News‘แบงก์ชาติ’ ติงฝ่ายการเมือง ชี้ตอนนี้ไทยไม่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น แต่ต้องการโครงสร้างพื้นฐานสำหรับระยะยาว

‘แบงก์ชาติ’ ติงฝ่ายการเมือง ชี้ตอนนี้ไทยไม่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น แต่ต้องการโครงสร้างพื้นฐานสำหรับระยะยาว

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในแถลงการณ์ วันที่ 24 เมษายน 2566  ระบุว่า ธปท. ไม่ขอแสดงความเห็นกับนโยบายที่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งนำมาหาเสียง ซึ่งในหลักการแล้วหากเป็นนโยบายที่ออกมาแล้วบั่นทอนต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจ ก็เป็นปัจจัยที่ ธปท. ต้องจับตา 

 

ซึ่งเมื่อพิจารณาจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาในหลายๆ ประเทศ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ 4 เรื่อง ประกอบด้วย 

 

  1. เสถียรภาพด้านราคา นโยบายที่ออกมาจะต้องไม่กระตุ้นให้เงินเฟ้อขยายตัวสูงขึ้นมาก (ไฮเปอร์ อินเฟรชั่น) เช่น ในหลายประเทศที่จะต้องมีการพิมพ์เงินออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาเสถียรภาพ ทำให้นโยบายการเงินต้องไปตอบสนองนโยบายการคลังเกินความจำเป็น จนขาดเสถียรภาพในการกำหนดนโยบาย

 

  1. เสถียรภาพด้านต่างประเทศ เช่น การทำนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่จะไปกระทบกับความเชื่อมั่นของนักลงทุน 

 

  1. เสถียรภาพด้านฐานะการคลัง ที่จะต้องคำนึงบนพื้นฐานหลายอย่าง ไม่ให้ภาระการคลังสูงเกินไปจนกระทบกับเสถียรภาพและหนี้สาธารณะต่อจีดีพี รวมถึงภาระหนี้ต่องบประมาณจะต้องควบคุมไม่ให้สูงเกินไป โดยในส่วนของไทยปัจจุบันภาระหนี้ต่องบประมาณยังอยู่ในสัดส่วน 8.5% และคาดว่าสิ้นปีจะอยู่ที่ 8.75% แต่หากมีการทำนโยบายใช้จ่ายที่กระตุ้นภาระหนี้ให้สูงมากกว่า 10% ประเทศก็อาจจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ 

 

  1. เสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน ก็ต้องทำนโยบายที่ไม่กระตุ้นให้ผิดวินัยการชำระหนี้ ซึ่งมีโอกาสที่จะทำให้เกิดหนี้เสียเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการบั่นทอนเสถียรภาพ

 

“นโยบายเศรษฐกิจของพรรคการเมืองต่างๆ จะกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อให้ปรับสูงขึ้นหรือไม่ ก็ต้องไปดูที่รูปแบบ วิธีการในแต่ละนโยบาย แต่ในมุมของ ธปท. เศรษฐกิจไทยขณะนี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้น แต่ควรที่จะให้น้ำหนักในเรื่องของการดูแลเสถียรภาพ ซึ่งที่ผ่านมาก็เห็นแล้วว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นการได้ผลในระยะสั้น ส่งผลข้างเคียงให้เกิดภาระหนี้ตามมา จึงจำเป็นต้องสร้างศักยภาพในการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว โดยเฉพาะการเร่งผลักดันเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน” นายเศรษฐพุฒิ กล่าว

 

นายเศรษฐพุฒิ กล่าวต่อว่า มาตรการพักหนี้ไม่ควรใช้อย่างยาวนาน เนื่องจากภาระของลูกหนี้ไม่ได้ลดลง เนื่องจากดอกเบี้ยยังเก็บตามปกติ แต่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ยังมีความจำเป็นต้องดำเนินมาตรการดังกล่าว เพราะทุกอย่างหยุดชะงักทั้งหมด จึงต้องทำมาตรการแบบวงกว้าง 

 

แต่เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ก็เห็นว่าการทำนโยบาย ‘พักหนี้แบบทอดแห’ ไม่ดีแน่ ต้องปรับเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ แบบเฉพาะเจาะจง โดยเน้นปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับรายได้ของลูกหนี้ ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการเสียวินัยในการชำระหนี้ และต้องไม่ทำอะไรที่กระทบกับความสามารถในการขอสินเชื่อในอนาคตของลูกหนี้ด้วย

 

ทั้งนี้ในระยะต่อไป ธปท. จะมีการออกมาตรการเพิ่มเติม ซึ่งจะเป็นภาพใหญ่  โดยจะเน้นเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ อัตราดอกเบี้ยที่สะท้อนความเสี่ยงของลูกหนี้อย่างแท้จริง รวมถึงมีการให้ความรู้ทางการเงินที่ถูกต้องและชัดเจนควบคู่กันไปด้วย



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า