Articles7 วิบากกรรมของเจ้าของกิจการ อยากรวยก็ต้องแบกรับความไม่ง่าย

7 วิบากกรรมของเจ้าของกิจการ อยากรวยก็ต้องแบกรับความไม่ง่าย

“คือทำงานด้วยกันเงินเดือนก็ต้องแฟร์ ๆ กันปะวะ”

หลังเกิดดราม่าคิวเทโอปป้า หนึ่งในทีมงานของคิวเทโพสต์ขึ้นมาขึ้นต้นว่า “คือทำงานด้วยกันเงินเดือนก็ต้องแฟร์ ๆ กันปะวะ” ก่อนที่จะถูกทัวร์ลง และลบไปในเวลาต่อมา

แต่คำถามนี้เป็นคำถามที่น่าสนใจ “ทำไมนายจ้าง ถึงควรได้ผลตอบแทนมากกกว่าลูกจ้าง ?” หล่ะ

และนี่คือสิ่งที่นายจ้าง ไม่เคยปริปากบอกลูกจ้างเลย

1. เป็นเจ้าของกิจการหน่ะง่าย แต่อยู่ให้ได้หน่ะยาก

ความจริงแล้ว การเป็นเจ้าของบริษัทสมัยนี้นั้น ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงเตรียมเอกสารและตรายางให้พร้อม ใช้เวลาดำเนินการติดต่อ “กรมพัฒนาธุรกิจการค้า” ใช้เวลาดำเนินการไม่ถึง 1 สัปดาห์ พร้อมค่าธรรมเนียมเริ่มต้น 5,500 บาท ก็สามารถเป็นเจ้าของกิจการได้แล้ว

แต่จากข้อมูลสถิติของกรมพัฒนาธุรกิจเอง ปี 2564 ที่ถึงแม้จะเผชิญกับสถานการณ์โควิด แต่จำนวนบริษัทเปิดใหม่นั้นอยู่ที่ 72,985 ราย มากกว่าปี 2563 ถึง 9,618 รายเลยทีเดียว
แต่ทว่า ในปี 2564 มีปิดกิจการไปมากถึง 19,326 ราย ซึ่งเป็นจำนวนที่ไม่น้อยเลยเช่นกัน [2]

2. รายได้ของนายจ้างมีความเสี่ยง

การเปิดกิจการทุกชนิดนั้นคือการลงทุน และ “ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง” ดังนั้น แท้จริงแล้ว รายได้ของนายจ้าง “ไม่เคยมีความแน่นอน” เดือนนี้อาจจะโชคดีขายได้ แต่อีก 3 เดือนข้างหน้า อาจจะไม่มีรายได้เลยสักบาทเดียว

แต่ไม่ว่าบริษัทจะขาดทุนหนักเพียงใด ลูกจ้างจะได้รับค่าจ้างประจำทุกเดือนตามระบุในสัญญาการจ้างงาน และเงินเดือนของลูกจ้าง ถูกคุ้มครองโดยกฎหมายแรงงานที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้ ไม่ว่าจะกรณีใด ๆ ก็ตาม (ยกเว้นกรณีทุจริต)

ในขณะที่นายจ้าง “ไม่มีหลักประกันใด ๆ คุ้มครอง” เลยแม้แต่นิดเดียว

บางเดือน ในขณะที่ลูกจ้างรับเงินเดือนไปฉลองกันทั่วหน้า นายจ้างอาจจะแอบกินข้าวคลุกน้ำปลา เพราะไม่มีเงินกินข้าวอยู่ก็เป็นได้

3. ความเป็นเจ้าของกิจการ ไม่มีวันหยุดและเวลาพักผ่อน

ลูกจ้างได้รับสิทธิที่จะได้รับวันหยุด และเวลาพักตามที่กฎหมายกำหนด และหากลูกจ้างต้องทำงานเกิดกำหนด ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา (OT, Over Time) ซึ่งพิกัดสูงสุดที่กฎหมายกำหนดให้คือ 3 เท่าของค่าจ้างเมื่อคิดเป็นรายชั่วโมง

ในขณะที่ นายจ้างนั้น ไม่ต่างอะไรกับ 7-11 ที่ไม่ว่าจะเมื่อไร เวลาใด ก็ยังคงต้องรับผิดชอบต่องานของบริษัท โดยไม่อาจบ่ายเบี่ยง

ต่อให้นายจ้างทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ก็ไม่มีกฎหมายข้อใดคุ้มครองการทำงานของนายจ้างเลย

4. นายจ้าง ไม่มีสิทธิในประกันสังคม

โดยพื้นฐานแล้ว ประชาชนทุกคนได้รับสิทธิบัตรทองในการรักษาตัวเมื่อเจ็บป่วยอยู่แล้ว แต่ลูกจ้าง เมื่อเข้าสู่ระบบกฎหมายแรงงาน จะได้รับสิทธิจาก “กองทุนประกันสังคม” ในการดูแลรักษาเมื่อเจ็บป่วย

หากพูดให้เข้าใจง่าย “ประกันสังคม” คือ ประกันชีวิต และประกันอุบัติเหตุของภาครัฐนั่นเอง ซึ่งสิทธิในระบบ “ประกันสังคม” ของลูกจ้างนี้ ดีมากกว่าสิทธิบัตรทองเสียอีก

ในขณะที่นายจ้าง หากต้องการหลักประกันการเจ็บป่วย ต้องจ่ายเงินซื้อประกันจากบริษัทเอกชนกันเอาเอง หรือใช้สิทธิบัตรทอง

5. เจ้าของบริษัท คือผู้รับผิดชอบสูงสุด

ในองค์กร ทำไมหัวหน้าถึงได้เงินเดือนสูงกว่าลูกน้อง ? คำตอบคือ เพราะหัวหน้ามีความรับผิดชอบสูงกว่าลูกน้องนั่นเอง

เมื่อมีปัญหา หัวหน้าอาจจะสะสางปัญหากับลูกน้องภายหลัง แต่โดยฉากหน้า หัวหน้าคือผู้แบกทุกความรับผิดชอบเอาไว้

แต่ เจ้าของบริษัท ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ลงมาทำงานด้วยตัวเอง แต่สุดท้าย ก็ยังต้องรับผิดชอบต่อการบริหารองค์กรที่ผิดพลาด ผ่านการลดลงของผลประกอบการ หรือการถูกสั่งระงับกิจการโดยรัฐอยู่ดี

และในวันที่บริษัทปิดกิจการ ลูกจ้างทั้งหลายจะยังได้รับเงินชดเชยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ในขณะที่สิ่งที่รอนายจ้างอยู่คือ หมายศาล การยึดทรัพย์ และคำสั่งฟ้องล้มละลาย

6. เจ้าของบริษัท คือจิตวิญญาณขององค์กร

กิจการทุกกิจการ ณ จุดเริ่มต้น ผู้ก่อตั้ง คือทุกสิ่งทุกอย่างของกิจการ เป็นผู้กำหนดทิศทาง และความสามารถในการอยู่รอด เติบโตขององค์กร

ตัวอย่างกิจการที่ยืนยาวที่สุดในโลกคือ “คงโก กุมิ” ในประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งในปี พ.ศ. 1121 โดยช่างไม้ชาวแพคแจ (เกาหลี) ที่ถูกเชิญมาเพื่อสร้างวัดพุทธแห่งแรกของญี่ปุ่น (วัดชิเท็นโนะ, โอซาก้า) ด้วยความสามารถและความมุ่งมั่นที่จะสร้างวัดที่สง่างาม พวกเขาสามารถสืบทอดจิตวิญญาณกันมาได้รุ่นต่อรุ่น ยืนหยัดยาวนามาได้ถึง 1,429 ปี [3]

หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง ของราชินีเกี๊ยวฮ่องกง ซางเจี้ยนเห๋อ ซึ่งเกิดจนมาจากครอบครัวขอทาน แต่ขยันมานะบากบั่นสู้ชีวิต จนวันหนึ่งเธอเลือกไปขายเกี๊ยวที่ท่าเรือวันจ๋าย ถึงแม้จะเป็นแผงลอยผิดกฎหมาย และยากจน แต่เกี๊ยวของเธอนั้นเป็นของอร่อยเลิศ จนเจ้าของห้างไดมารูจากญี่ปุ่นต้องดั้นด้นมาขอพบกับเธอ และขอร่วมทุน

ถึงแม้เธอจะไม่มีทุนเลยแม้แต่น้อย แต่ซางเจี๋ยนเห๋อ ยังคนยืนกรานในการรักษาจิตวิญญาณและคุณภาพในเกี๊ยวของเธอ สุดท้าย เจ้าของห้างยอมแพ้ เธอจึงได้รับโรงงงานผลิตเกี๊ยวแช่แข็งในชื่อยี่ห้อที่เธอตั้ง และควบคุมกิจการบริหารเองทุกอย่าง โดยไม่ต้องลงทุนเองเลยแม้แต่เซ็นต์เดียว

กิจการของเธอสามารถขยับขยายจากร้านเกี๊ยวข้างทาง ไปสู่ตลาดระดับโลกได้อย่างงดงาม และในวันสุดท้ายของชีวิตของเธอ เธอน่าจะมีทรัพย์สินที่ระดับห้าพันล้านเหรียญเลยทีเดียว [4]

7. กิจการที่ยั่งยืนนาน คือกิจการที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม

ระบบเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้จากการหมุนเวียนสินค้า และการค้าขายเกิดขึ้นได้เพราะการแลกเปลี่ยนทรัพยากร ซึ่งการแลกเปลี่ยนนั้น เกิดขึ้นได้เพราะความต้องการของแต่ละฝ่ายนั่นเอง

เมื่อใดก็ตาม ที่เกิดการเอารัดเอาเปรียบในกระบวนการ ก็จะเกิดความพยายามการต่อต้านแข็งขืนโดยปริยาย

กิจการที่จะอยู่รอดยั่งยืน คือกิจการที่สร้างมา และพัฒนาตนเองตลอดเวลา เพื่อการตอบโจทย์แก้ปัญหาให้สังคม [5]

แต่ตัวนายทุนเพียงไม่กี่คน ยังไม่สามารถทำได้ขนาดนั้น แต่องค์กรที่ทำได้นั้น มีความสามารถถ่ายทอดแนวคิดการทำงาน จิตวิญญาณความมุ่งมั่นของเจ้าของกิจการ ลงสู่พนักงานส่วนใหญ่ ในรูปของวัฒนธรรมองค์กรได้

ดังนั้น ทุนนิยมที่ยั่งยืนยาว จะมีจิตวิญญาณสังคมนิยมซ่อนแฝงอยู่ในตัว

สรุปปิดท้าย

ชีวิตของนายทุน เจ้าของกิจการนั้น ไม่ใช่ของง่าย แต่ชีวิตเต็มไปด้วยความเสี่ยงที่ไม่มีหลักประกัน มีขวากหนามอุปสรรคอีกมากมายรออยู่ให้พบเผชิญ

การถูกลูกน้องหักหลังของคิวเท คือหนึ่งในอุปสรรคที่อดีตผู้บริหารหลายคนเคยผ่านมา

อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้ว ความต้องการของมนุษย์ทุกคนคือการมีความสุขในชีวิต ไม่ใช่เงินตรา ชื่อเสียง เงินทอง

ความเสมอภาคของทุกคน ไม่ว่าจะเจ้าของ หรือลูกจ้าง คือการมีความสุขตามอัตภาพจากเวลาแต่ละนาทีของแต่ละคน

คนทุกคน มีสิทธิที่จะมีความสุขได้ เสมอกัน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า