Newsกระทรวงคมนาคม สรุปผลงานปี 65 เตรียมเดินหน้าโครงสร้างพื้นฐานต่อปีหน้า พร้อมปรับวิธีการปฏิบัติงานใหม่ ให้มีประสิทธิภาพ ชัดเจน โปร่งใส

กระทรวงคมนาคม สรุปผลงานปี 65 เตรียมเดินหน้าโครงสร้างพื้นฐานต่อปีหน้า พร้อมปรับวิธีการปฏิบัติงานใหม่ ให้มีประสิทธิภาพ ชัดเจน โปร่งใส

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ สรุปผลงานปี 2565 และขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติในปี 2566 และปี 2567 ว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ รวมถึงการให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึงทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาคอาเซียน จึงได้มอบนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ เร่งรัดการดำเนินงานตามภารกิจสำคัญ 

 

โดยจาก 79 นโยบายในปี 2565 ที่มีทั้งหมด 167 โครงการ เป็นโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จหรือเปิดให้บริการแล้ว รวม 61 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 64 โครงการ อยู่ในช่วงจัดทำแผนงานหรือออกแบบ จำนวน 42 โครงการ ส่วนโครงการหรือกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการต่อเนื่องให้แล้วเสร็จ รวมถึงโครงการใหม่ที่จะทำในปี 2566 จำนวน 171 โครงการ เป็นโครงการใหม่ปี 2566 จำนวน 58 โครงการ สำหรับแหล่งเงินในการพัฒนา 171 โครงการ วงเงินลงทุนทั้งในและนอกงบประมาณภาคคมนาคมทั้งโครงการตั้งแต่ปี 2558-2570 จำนวน 2,718,959 ล้านบาท

 

นอกจากนี้ ตั้งแต่ต้นปี2566 กระทรวงคมนาคมจะปรับวิธีการปฏิบัติงานใหม่ โดยปลัดกระทรวงคมนาคมจะทำหนังสือถึงหน่วยงานต่างๆ เพื่อแจ้งแนวปฏิบัติ โดยเมื่อมีการรับเรื่องมาแล้วจะต้องดำเนินการเสนอให้ผู้บังคับบัญชาภายใน 5 วัน และเมื่อเสนอเรื่องมายังกระทรวงคมนาคม หากมีข้อขัดข้องใดกระทรวงคมนาคมจะรีบแจ้งกลับไปยังหน่วยงาน โดยจะระบุชัดเจนว่าต้องแก้ไขในเรื่องใดบ้าง และต้องส่งกลับมาให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาภายใน 14 วัน เพื่อให้การดำเนินงานในทุกโครงการมีประสิทธิภาพ ชัดเจน โปร่งใส ซึ่งที่ผ่านมาหลายเรื่องมักถูกตั้งคำถามว่าเรื่องอยู่ในขั้นตอนใดแล้ว ทั้งนี้ หากหน่วยงานใดปฏิบัติไม่สามารถปฏิบัติได้ตามกรอบเวลาที่วางไว้ จะมีการประเมินตามหลักวิธีการบริหารงานบุคคลตามลำดับขั้นต่อไป 

 

สำหรับ 9 โครงการที่กระทรวงคมนาคม จะเสนอ ครม. พิจารณาในเดือน ม.ค.-ก.พ. 2566 นั้น มีวงเงินโครงการรวมประมาณ 5 แสนล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงการรถไฟไฮสปีด เฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย วงเงิน 3 แสนล้านบาท, 2. โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 4,694 ล้านบาท 3. โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วงเงิน 6,468 ล้านบาท, 4.โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 10,670 ล้านบาท, 5.โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง (Missing Link) วงเงิน 47,000 ล้านบาท 

 

6.โครงการรถไฟทางคู่ ระยะ (เฟส) ที่ 2 ช่วงขอนแก่น-หนองคาย วงเงิน 29,748 ล้านบาท, 7.โครงการรถไฟทางคู่ เฟสที่ 2 ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย วงเงิน วงเงิน 62,859 ล้านบาท, 8. โครงการรถไฟทางคู่ เฟสที่ 2 ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี วงเงิน วงเงิน 37,527 ล้านบาท และ 9.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 6 หรือ M6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กม. เสนอขออนุมัติกรอบค่างานก่อสร้างทั้ง 16 ตอน ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 6,700 ล้านบาท

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า