Newsไม่ขอแค่ลา 180 วัน ชี้ระหว่างการลาคลอด ไม่มีคนช่วยเลี้ยง-ถูกนอกใจ-ไม่ได้รับค่าจ้างตามสิทธิ ต้องการค่าคลอดบุตรเพิ่มจาก 15,000 เป็น 30,000

ไม่ขอแค่ลา 180 วัน ชี้ระหว่างการลาคลอด ไม่มีคนช่วยเลี้ยง-ถูกนอกใจ-ไม่ได้รับค่าจ้างตามสิทธิ ต้องการค่าคลอดบุตรเพิ่มจาก 15,000 เป็น 30,000

เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2567 น.ส. ธัญมน สว่างวงศ์ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่าได้มีการสำรวจความเห็นคนงานโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดโดยรอบ 1,437 คน ต่อการขยายวันลาและสิทธิการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรแรกเกิด 

 

พบว่า 69.4% ยังไม่มีแผนมีลูกใน 5 ปี ข้างหน้า โดยให้เหตุผลว่าเพราะกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย กลัวเงินไม่พอค่าคลอดและค่าเลี้ยงลูก และกลัวขาดคนช่วยเลี้ยง และเมื่อถามถึงการใช้สิทธิลาคลอดตามกฎหมายพบว่า แรงงาน 78.2% ใช้สิทธิลาคลอด 90-98 วัน 14.5% ลาเพียง 30-59 วัน 

 

ทั้งนี้เหตุผลที่ลาคลอดไม่ครบวันตามที่กฎหมายกำหนด แล้วต้องรีบกลับมาทำงานเพราะต้องการมีรายได้/ต้องการโอทีเพิ่ม ตามด้วยกลัวถูกลดโบนัส ทั้งนี้เมื่อดูในส่วนสวัสดิการของรัฐพบว่า แรงงานหญิง 59.4% ไม่ได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด 600 บาท แต่กว่า 96.6% ได้รับเงินจากเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคม 800 บาท

 

อีกทั้งยังมีปัญหาด้านสุขภาพหญิงหลังคลอด ปัญหาด้านสถานที่ทำงานหรือสภาพการทำงานไม่เอื้ออำนวยต่อการดูแลทารก และพบปัญหากับคู่ชีวิตในระหว่างการตั้งครรภ์และหลังการคลอด เช่นความไม่รับผิดชอบของแฟน การนอกใจ 

 

และเมื่อถามถึงสวัสดิการภาครัฐพบสูงถึง 99.3% ที่เห็นว่า ควรเพิ่มสวัสดิการค่าคลอดบุตรจาก 15,000 บาทเป็น 30,000 บาท ที่สำคัญแรงงานกว่า 96.5% เห็นด้วยกับการขยายสิทธิวันลาคลอดเพิ่มจากเดิม 98 วัน เป็น 180 วัน และอีกกว่า 93.7 % เห็นด้วยกับการให้สิทธิพ่อลาได้ 30 วันเพื่อช่วยเลี้ยงดูลูก

 

ด้าน น.ส. ติมาพร เจริญสุข เลขาธิการกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง กล่าวว่า ปัจจุบันเราสามารถลาคลอดได้ 98 วัน แต่ในความเป็นจริงไม่มีใครจ่ายค่าจ้าง แถมยังถูกตัดสิทธิหลายอย่าง อีกทั้งยังไม่ได้รับสิทธิในการไปเข้าพบแพทย์ในระหว่างการทำงาน 

 

จึงอยากจะเรียกร้องให้มีการให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยมีการจ่ายเงินเดือน หรือค่าตอบแทนเต็มจำนวนทั้ง 90 วัน โดยเฉพาะในส่วนของประกันสังคมที่จ่ายเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น

 

น.ส. ติมาพร และ รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นด้วยกับมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานที่เสนอโดยพรรคก้าวไกล ของสภาผู้แทนราษฎร ที่เสนอให้แรงงานได้รับสิทธิลาคลอด 180 วัน 


แต่ รศ.ดร.ษัษฐรัมย์เรียกร้องการลาที่มีประสิทธิภาพ ทำให้แม่สามารถวางแผนการทำงาน การใช้ชีวิตได้ รวมถึงการให้สิทธิคู่สมรสในการลาด้วย โดยกล่าวว่าในกลุ่มประเทศรัฐสวัสดิการนั้นได้สิทธิลาคลอดได้ถึง 480 วัน ทั้งผู้ชายและผู้หญิง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า