Newsตัดสินคดีย้อนแย่ง นักวิชาการเปรียบเทียบคำพิพากษาของ 2 ศาล ต่อคดี ‘ยิ่งลักษณ์’ ย้าย ‘ถวิล’

ตัดสินคดีย้อนแย่ง นักวิชาการเปรียบเทียบคำพิพากษาของ 2 ศาล ต่อคดี ‘ยิ่งลักษณ์’ ย้าย ‘ถวิล’

เมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 66 เพจ “ศูนย์วิจัยฯ มหาวิทยาลัยหน้าบางแห่งหนึ่ง” โพสต์บทความของ รศ. สมชาย ปรีชาศิลปะกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิจารณ์ความแตกต่างระหว่างคำตัดสินของศาลฎีกา และศาลรัฐธรรมนูญในคดีที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนสี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) 

 

โดย รศ. สมชายยกคำตัดสินที่มาจากประเด็นเดียวกัน แต่มีความหมายที่แตกต่างกันในคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งอ่านคำพิพากษาในวันที่ 7 พ.ค. 57 กับคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งเพิ่งมีการอ่านคำพิพากษาไปเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 66 ที่ผ่านมา โดยมีข้อความว่า

 

หนึ่งเหตุการณ์ สองความหมาย มหัศจรรย์แห่งอำนาจตุลาการไทย

 

แม้จะเป็นที่เข้าใจว่าคำตัดสินต่อการกระทำของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในกรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี จากศาลฎีกา ใน พ.ศ. 2566 และศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2557 (ซึ่งมีผลแตกต่างกันอย่างมาก) เป็นการพิจารณาในความผิดคนละฐาน จึงสามารถมีคำตัดสินที่แตกต่างกันได้ แต่หากดูจากประเด็นสำคัญในคดี จะพบว่ามีการให้ความหมาย/ตีความที่แตกต่างกันต่อข้อเท็จจริงเดียวกัน อย่างน่าอัศจรรย์ใจว่าเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งสามารถถูกให้ความหมายได้แตกต่างกันได้อย่างที่เกิดขึ้นกระนั้นหรือ

 

ประเด็นสำคัญในเบื้องต้นที่นำเสนอในสื่อมวลชน มีดังนี้

 

หนึ่ง ระยะเวลาในการโยกย้าย 4 วัน

.

ศาลฎีการับฟังพยานว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจำ อันหมายความว่าเป็นเรื่องที่ไม่ได้ผิดปกติแต่อย่างใด

 

ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าการให้ความเห็นชอบโอนนายถวิล ซึ่งกระทำแค่ 4 วัน เป็นการกระทำโอนรวบรัด กระทำเอกสารอันเป็นเท็จมีพิรุธ ส่อแสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นปกติ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 

สอง การเข้ามาชี้นำของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ต่อการโยกย้าย

 

ศาลฎีกาเห็นว่าไม่มีพยานหลักฐานใดยืนยันว่าการแต่งตั้งโยกย้ายนายกรัฐมนตรี เข้ามาชี้นำ หรือสั่งการในการแต่งตั้งโยกย้ายดังกล่าว 

 

ศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่า “ผู้ถูกร้องได้ร่วมประชุม ครม. และลงมติอนุมัติให้นายถวิล พ้นจากตำแหน่ง และได้ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ให้นายถวิลไปปฏิบัติตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เมื่อข้อเท็จจริงระบุว่าผู้ถูกร้องเข้าไปเกี่ยวข้องหลายอย่าง ย่อมเป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงข้าราชการประจำอยู่แล้ว หาจำเป็นผู้เริ่มโดยตรงหรือไม่”

 

สาม การโยกย้ายเพื่อเปิดทางให้ พล.ต.อ. เพรียวพันธ์ มาดำรงตำแหน่งแทน

 

ศาลฎีกาเห็นว่าไม่มีพยานหลักฐานใดที่แสดงถึงความเชื่อมโยงในการโยกย้ายนายถวิล เพื่อให้ พล.ต.อ. วิเชียร ขึ้นมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สมช. แต่อย่างใด เพราะกระบวนการในการโยกย้ายนายถวิล ระยะเวลาห่างจากการแต่งตั้ง พล.ต.อ. วิเชียร ถึง 22 วัน และไม่ปรากฏพยานว่าการโอนย้ายนั้น เป็นการเตรียมการโดยแบ่งแยกหน้าที่กันทำ เพื่อให้มีการแต่งตั้ง พล.ต.อ. เพรียวพันธ์ เข้ามาดำรงตำแหน่ง ผบ. ตร. แต่อย่างใด ศาลจึงเห็นว่าจำเลยไม่ได้มีเจตนาพิเศษในการแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี

 

แต่ศาลรัฐธรรมนูญอธิบายว่าปัจจัยอันเป็นที่มาการโอนนายถวิล คือความประสงค์ให้ตำแหน่งเลขาธิการ สมช. ว่างลง เพื่อโอนย้ายตำแหน่ง ผบ.ตร. ที่ พล.ต.อ. วิเชียรนั่งอยู่มาเป็นเลขาธิการ สมช. อันทำให้ตำแหน่ง ผบ.ตร. ว่างลง และสามารถแต่งตั้งเครือข่ายของผู้ถูกร้องมาแทนได้ และอายุราชการเหลืออีก 2 ปี ซึ่งมากกว่า พล.ต.อ. เพรียวพันธ์ ซึ่งเหลืออายุราชการ 1 ปี ก็จะต้องมีการโอนให้ พล.ต.อ. วิเชียรไปดำรงตำแหน่งอื่นแทน



นี่จึงเป็นหนึ่งเหตุการณ์ สองความหมาย มหัศจรรย์แห่งอำนาจตุลาการไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า