Newsยกฟ้อง ศาลพิพากษาคดี ‘ณัฐพล’ ฟ้องหมิ่นประมาท ‘ศ.ไชยันต์’ ชี้เป็นสิทธิในการใช้เสรีภาพทางวิชาการ

ยกฟ้อง ศาลพิพากษาคดี ‘ณัฐพล’ ฟ้องหมิ่นประมาท ‘ศ.ไชยันต์’ ชี้เป็นสิทธิในการใช้เสรีภาพทางวิชาการ

เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2567 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก อ่านคำพิพากษาคดี อ.1939/2565 ที่นายณัฐพล ใจจริง อาจารย์ประจำสังกัดคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผู้เขียนหนังสือ “ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ” และ “ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี” ของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน เป็นโจทก์

 

ยื่นฟ้องหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 พร้อมเรียกค่าเสียหายจำนวนเงิน 1 ล้านบาทจาก ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นจำเลย 

 

โดยกล่าวหาว่า ศ.ดร. ไชยันต์ ใช้สื่อเฟสบุ๊กของตนเอง ด้วยข้อความที่กล่าวหาว่าหนังสือ “ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ” และ “ขุนศึก ศักดินาและพญาอินทรี”ของสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ซึ่งเขียนโดยนายณัฐพล และหนังสือทั้ง 2 อ้างอิงมาจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของนายณัฐพลด้วยเช่นกันนั้น

 

ใช้ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์เอกราช ที่ไม่มีอยู่จริงมาอ้างอิงเป็นส่วนหนึ่งในวิทยานิพนธ์ และพยายามบิดเบือนประวัติศาสตร์เพื่อสร้างกระแสความรู้สึกให้ผู้อ่านเกลียดชังสถาบันเบื้องสูง

 

ศาลเห็นว่าโจทก์ได้ใช้เสรีภาพทางวิชาการ ดังนั้น จำเลยในฐานะประชาชนทั่วไปย่อมมีเสรีภาพในการเห็นต่างจากเนื้อหาหรือข้อความในผลงานของโจทก์เช่นเดียวกัน อีกทั้งหลังจากที่มีการตรวจพบจุดบกพร่องในวิทยานิพนธ์ของโจทก์

 

จำเลยได้แจ้งไปยังบัณฑิตวิทยาลัยจนมีคำสั่งระงับเผยแพร่วิทยานิพนธ์ฉบับดังกล่าวแล้วตั้งแต่ปี 2562 แต่โจทก์กลับนำเนื้อหาที่มีจุดบกพร่อง ดังกล่าวไปพัฒนาเขียนเป็นหนังสือและมีการตีพิมพ์เผยแพร่สู่สาธารณชน 

 

จำเลยในฐานะประชาชนทั่วไปย่อมมีสิทธิตรวจสอบว่าเนื้อหาในบทความ หรืองานเขียนดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ โดยไม่เกี่ยวว่าจำเลยจะได้รับผลกระทบจากการกระทำของโจทก์หรือไม่ก็ตาม อีกทั้งจำเลยซึ่งเป็นนักวิชาการซึ่งมีประสบการณ์และความรู้ความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา อีกทั้งยังมีพยานว่าจำเลยได้มีการตรวจสอบทางวิชาการแล้ว

 

จำเลยย่อมมีสิทธิทางวิชาการ หรือโต้แย้งและนำเสนอต่อสาธารณชนได้ไม่ว่ารูปแบบใดก็ตามเพื่อให้สาธารณชนรับทราบข้อความอีกด้าน เพื่อความเป็นธรรมต่อบุคคลที่โจทก์กล่าวถึงในผลงาน โดยเฉพาะผู้ที่ล่วงลับไปแล้วและไม่มีโอกาส โต้แย้งหรือให้ข้อเท็จจริงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น

 

อีกทั้งยังเป็นการทำหน้าที่ของประชาชนในการพิทักษ์รักษาระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามฟ้อง ข้อต่อสู้ของจำเลยฟังขึ้น ข้อเท็จจริงอื่นนอกจากนี้ไม่จำต้องวินิจฉัย พิพากษายกฟ้อง




เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า