี 2566 ที่ผ่านมา โดยทั้งสองฝ่ายยังมีแนวโน้มที่ดีในการเจรจาแก้ไขปัญหาข้อพิพาทตามคำแนะนำของคณะอนุญาโตตุลาการ  

 

นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เปิดเผยว่า “กรณีข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรไทยกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ด ผู้ถือหุ้นบริษัท อัครารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) คณะอนุญาโตตุลาการได้เลื่อนการออกคำชี้ขาดหรือคำตัดสินออกไปอีก 6 เดือนจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567 ตามที่ทั้งสองฝ่ายร้องขอ  ซึ่งเป็นกรอบระยะเวลาที่เชื่อว่าจะสามารถเจรจาให้ข้อพิพาทยุติลงได้ และเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายมากกว่า   

 

สำหรับการกลับมาประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำอีกครั้งของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม 2566 ที่ผ่านมานั้น เป็นผลมาจาก บริษัท อัคราฯ ได้เริ่มกลับมาดำเนินการคำขอต่าง ๆ  โดยเฉพาะคำขอต่ออายุประทานบัตรในพื้นที่เดิม และใบอนุญาตประกอบโลหกรรมที่ค้างอยู่ ตั้งแต่ปี 2563 ให้ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยแร่และระเบียบที่เกี่ยวข้อง 

 

รวมทั้งได้ดำเนินการตามกรอบนโยบายทองคำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่  โดยภายหลังจากที่บริษัท อัคราฯ ได้กลับมาประกอบการอีกครั้ง ได้มีการติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมภายใต้รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม EIA สำหรับการทำเหมืองแร่ และ EHIA สำหรับการประกอบโลหกรรมอย่างเคร่งครัด 

 

นอกจากนี้ ยังได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบควบคุมและเฝ้าระวังการทำเหมืองแร่ทองคำ และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้น  

 

สำหรับกรณีที่มีข่าวเรื่องการสั่งฟ้องเหมืองทองอัคราฯ ในความผิดฐาน ยึดที่ดินรัฐ-ครอบครองป่า-สร้างตะแกรงรุกทางหลวงนั้น เห็นว่าเป็นกระบวนการตามกฎหมายอื่น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ไม่เคยแทรกแซงและไม่สามารถก้าวล่วงได้  

 

ทั้งนี้ การดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรมตามกฎหมายของไทยในกรณีดังกล่าวไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีหรือกระบวนการอนุญาโตตุลาการ รวมทั้งคณะอนุญาโตตุลาการยังไม่ได้มีการออกคำชี้ขาดหรือคำตัดสินแต่อย่างใด”  นายอดิทัต กล่าวปิดท้าย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า