
อันดับ 2 ของโลก เศรษฐกิจดิจิทัลจีนพุ่งทะยาน เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
ข้อมูลจากกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อวันที่ 29 ก.ค. ระบุว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของจีนในปี 2021 มีมูลค่า 7.1 ล้านล้านดอลลาร์ (38 ล้านล้านบาท) โดยคิดเป็นสัดส่วน 18% ของมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลทั้งหมดในกลุ่มประเทศขนาดใหญ่ 47 ประเทศ และใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากอเมริกา
เศรษฐกิจดิจิทัล เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน โดยนับตั้งแต่ปี 2012 ถึงปี 2021 อัตราการเติบโตเฉลี่ยของเศรษฐกิจดิจิทัลจีนอยู่ที่ 15.9% และสัดส่วนมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศต่อ GDP เพิ่มขึ้นจาก 20.9% เป็น 39.8%
ผลการวิจัยระบุว่า เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ติดสามอันดับแรกของประเทศที่มีสัดส่วนของเศรษฐกิจดิจิทัลต่อ GDP สูงที่สุด เกิน 65% ส่วนการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลนั้น นอร์เวย์เติบโตเร็วที่สุด ที่อัตรา 34.4%
ในอนาคต เทคโนโลยีดิจิทัล จะยังคงเป็นจุดศูนย์รวมของนวัตกรรมดิจิทัลระดับโลก ซึ่ง Yu Xiaohui หัวหน้าสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศจีน กล่าวว่า
“การเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกจำเป็นต้องมีสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของอุตสาหกรรมการผลิต การเกษตร และการบริการ ตลอดจนการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก”
“โดยที่ เทคโนโลยี 5G เป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล” Wu Hequan วิศวกรจาก Chinese Academy of Engineering กล่าว
ทั้งนี้ จีนได้เร่งการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล โดยจีนได้สร้างสถานีฐานรับส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร 5G ที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดในโลก จำนวน 1.7 ล้านแห่ง ซึ่งครอบคลุมทั้งประเทศด้วยเครือข่ายใยแก้วนำแสง แล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ จีนยังได้เร่งการประยุกต์ Big Data, Cloud Computing และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ากับภาคส่วนต่างๆ เช่น พลังงาน การดูแลทางการแพทย์ การขนส่ง การศึกษา และเกษตรกรรม เพื่อขับเคลื่อนประเทศด้วยระบบดิจิทัลอย่างเต็มตัว
ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว ประกาศยกระดับองค์กรเพื่อเป็น “เจ้าแห่งสตรีทฟู้ด” กับ 4,000 สาขาใน 30 ปี ก่อนเตรียมเข้าตลาดหุ้น
ลดค่าไฟเหลือ 3.99 บาท/ยูนิต ช่วยคนไทยประหยัดค่าไฟได้เท่าไร
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม