Newsพบแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์โบราณ หลุมฝังศพ และสุสานหอยโข่งนับล้านตัวที่สตูล หวังเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ทางประวัติศาสตร์

พบแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์โบราณ หลุมฝังศพ และสุสานหอยโข่งนับล้านตัวที่สตูล หวังเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ทางประวัติศาสตร์

พบแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์โบราณ หลุมฝังศพ และสุสานหอยโข่งนับล้านตัว ที่ริมเพิงผาเขาพระยาบังสา อ.ควนโดน จ.สตูล หวังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์

 

นายกำพลศักดิ์ สัสดี นักสำรวจถ้ำจังหวัดสตูล เปิดเผยว่า ได้มีการค้นพบ “สุสานหอยโข่งโบราณ” ที่ใหญ่ที่สุด บริเวณเพิงผาเขาพระยาบังสา (ริมสวนยางพาราในหมู่บ้าน) พื้นที่หมู่ 3 ต.ย่านซื่อ อ.ควนโดน จ.สตูล จากจำนวนทั้งหมดกว่า 20 แห่ง


โดยสุสานหอยโข่งโบราณที่ค้นพบนี้ มีนับล้านตัวอยู่ในชั้นดินตลอดแนวที่ทับถมกันบริเวณเพิงผา เป็นที่ราบเล็กๆ สูงจากระดับพื้นดินข้างล่างราว 12 เมตร ห่างจากคลองสายหลัก 500 เมตร และห่างจากทะเลราว 20 กิโลเมตร ซึ่งบางส่วนนั้นได้กลายเป็นฟอสซิลติดอยู่ในก้อนหินริมหน้าผา เพราะโดนน้ำหินปูนไหลเคลือบ มีหลายตัวหลุดกลิ้งออกมาอยู่ตามหน้าดิน ปะปนร่วมกับกระดูกสัตว์หลายชนิด รวมไปถึงเปลือกหอยจากทะเล ซึ่งอยู่ในพิกัดเพิงผาริมภูเขาใต้หน้าผาที่สูงชัน

ตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา นายกำพลศักดิ์ได้สำรวจถ้ำมาไม่ต่ำกว่า 300 แห่งใน จ.สตูล ได้พบถ้ำที่สวยงามมากมาย โดยได้บันทึกภาพและโพสต์ลงสื่อโซเชียล จนมีการต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น ถ้ำภูผาเพชรในยุคแรกๆ ปราสาทหินพันยอด และถ้ำโตนดิน เป็นต้น ความพิเศษของพิกัดที่ค้นพบครั้งนี้เชื่อว่าเป็นแหล่งอาศัยของมนุษย์ยุคประวัติศาสตร์ เคยมีการตรวจสอบอายุแล้วอย่างเป็นทางการ พบว่ามีอายุประมาณ 3,500 ถึง 19,000 ปีก่อน และอาจจะเก่าแก่กว่านั้น คาดว่าเป็นชนเผ่าหนึ่งที่เคยอาศัยกระจายตัวไปทั่วในดินแดนนี้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นบรรพบุรุษของผู้คนในพื้นที่ ณ ยุคปัจจุบัน

โดยค้นพบพบขวานหิน 2 เล่ม เครื่องประดับจากเขาสัตว์ ซากอาหารโบราณ อย่างเช่น หอยโข่ง สัตว์น้ำจืด ชุดฟันกรามขนาดใหญ่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ปลายเขาสัตว์ ประเภทเก้ง หรือกวาง เชื่อว่ามีการใช้พื้นที่แห่งนี้สำหรับอาศัยและดำรงชีพ และยังพบสุสานคนยุคโบราณ มีการฝังศพตามเพิงถ้ำ โดยพบจำนวน 10 ร่าง มีการฝังศพด้วยการหันหัวไปทางทิศตะวันออก ใช้หินเรียงปิดหน้าหลุม เชื่อว่าเป็นชนเผ่าโบราณที่อาศัยตามชายฝั่งอันดามันยาวไปจนถึงมาเลเซีย

นายกำพลศักดิ์ เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา เข้ามาสืบค้นตามหลักวิชาการ ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นฐานความรู้ให้ประชาชนที่สนใจได้ และอาจเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า