Newsยังหาซีเซียม 137 ไม่เจอ ! ปราจีนฯ ตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 สูญหาย ตั้งทีม+รวบรวมรายชื่อผู้เชี่ยวชาญด้านกัมมันตรังสีเพื่อเตรียมรับมือสถานการณ์

ยังหาซีเซียม 137 ไม่เจอ ! ปราจีนฯ ตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 สูญหาย ตั้งทีม+รวบรวมรายชื่อผู้เชี่ยวชาญด้านกัมมันตรังสีเพื่อเตรียมรับมือสถานการณ์

ปราจีนฯ ตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 สูญหาย รับมือเหตุอันตราย

จากกรณีที่มีข่าวท่อวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ได้หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด จ.ปราจีนบุรี ซึ่งวัสดุดังกล่าวใช้เป็นเครื่องมือวัดระดับขี้เถ้าในไซโลของโรงไฟฟ้า ซึ่งหากนำไปกำจัดไม่ถูกวิธีจะเป็นอันตรายอย่างมากต่อผู้ที่ได้สัมผัสนั้น

 

วานนี้ (14 มี.ค.) นายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมด้วยนายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) และนายกิตติพันธ์ จิตต์เป็นธรรม ผู้แทนบริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด ได้ร่วมกันแถลงข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อคลายข้อสงสัยของประชาชน 


โดย นายกิตติพันธ์ จิตต์เป็นธรรม ผู้แทนบริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ แพลนท์ 5 เอ จำกัด เผยว่า วัสดุกัมมันตรังสีได้สูญหายไปจากบริษัทประมาณวันที่ 23 ก.พ. ที่ผ่านมา และจากการสอบถามพนักงานขับรถที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ทราบว่าได้ยินเสียงดังคล้ายกับมีโลหะตกลงพื้น แต่ไม่คิดว่าเป็นวัตถุอันตราย

 

ทั้งนี้ วัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 ติดตั้งอยู่บนถังไซโลเก็บขี้เถ้าที่มีความสูงจากพื้นดินประมาณ 16-17 เมตร ซึ่งวัสดุกัมมันตรังสีมีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอกมีตะกั่วปกป้องอยู่ชั้นใน และห่อหุ้มด้วยเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว ความยาว 8 นิ้ว น้ำหนัก 25 กิโลกรัม และยังมีป้ายติดรายละเอียดแสดงข้อมูลของวัสดุกัมมันตรังสี รวมทั้งมีสัญลักษณ์ทางรังสีขนาดเล็กติดอยู่ ซึ่งวัสดุกัมมันตรังสีดังกล่าวผ่านการใช้งานมาแล้วประมาณ 28 ปี

หลังเกิดเหตุบริษัทได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินภายในโรงงานตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค.ที่ผ่านมา และจัดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานจำนวน 50 คน โดยมีสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติให้การสนับสนุนปฏิบัติการค้นหาวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 ที่สูญหาย แต่ไม่พบวัสดุกัมมันตภาพรังสีที่สูญหายอยู่ภายในโรงงาน จึงสามารถสรุปได้ว่าอาจมีการนำวัสดุกัมมันตภาพรังสีออกนอกโรงงานไปแล้ว

 

ทั้งนี้ ชุดปฏิบัติการตรวจสอบวัสดุกัมมันตรังสีสูญหาย โดยเจ้าหน้าที่จาก อ.ศรีมหาโพธิ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และบริษัท ได้ออกค้นหาและตรวจสอบโดยใช้เครื่องมือวัดทางรังสีใน อ.ศรีมหาโพธิ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง เช่น ร้านขายของเก่า ร้านรับซื้อเศษโลหะมือสอง เป็นต้น ซึ่งหากวัสดุกัมมันตรังสียังอยู่ในสภาพเดิมจะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม”

แต่หากมีการถอดประกอบ หรือชำแหละเครื่องกำบังที่ห่อหุ้มออกจนทำให้วัสดุกัมมันตรังสีมีลักษณะเปลือยเปล่า จะมีรัศมีการแผ่รังสีออกจากวัสดุประมาณ 1-2 เมตร และหากมีการสัมผัสวัสดุกัมมันตรังสีโดยตรงจะทำให้ผู้สัมผัสเกิดผื่นแดง หรือเป็นแผลไหม้บริเวณที่สัมผัสวัสดุกัมมันตรังสีได้

จากการประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน ยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่าวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 ที่สูญหายได้หลุดออกจากเครื่องกำบัง ดังนั้นจึงยังไม่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อม

 

อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ได้มอบหมายให้หน่วยงานราชการ และบริษัทเตรียมความพร้อมรับมือกรณีวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 สูญหายโดยเบื้องต้น โดยได้สั่งการให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปราจีนบุรี ดำเนินการยกระดับภัย 1 เป็นระดับ 2 ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปราจีนบุรี พ.ศ.2564-2570 

โดยให้มีการจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์แก้ไขปัญหาวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 จ.ปราจีนบุรี เพื่อเป็นศูนย์ประสานการปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาวัสดุกัมมันตรังสี และให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปราจีนบุรี จัดเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของพนักงานในโรงงานที่อาจได้รับอันตรายจากวัสดุกัมมันตรังสี

 

รวมทั้งดูแลการจ้างงานในกรณีมีการหยุดการทำงาน ตลอดจนสิทธิสวัสดิการของพนักงานในระหว่างที่หยุดการทำงานในระหว่างตรวจหาและแก้ไขปัญหาวัสดุกัมมันตรังสีสูญหาย ตลอดจนให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรี ประสานโรงพยาบาลเตรียมความพร้อมในการบำบัดรักษาผู้ป่วย ที่อาจได้รับผลกระทบจากวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม 137 สูญหาย 

ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้กองสาธารณสุขฉุกเฉิน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ โดยรวบรวมรายชื่อผู้เชี่ยวชาญด้านกัมมันตรังสี อาทิ นายแพทย์เชี่ยวชาญ สถาบันอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์, ผู้เชี่ยวชาญด้านการคำนวณปริมาณรังสีจากแหล่งกำเนิดรังสีภายในร่างกาย การป้องกันอันตรายจากรังสี และรังสีกับสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุอันตราย จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น 

 

รวมทั้งเตรียมการประสานโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี และโรงพยาบาลรามาธิบดี กรณีรับส่งต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากรังสี นอกจากนี้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรีให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง เฝ้าระวังผลกระทบด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิด พร้อมเตรียมสถานพยาบาลในพื้นที่เพื่อรองรับผู้ป่วยที่อาจได้รับผลกระทบด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า