เปิดตัว ‘โกลด์ครอสทันเดอร์’ กรมประมงทำสำเร็จ เพาะปลาการ์ตูนสายพันธุ์ใหม่ เลี้ยงร่วมกับปลาทะเลสวยงามอื่นๆ ในตู้ปลาได้ตามปกติ
อธิบดีกรมประมงเผยผลสำเร็จในการพัฒนา “ปลาการ์ตูนโกลด์ครอสทันเดอร์” เป็นปลาการ์ตูนสายพันธุ์ใหม่ ที่มีลวดลายแปลกใหม่
นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า กรมประมงได้พัฒนาปลาการ์ตูนสายพันธุ์ใหม่คือ “ปลาการ์ตูนโกลด์ครอสทันเดอร์” (Gold x thunder maroon) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Premnas biaculeatus โดยใช้วิธีการปรับปรุงพันธุ์ตามหลักพันธุศาสตร์ปลาสวยงามด้วยการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง ปลาการ์ตูนทองโกลด์นักเก็ตกับปลาการ์ตูนแดงทันเดอร์ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ไม่พบในธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นจากการปรับปรุงพันธุ์จากโรงเพาะฟัก
โดยลูกพันธุ์ปลาที่ได้มีลักษณะลวดลายแปลกใหม่แตกต่างไปจากพ่อและแม่พันธุ์จึงเรียกลักษณะนี้ว่า “โกลด์ครอสทันเดอร์” โดยปลาสายพันธุ์นี้เป็นปลาที่ถูกพัฒนาสายพันธุ์เพื่อกระตุ้นศักยภาพการผลิตปลาสวยงามเท่านั้น ย้ำว่า กรมประมงไม่มีนโยบายปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดยเด็ดขาด
นายสามารถ เดชสถิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาและอนุรักษ์พันธุ์ปู ป่าทุ่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดกระบี่กล่าวเพิ่มเติมว่า ความท้าทายของการเพาะพันธุ์ปลาสายพันธุ์นี้ คือ จำเป็นต้องศึกษาจนทราบรูปแบบการถ่ายทอดลักษณะโกลด์นักเก็ต และลักษณะแดงทันเดอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งปลาสายพันธุ์แท้ หรืออย่างน้อยต้องทราบลักษณะทางพันธุกรรมของปลาแต่ละตัว หลังจากนั้นจึงนำปลาที่มีลักษณะทั้ง 2 มาผสมกันเพื่อให้ลักษณะทั้งสองปรากฏอยู่ด้วยกันและถ่ายทอดให้มีการแสดงลักษณะใหม่ออกมา ซึ่งจากการวิจัยพบว่า ลักษณะโกลด์ครอสทันเดอร์ เกิดจากปฏิกิริยาร่วมแบบสะสมของยีนต่างตำแหน่งระหว่างยีนควบคุมลักษณะตัวสีทองจากปลาการ์ตูนทองโกลด์นักเก็ตกับยีนควบคุมลักษณะลายพื้นขาวจากปลาการ์ตูนแดงทันเดอร์
ปลาพันธุ์ใหม่นี้เกิดขึ้นจากการผสมข้ามระหว่างสายพันธุ์ให้เกิดลักษณะแปลกใหม่ ไม่ได้เป็นการดัดแปลงพันธุกรรมแต่อย่างใด สำหรับปลาการ์ตูนโกลด์ครอสทันเดอร์ ลักษณะเด่นจะอยู่ที่ลักษณะรูพรุนและความพลิ้วไหวของลายสีขาวบนพื้นลำตัวสีแดง ซึ่งแตกต่างไปจากปลาการ์ตูนทั่วไปที่เคยมี โดยที่มาของชื่อเกิดจากการรวมชื่อของสายพันธุ์พ่อและแม่ปลา ได้แก่ Gold = gold nugget maroon (ปลาการ์ตูนแก้มหนามที่มีลักษณะลายตัวสีทอง) X (cross : การผสมข้าม) Thunder = thunder maroon (ปลาการ์ตูนแก้มหนามที่มีลักษณะลายพื้นขาว)
ปลาสายพันธุ์นี้มีชีววิทยาเหมือนปลาการ์ตูนแก้มหนามทั่วไปคือ ความยาวสูงสุดประมาณ 17 เซนติเมตร ปลาเพศผู้เจริญพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 6 เดือน ในขณะที่เพศเมียเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 18 เดือน โดยมีลักษณะเป็นปลากะเทยคือ ปลาเพศผู้สามารถเปลี่ยนเพศเป็นเพศเมียได้ แต่เพศเมียไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเพศผู้ได้ อายุขัยเฉลี่ยทั่วไปประมาณ 15 ปี
สำหรับปลาการ์ตูนโกลด์ครอสทันเดอร์ นับเป็นปลาสวยงามอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่สามารถเลี้ยงร่วมกับปลาทะเลสวยงามอื่นๆ ในตู้ปลาได้ตามปกติ แต่ไม่ควรเลี้ยงร่วมกับปลาที่เป็นนักล่า ที่สำคัญปลาที่กรมประมงเพาะขยายพันธุ์ได้นั้น ทางนักวิชาการจะปรับพฤติกรรมการกินตั้งแต่ขั้นตอนอนุบาลให้สามารถกินอาหารเม็ดสำเร็จรูปได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้อาหารสด จึงสะดวกสำหรับผู้เลี้ยงมากยิ่งขึ้น ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งกระบี่ 141 ม.6 ต.ไสไทย อ.เมือง จ.กระบี่ เบอร์โทรศัพท์ 075-662059-60
#TheStructureNews
#ปลาการ์ตูนสายพันธุ์ใหม่ #โกลด์ครอสทันเดอร์
“ถ้าไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ผมบอกได้เลยว่า เพื่อไทยไม่มีทางจับมือกับก้าวไกลในการจัดตั้งรัฐบาล แต่เราคิดผิด เพราะยิ่งเราจับมือกัน ยิ่งจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ เราเกิดก่อน เรามีประสบการณ์ แล้วเราจะเอาหัวไปชนฝา ทำให้ประเทศชาติและพี่น้องประชาชนเสียหายไป เราไม่ทำ สิ่งที่ดีที่สุด คือจับเอาดุลอำนาจที่มีอยู่ในประเทศนี้ มาประนีประนอมอำนาจ ให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติสูงสุด” – ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคเพื่อไทย , 22 ส.ค. 66
เกรต้า ธุนเบิร์ค นักกิจกรรมภูมิอากาศชาวสวีเดน กล่าวในการออกมาเดินขบวนต่อต้านการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของอิสราเอล
ประชิดหลังบ้านสหรัฐฯ‘จีน-คิวบา’ กำลังหารือเกี่ยวกับเรื่องการสร้างศูนย์ฝึกซ้อมทางทหารร่วมกัน
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม