Newsกทม. ปลดล็อค 12 สวนสาธารณะ เปิดโซน ‘ใช้เสียง’ เล่นดนตรีได้ ไม่ต้องขออนุญาต ครอบคลุม 6 โซน ทั่วกรุงเทพมหานคร

กทม. ปลดล็อค 12 สวนสาธารณะ เปิดโซน ‘ใช้เสียง’ เล่นดนตรีได้ ไม่ต้องขออนุญาต ครอบคลุม 6 โซน ทั่วกรุงเทพมหานคร

ปลดล็อค 12 สวน เปิดโซน ‘ใช้เสียง’ เล่นดนตรีได้ ไม่ต้องขออนุญาต

 

วานนี้ (10 ม.ค.) นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้แถลงข่าวนโยบายด้านการสนับสนุนพื้นที่สำหรับดนตรีและการแสดงในกรุงเทพมหานคร ที่สวนสันติชัยปราการ เขตพระนคร โดยกล่าวว่า กทม.มีนโยบายว่าด้วยเรื่องเมืองแห่งการสร้างสรรค์และวัฒนธรรม เพื่อสร้างความสุขให้กับคนกรุงเทพฯ สนับสนุนการออกมาใช้ชีวิตบนพื้นที่สาธารณะ สร้างการเคลื่อนไหวทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม 

 

กทม. จึงได้ผลักดันนโยบายหลายข้อเพื่อสร้างเสียงดนตรีให้เกิดขึ้นทั่วทุกมุมเมือง ซึ่งเทศกาลดนตรีในสวน เป็น 1 ในนโยบาย 214 ข้อด้านสร้างสรรค์ดี คือ กรุงเทพฯ พื้นที่แห่งดนตรีและศิลปะการแสดง จึงดำเนินการจัดกิจกรรมการแสดงดนตรีในสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร จำนวน 12 สวน ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ครอบคลุม 6 โซน ทั่วกรุงเทพมหานคร ตลอดปี 2566

 

โดยตั้งแต่วันที่ 11 มกราคมเป็นต้นไป กทม.ได้ปลดล็อกสวนสาธารณะ จำนวน 12 สวน เพื่อเปิดพื้นที่สวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร ให้ประชาชนสามารถเข้าไปเล่นดนตรีได้โดยไม่ต้องขออนุญาต โดยมีเงื่อนไข คือ การเล่นดนตรีนั้นจะต้องไม่มีการหารายได้หรือผลประโยชน์แอบแฝง ไม่ใช้เครื่องขยายเสียง หากเป็นการเล่นดนตรีที่ใช้เสียงดังเกิน 85 เดซิเบล จะต้องเล่นดนตรีในพื้นที่ที่สวนสาธารณะจัดเตรียมไว้ ซึ่งถ้ามีผลตอบรับดีทาง กทม. จะแก้ไขกฎระเบียบเพื่อให้ทุกสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร ใช้งานได้

 

นายศานนท์ กล่าวว่า เดือนมกราคมนี้ ซึ่งเป็นเดือนแห่งเทศกาลดนตรีในสวน ตามนโยบายเทศกาล 12 เดือน กทม. จึงกำหนดจัดกิจกรรมการแสดงดนตรีในสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร จำนวน 8 สวน คือ สวนวชิรเบญจทัศ สวนสันติชัยปราการ สวนรมณีนาถ สวนเบญจสิริ สวนเสรีไทย สวน 60 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ (เคหะร่มเกล้า) สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (บางกอกน้อย) และสวนเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา (สะพานพระราม 9) รวมทั้งสิ้น 16 ครั้ง โดยจะเป็นการแสดงดนตรีจากวงดนตรีของเยาวชนและประชาชน ที่สมัครผ่านช่องทางของกทม. และผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และศิลปินจากค่ายเพลงต่าง ๆ เข้าร่วมมากมาย

 

นอกจากนี้ ยังมีเทศกาลดนตรีในสวน ณ สวนหลวงพระราม 8 ซึ่งกทม.จัดร่วมกับ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา และมูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข โดยจัดทุกวันอาทิตย์ จำนวน 6 ครั้ง ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม – 12 กุมภาพันธ์ 2566 และ กิจกรรมการแสดงดนตรีของกทม. ซึ่งบรรเลงโดยวงดนตรีกรุงเทพมหานคร โดยกิจกรรมเริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม 2565 ถึง 29 มกราคม 2566 ณ มิวเซียมสยาม และศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) 

 

ส่วนศิลปะการแสดงเปิดหมวก Bangkok Street Performer จัดโดยกรุงเทพมหานคร ร่วมกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่ให้แก่นักดนตรีและนักแสดง ได้ทำการแสดงดนตรีบนสถานีรถไฟฟ้าและทางเดิน Sky Walk จำนวน 7 จุดทุกวัน ตลอดเดือนมกราคม 2566

 

กิจกรรมเหล่านี้เปิดให้ประชาชนเข้าชมได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม เพื่อให้ทุกคนได้สัมผัสกับบรรยากาศของสวนและสุนทรียศาสตร์ของดนตรีอย่างเต็มอิ่ม ซึ่งสามารถแชร์ประสบการณ์ดีๆ จากงานนี้่ ผ่านแฮชแท็ก(#) #Colorfulbangkok2022 #ดนตรีในสวน #BKKstreetperformer #เทศกาลดนตรีในสวน และ #TikTokเพลย์ลิส รวมถึงสามารถติดตามตารางการแสดงได้ที่ FB Page ‘กรุงเทพมหานคร’ ได้ทุกสัปดาห์ รวมถึงติดตามกิจกรรมน่าสนใจมากกว่า 120 อีเวนต์ตลอดเดือนพฤศจิกายน 2565 – เดือนมกราคม 2566 ได้ที่เว็บไซต์ https://www.bangkokartcity.org/

 

#TheStructureNews

#ดนตรีในสวน #กรุงเทพมหานคร

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า