
“ชะลอม” โลโก้ APEC 2022 ฝีมือนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ สะท้อนความเป็นไทยเข้ากับอัตลักษณ์ของเอเปคได้อย่างกลมกลืน
เปิดที่มาโลโก้ “ชะลอม” งาน “APEC 2022” ฝีมือออกแบบของนักศึกษาไทย
การประชุมเอเปก 2022 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดงานในครั้งนี้ มี “ชะลอม” เป็นโลโก้ ซึ่งช่วยสะท้อนหัวข้อหลักและความร่วมมือที่ไทยผลักดัน สร้างความตระหนักรู้และความรู้สึกมีส่วนร่วมในสังคมตระหนักรู้ และความรู้สึกมีส่วนร่วมในสังคมได้เป็นอย่างดี และยังเป็นโอกาสให้เยาวชนไทยได้แสดงความสามารถและศักยภาพของตนเองอีกด้วย
ชวนนท์ วงศ์ตระกูลจง นิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ วัย 21 ปี เจ้าของไอเดียและผู้ออกแบบสัญลักษณ์โลโก้ “ชะลอม” นี้ เปิดเผยถึงที่มาของการออกแบบโลโก้ในครั้งนี้ที่สามารถเอาชนะผู้เข้าร่วมประกวดกว่า 600 คน ว่าความท้าทายในการออกแบบอยู่ที่เราจะผสมผสานอัตลักษณ์ของเอเปคให้เข้ากับสัญลักษณ์ของไทยได้อย่างไร
“เรานึกถึงต้มยำกุ้งเมื่อพูดถึงอาหารไทย หรือรถตุ๊กตุ๊กเมื่อพูดถึงการขนส่ง แล้วสัญลักษณ์ของเศรษฐกิจในไทยที่อยู่คู่กับคนไทยมานานคืออะไร ชะลอมเป็นเครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้งานกันมาแต่โบราณ มันจักสานขึ้นจากไม้ไผ่และเป็นงานฝีมือที่ยั่งยืน ซึ่งสะท้อนความสมดุลของวิสัยทัศน์การประชุมฯ ในปีนี้” ชวนนท์กล่าว
ชวนนท์ใช้เวลาราว 3 เดือน ปรับแต่งลักษณะของชะลอมจนกลายเป็นโลโก้รูปแบบสุดท้าย โดยไผ่ที่จักสานเข้าด้วยกันก่อตัวเป็นช่องว่าง 21 ช่อง สื่อถึงสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจของเอเปค ส่วนปลายชะลอมที่ชี้ขึ้นฟ้าสื่อถึงการเติบโตของเอเปค ส่วนสีต่างๆ อาทิ สีน้ำเงินอันเป็นสัญลักษณ์การอำนวยความสะดวก สีชมพูแห่งการเชื่อมโยง และสีเขียวที่ยั่งยืน ยังสะท้อนหัวข้อการประชุมฯ ปีนี้ ได้แก่ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” (Open. Connect. Balance.)
ด้าน “อุไร เสงี่ยมศรี” ช่างจักสาน วัย 65 ปี จากชุมชนพนัสนิคม แหล่งอนุรักษ์เทคนิคจักสานไม้ไผ่แบบโบราณ กล่าวว่า ตั้งแต่โลโก้เอเปคเปิดตัว คนหนุ่มสาวก็หันมาสนใจชะลอมมากขึ้น บางคนได้มาเรียนรู้วิธีทำชะลอมด้วย
หลังจากหายไปจากชีวิตประจำวันคนไทยนานหลายสิบปี ปัจจุบันดูเหมือนชะลอมและงานจักสานไม้ไผ่อื่นๆ กำลังได้รับความนิยม และอาจมีโอกาสกลับมาเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตผู้คนอีกครั้ง
#TheStructureNews
#APEC2022 #โลโก้ #ชะลอม
ปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ 1789 ประวัติศาสตร์ที่นำมาซึ่งการสังหารหมู่ประชาชน 2 แสนชีวิต อย่างโหดเหี้ยม ไร้ความยุติธรรม และไร้มนุษยธรรม ภายใต้อำนาจเผด็จการของผู้ปกครอง บทความโดย: ศิราวุธ ภุมมะกสิกร คอลัมนิสต์ The Structure
แจง 4 ข้อหา พูลวิลลาหรู บนเกาะเต่า เจ้าของรับ ไม่รู้กฎหมาย ยินดีรื้อถอน และฟื้นฟู
“ซูนัก” เตรียมขึ้นเป็นนายกอังกฤษคนใหม่ หลัง “จอห์นสัน” ตัดสินใจถอนตัวจากการแข่งขัน เพราะตระหนักดีว่าประเทศและพรรคคอนเซอร์เวทีฟ ต้องการความเป็นหนึ่งเดียวกัน
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม