Newsโลกร้อนทำ GDP หาย 20% บทความวิจัยวารสารชั้นนำระบุ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะทำให้ GDP ทั่วโลกลดลงเกือบ 20% ในปี 2050

โลกร้อนทำ GDP หาย 20% บทความวิจัยวารสารชั้นนำระบุ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะทำให้ GDP ทั่วโลกลดลงเกือบ 20% ในปี 2050

บทความวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร ‘Nature’ วารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลก ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ที่เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ จะส่งให้ผลผลิตเศรษฐกิจโลกในปี 2050 ลดลงประมาณ 38 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 1,400 ล้านล้านบาท) หรือเกือบ 20% ไม่ว่ามนุษยชาติจะลดมลภาวะคาร์บอนอย่างจริงจังเพียงใดก็ตาม

 

 อย่างไรก็ดี การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เร็วที่สุดยังคงเป็นสิ่งสำคัญในการหลีกเลี่ยงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรงกว่า

 

รายงานยังระบุด้วยว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจเพิ่มขึ้นหลายสิบล้านล้านดอลลาร์ต่อปีภายในปี 2100 หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส

 

ทั้งนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกในปัจจุบันสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรม 1.2 องศาเซลเซียส ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง น้ำท่วม และพายุโซนร้อน สร้างความเสียหายมากขึ้นจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น

 

นักวิจัยพบว่าการลงทุนรายปีที่จำเป็นเพื่อรักษาอุณหภูมิให้สูงขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ปี 2015 คิดเป็นจำนวนเงินเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับความเสียหายที่สามารถหลีกเลี่ยงได้

 

รายงานระบุว่า ประเทศเขตร้อนส่วนใหญ่ ซึ่งหลายประเทศกำลังเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยเนื่องจากความเสียหายจากสภาพอากาศ จะได้รับผลกระทบหนักที่สุด

 

“ประเทศที่มีส่วนต่อการรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้อยสุด คาดว่าจะสูญเสียรายได้มากกว่าประเทศที่มีรายได้สูงถึงกว่า 60% และมากกว่าประเทศที่ปล่อยมลพิษสูงถึง 40% นอกจากนี้ พวกเขายังเป็นคนที่มีทรัพยากรน้อยที่สุดในการปรับตัวให้เข้ากับผลกระทบ” แอนเดอร์ส เลเวอร์มันน์ นักวิทยาศาสตร์อาวุโสของ PIK กล่าว

 

ขณะที่ ประเทศร่ำรวยอย่าง สหรัฐฯ เยอรมนี และฝรั่งเศส ก็คาดว่าจะมีรายได้ลดลง 11%, 11% และ 13% ตามลำดับ

 

การคาดการณ์ดังกล่าวอิงตามข้อมูลเศรษฐกิจและสภาพภูมิอากาศในช่วงสี่ทศวรรษ จาก 1,600 ภูมิภาค ทำให้สามารถรวมความเสียหายที่การศึกษาก่อนหน้านี้มองข้ามไป เช่น ฝนตกรุนแรง (extreme rainfall) นักวิจัยยังพิจารณาความผันผวนของอุณหภูมิในแต่ละปีไม่ใช่แค่ค่าเฉลี่ย รวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากปีที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย

 

ส่วนความเสียหายที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล พายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงมากขึ้น การละลายของพืดน้ำแข็ง และการลดลงของป่าเขตร้อน ไม่ได้นำมาพิจารณา

 

(1 ดอลลาร์ = 36.88 บาท)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า