Newsครม. เคาะ “ของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566” ช้อปดีมีคืน ปี 66 ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฯลฯ

ครม. เคาะ “ของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566” ช้อปดีมีคืน ปี 66 ลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฯลฯ

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ครม.เห็นชอบมาตรการการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ 

 

1.มาตรการ “ช้อปดีมีคืน ปี 66” เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2566 ถึงวันที่ 15 ก.พ.2566 โดยกำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล สามารถหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 40,000 บาท โดยแบ่งเป็น ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ จำนวน 30,000 บาทแรก ออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ และค่าซื้อสินค้าหรือบริการ อีกจำนวน 10,000 บาท ออกใบกำกับภาษีรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์

 

สำหรับสินค้าที่เข้าร่วมมาตรการ เช่น ค่าซื้อสินค้า และค่าบริการทุกประเภทที่ซื้อจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงค่าสินค้า OTOP แต่ไม่รวมถึงสินค้าและบริการ 10 ประการ ดังนี้ ค่าซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ ค่าซื้อยาสูบ ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ ค่าซื้อหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ค่าบริการหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์ ค่าที่พักในโรงแรมที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต ค่าบริการสำหรับบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการระยะยาว ซึ่งเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 ม.ค. 66 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 15 ก.พ. 66 และค่าเบี้ยประกันวินาศภัย 

 

2.มาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2566 โดยลดภาษีให้ในอัตราร้อยละ 15 ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้สำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของปีภาษี พ.ศ.2566


3.มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยปี 2566 โดยลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 1 และลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม ร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ และห้องชุด (ทั้งบ้านมือ 1และมือ 2) เฉพาะที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท ต่อสัญญา

 

4.มาตรการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิต สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่นที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานภายในประเทศ โดยลดอัตราภาษีตามปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับเครื่องบินไอพ่นที่ใช้บินในประเทศ จากลิตรละ 4.726 บาท เหลือลิตรละ 0.20 บาท มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 30 มิถุนายน 2566 เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและบริการให้มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และบรรเทาผลกระทบการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและสายการบินภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด19

 

5.มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ ตาม พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 ให้สิทธิยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ ประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 สำหรับผู้ประกอบการที่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อเนื่อง ณ สถานประกอบการเดิม ประเภทใบอนุญาตเดิม ที่ยื่นคำขอระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2566 เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ให้สามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องภายหลังสถานการณ์โควิด19

 

ส่วนมาตรการและโครงการของขวัญปีใหม่ พ.ศ.2566 ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อาทิ 

1.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เช่น โครงการชำระดีมีคืน ลดดอกเบี้ยแก้หนี้ภาคครัวเรือน มาตรการส่งเสริมสภาพคล่องและฟื้นฟู  2.ธนาคารออมสิน เช่น โครงการวินัยดี มีเงิน 3.บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เช่น ยกเว้นค่าดำเนินการค้ำประกันสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ SMEs 4.ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศ (ธพว.) เช่น ผ่อนดีมีคืน (บัตรกำนันสูงสุด 300 บาท) มาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

 

นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า ยังมีมาตรการและโครงการของขวัญปีใหม่ พ.ศ.2566 จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง 5 โครงการ ได้แก่ 

 

1.มาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงินเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ.2566 จากกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) 

 

2.มาตรการของขวัญปีใหม่ปี 2566 ให้กับลูกค้ารายย่อยที่ไม่มีหลักประกัน/ผู้ค้ำประกัน จากบริษัทบริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด (บสอ.) 

 

3.โครงการเที่ยวปีใหม่สุขใจไปกับพิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ.2566 ให้แก่ประชาชน จากกรมธนารักษ์

 

4.โครงการสนับสนุนตลาดทุนและเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน ลดภาระแก่ผู้ประกอบธุรกิจเพื่อความสุขที่มั่นคงของทุกภาคส่วน จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทัพย์ (ก.ล.ต.)

 

5.โครงการส่งเสริมให้ประชาชนและผู้ลงทุนมีศักยภาพในการสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดีและมีภูมิคุ้มกัน ไม่ถูกหลอกลวง จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทัพย์ (ก.ล.ต.)

 

6.โครงการกรมธรรม์ประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) สำหรับเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2566 จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และ7.โครงการ “ชม ชิม ช็อป ยาสูบเชียงราย” จากการยาสูบแห่งประเทศไทย

 

ด้าน น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 20 ธันวาคม 2565 มีมติเห็นชอบการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2566 ให้แก่ประชาชน ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอเพื่อให้ประชาชนมีบ้านอยู่อาศัยที่อบอุ่นและมีรายได้จากการสร้างอาชีพ โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

1. ซ่อมบ้าน สร้างสุข จำนวน 50,000 หลัง ให้บ้านของเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ และครอบครัวผู้มีรายได้น้อยมีความมั่นคงปลอดภัย มีมาตรฐาน มีสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคที่เหมาะสม ตามหลักการการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ทุกกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างชุมชน หน่วยงานท้องถิ่น และภาคประชาสังคม โดยบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนในการดำเนินการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย

2. บ้านสำหรับผู้มีรายได้น้อย 15,000 หน่วย โดยแบ่งออกเป็นโครงการบ้านเช่า 1,500 บาทต่อเดือน (50 บาทต่อวัน) จำนวน 5,000 หน่วยของการเคหะแห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดี สังคมที่ดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน และโครงการบ้านเช่าซื้อ จำนวน 10,000 หน่วย ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง เข้าถึงแหล่งเงินเพื่อที่อยู่อาศัยได้อย่างเสมอภาค

3. สร้างอาชีพ สร้างรายได้ จำนวน 15,300 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 โครงการ คือ

3.1.สร้างผู้ดูแลเด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบางติดเตียง (Care Giver) จำนวน 10,000 คน โดยการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะในการดูแลคนพิการ ผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบางติดเตียง ให้แก่กลุ่มเป้าหมายใน 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรพื้นฐาน (18 ชั่วโมง) หลักสูตรระยะกลาง (70 ชั่วโมง) และหลักสูตรระยะยาว (420 ชั่วโมง) ที่ผ่านการรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งในกลุ่ม 10,000 คนนี้นอกจากจะมีอาชีพและรายได้แล้วยังสามารถสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับกลุ่มเปราะบางที่ดูแลด้วย

3.2.สร้างอาชีพธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและบริการ สำหรับแม่เลี้ยงเดี่ยว กลุ่มเปราะบาง และผู้ว่างงาน จำนวน 5,000 คน โดยการส่งเสริมและพัฒนาทักษะอาชีพใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยเฉพาะในธุรกิจการท่องเที่ยว สถาบันเสริมความงาม ร้านเสริมสวย ร้านตัดผม และร้านสปา พร้อมทั้งส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้โดยส่งเสริมทักษะที่ครบวงจรในการประกอบอาชีพเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

3.3.สร้างนักขายมือทอง จำนวน 300 คน โดยพัฒนาทักษะด้านการขายไปสู่การเป็นนักขายมืออาชีพให้แก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ว่างงานที่สนใจได้เข้าร่วมแนะนำโครงการคหะแห่งชาติทั่วประเทศ โดยได้รับค่าตอบแทนเหมาะสม เพื่อส่งเสริมให้ประชานมีรายได้

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า