Articlesเหตุผลที่โลกต้องบอกลาพลังงานถ่านหิน

เหตุผลที่โลกต้องบอกลาพลังงานถ่านหิน

ถ่านหิน ถูกนำมาใช้เป็นแหล่งผลิตพลังงานมาตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึง 19 โดยในยุคแรกนั้น ถ่านหินถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับเครื่องยนต์และเครื่องจักรที่ใช้ไอน้ำขับเคลื่อน โดยโรงงานถ่านหินที่แรกนั้นก่อตั้งขึ้นที่ลอนดอน เมืองหลวงของประเทศอังกฤษในช่วงปี 1880 กว่า ๆ ซึ่งอังกฤษนั้นถือเป็นผู้นำของเทคโนโลยีเครื่องจักรและเครื่องยนต์ไอน้ำจากพลังงานถ่านหินในสมัยแรก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรในโรงงาน ไปจนถึงหัวรถจักรและเรือกำปั่นไอน้ำ จนมาถึงยุคคริสต์ศตวรรษที่ 20 พลังงานถ่านนั้นกลายมาเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าเป็นหลักในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรปที่มีการพัฒนาโรงงานไฟฟ้าจากถ่านหินให้มีขนาดใหญ่และมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีความพยายามจะรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การกำจัดกำมะถันจากถ่านหิน (desulfurization) และการจับฝุ่นด้วยไฟฟ้าสถิต (electrostatic precipitators) 

.

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้ารูปแบบอื่น ๆ พัฒนาขึ้นมา และสามารถผลิตพลังงานได้อย่างยิ่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า ในยุคปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข ทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน ก็ได้ออกมารณรงค์ให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก หันออกจากถ่านหินและเปลี่ยนแหล่งพลังงานอื่น ๆ ที่สะอาดกว่าและมีผลกระทบน้อยกว่า มาใช้แทนที่ถ่านหิน

.

อย่างในประเทศไทย ก็มีการหันออกจากการใช้ถ่านหิน โดยแหล่งพลังงานสำหรับผลิตไฟฟ้าของไทยนั้นเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นสัดส่วนหลักมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว

.

หรือในการเปลี่ยนแปลงล่าสุดโดยภาครัฐวิสาหกิจที่ได้แสดงให้เห็นถึงความไม่เพิกเฉยต่อปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างบริษัท PTT International Holdings Limited (PTTIH) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ ปตท. ก็ได้ดำเนินการขายหุ้นในบริษัท PTT Mining Limited (PTTML) ซึ่ง PTTIH ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 ให้กับบริษัท PT Astrindo Nusantara Infrastruktur Tbk หรือบริษัทในเครือของ Astrindo เพื่อเป็นการยุติการลงทุนในธุรกิจถ่านหินทั้งหมดของ ปตท. และจุดเริ่มต้นการถอยฉากออกจากธุรกิจที่ไม่เป็นมิตรต่อผู้คนและสิ่งแวดล้อม 

.

ประเทศไทยจึงเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการหันออกจากพลังงานถ่านหินเพื่อไปสู่พลังงานทดแทนและแหล่งพลังงานอื่นที่สะอาดกว่า เพื่อบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ตามเป้าหมายที่รัฐบาลได้ตั้งไว้

.

#TheStructureArticle

#พลังงานถ่านหิน #พลังงานทดแทน #PTT

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า