Articles‘ปลดล็อกท้องถิ่น’ นโยบายแก้เหลื่อมล้ำที่แก้เหลื่อมล้ำไม่ได้ และยังมีแนวโน้มนำไปสู่โครงสร้างความเหลื่อมล้ำที่ถ่างออกยิ่งขึ้นกว่าเดิมอย่างน่าวิตก

‘ปลดล็อกท้องถิ่น’ นโยบายแก้เหลื่อมล้ำที่แก้เหลื่อมล้ำไม่ได้ และยังมีแนวโน้มนำไปสู่โครงสร้างความเหลื่อมล้ำที่ถ่างออกยิ่งขึ้นกว่าเดิมอย่างน่าวิตก

คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจเสนอแคมเปญ “ปลดล็อกท้องถิ่น” ซึ่งเนื้อหาของแคมเปญ มุ่งเน้นไปที่การมุ่งสร้างความเท่าเทียม สร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่น ด้วยการปรับรูปแบบของการจัดสรรรายได้ภาครัฐใหม่ โดยคุณธนาธรระบุว่า

“ทุกวันนี้รายได้ที่รัฐส่วนกลางแบ่งให้ท้องถิ่นมีเพียง 30% ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้ไป 70% ทั้งที่ภาษีเกิดขึ้นที่ท้องถิ่น” [1]

อีกทั้งยังเสนอว่า

“แต่ถ้าเปลี่ยนเป็น 50-50 แบบที่คณะก้าวหน้าเสนอ ท้องถิ่นจะมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นถึงที่ละ 60 ล้านบาท” [1]

ก่อนจะถามว่า สิ่งที่คุณธนาธรและคณะก้าวหน้าเสนอนั้น เป็นไปได้หรือไม่ ? ต้องถามก่อนว่า ตัวเลขเหล่านี้นั้น มาจากไหน ?

—-

ทุกวันนี้ การสืบค้นตัวเลขงบประมาณภาครัฐนั้น ไม่ใช่เรื่องปกปิดอะไร และมีการนำเสนอในรูปแบบ Data visualization ที่เข้าใจได้ง่าย และสวยงาม

โดยสามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ “ภาษีไปไหน ? ระบบข้อมูลการใช้จ่ายภาครัฐ Thailand Government Spending” https://govspending.data.go.th ได้ตลอดเวลา

ซึ่งจาก Dashboard ภาษีมาจากไหน -> งบประมาณ -> ภาพรวม -> งบรายจ่าย -> งบประมาณ จะเห็นได้ชัดเลยว่า มีการกระจายงบประมาณในทุกภูมิภาคของประเทศไทย มิได้กระจุกอยู่ที่กรุงเทพและปริมณฑลเพียงจังหวัดเดียว [2]

นอกจากนี้ วงเงินงบประมาณของประเทศปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 นั้น ทั้งหมด 3.1 ล้าน ๆ บาท ซึ่งหากชี้ไปที่ “กรุงเทพมหานคร” จะพบว่า งบประมาณที่ลงที่กรุงเทพนั้น แบ่งออกเป็นงบของกรุงเทพมหานคร 1.7 ล้านล้านบาท ในขณะที่ส่วนกลางมีเพียง 587,409 ล้านบาทเท่านั้น [2]

จากตรงนี้จะเห็นได้เลยว่า งบประมาณส่วนกลาง มีอัตราส่วนเพียง 34.5% เมื่อเทียบกับงบประมาณของกรุงเทพมหานคร และ 18.9% ของงบประมาณทั้งประเทศเท่านั้น

ตัวเลข 70 – 30 ของคณะก้าวหน้ามาจากไหนกันนะ ?

—-

และนอกจากกรุงเทพมหานครแล้ว จังหวัดที่ได้รับงบประมาณมากกว่า 1 หมื่นล้านมีดังนี้ [3]

ภาคกลาง
– นครปฐม 29.4 ล้านบาท
– นนทบุรี 216.3 ล้านบาท
– อยุธยา 11.1 ล้านบาท
– ปทุมธานี 21.2 ล้านบาท

ภาคตะวันออก
– ชลบุรี 21.3 ล้านบาท
– ระยอง 12.2 ล้านบาท

ภาคอีสาน
– นครราชสีมา 264.4 ล้านบาท
– บุรีรัมย์ 11.8 ล้านบาท
– ขอนแก่น 17.0 ล้านบาท
– อุบลราชธานี 13.4 ล้านบาท

ภาคเหนือ
– เชียงใหม่ 23.6 ล้านบาท
– เชียงราย 13.9 ล้านบาท

ภาคใต้
– สุราษฎร์ธานี 1.2 ล้านบาท
– นครศรีธรรมราช 16.3 ล้านบาท
– สงขลา 21.3 ล้านบาท

ซึ่งนี่ เห็นได้ชัดเจนเลยว่า งบประมาณของประเทศ ได้ถูกกระจายออกไปในทุกภูมิภาค มิได้กระจุกอยู่ที่กรุงเทพ และปริมณฑล เลย

ดังนั้น ที่ว่างบประมาณส่วนใหญ่ถูกกระจุกไว้ที่กรุงเทพและส่วนกลางนั้นจึงไม่จริง

—-

หันมาพิจารณารายได้ของท้องถิ่นในแต่ละปีกันบ้าง

ซึ่งจาก Dashboard ภาษีมาจากไหน -> ท้องถิ่น ปีงบประมาณ 2562 จะเห็นได้เลยว่า โดยเฉลี่ย แต่ละจังหวัดนั้น มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเองเพียง 9.93% เท่านั้น และมีรายได้จากรัฐจัดสรร 48.99% และได้รับเงินอุดหนุน 41.08% [3]

ซึ่งความหมายของ “จัดเก็บเอง” หมายถึงภาษีท้องถิ่น อาทิเช่น ภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่จัดเก็บโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในขณะที่ “รัฐจัดสรร” หมายถึงส่วนแบ่งจากภาษีอากรต่าง ๆ ที่จัดเก็บโดยหน่วยงานของกระทรวงการคลัง เช่น กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต ซึ่งเป็นรายได้หลักของรัฐบาลนั่นเอง

ส่วน “เงินอุดหนุน” หมายถึง งบประมาณ ที่รัฐบาลแบ่งรายได้จากจังหวัดอื่นที่มีรายได้สูง ไปช่วยจังหวัดที่มีรายได้น้อยกว่านั่นเอง

นี่ หมายความว่า โดยเฉลี่ยแล้ว แต่ละจังหวัดได้รับเงินอุดหนุนเฉลี่ยมากถึง 40% และเงินส่วนใหญ่ เป็นเงินที่มาจากจังหวัด (รัฐจัดสรร บวก ภาษีท้องถิ่น) เองถึง 60%

ดังนั้น สูตร ส่วนกลาง 70 – ท้องถิ่น 30 นี้ จึงดูจะไม่มีมูลความจริงเลย

ที่ถูกอาจจะพูดได้ว่า โดยเฉลี่ยแล้ว ภาษี 60 ส่วนท้องถิ่นเก็บเอาไว้ 40 ส่วนส่งเข้าส่วนกลางไปช่วยจังหวัดอื่นต่างหาก

อัตราส่วนนี้ ฟังดูดีกับท้องถิ่นมากกว่าสูตรของคณะก้าวหน้าเสียอีกไม่ใช่เหรอ ?

—-

เมื่อหันไปพิจารณากรรมวิธีการจัดสรรงบประมาณแล้ว จะพบว่า ในความเป็นจริงแล้ว จะมีทั้งส่วนที่มาจากการวางแผนจากส่วนกลาง เช่น งบประมาณสร้างโครงข่ายการคมนาคม East – West Economic Corridor และ North – South Economic Corridor ซึ่งจะเป็นโครงการพัฒนาเครือข่ายการขนส่งของประเทศ อันจะเป็นการกระจายรายได้และความเจริญ จากกรุงเทพไปสู่จังหวัดชนบท

และโครงการที่ถูกนำเสนอจากท้องถิ่น โดยมีผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัด เป็นผู้รวบรวมโครงการจากส่วนราชการในท้องถิ่น และพิจารณากันเองในจังหวัด ก่อนที่จะถูกนำเสนอสู่ส่วนกลาง

ดังนั้น หากไล่พิจารณาอัตราส่วนรายได้ของจังหวัดแต่ละจังหวัด จะเห็นได้เลยว่า แต่ละจังหวัดมีอัตราส่วนภาษีที่เก็บได้เองในท้องถิ่น และเงินอุดหนุนที่แตกต่างกัน

ตัวอย่างเช่น จังหวัดสกลนคร ที่ปีงบประมาณ 2562 มีรายได้ทั้งหมด 8,731 ล้านบาท แต่ในนั้น เป็นเงินอุดหนุนจากส่วนกลางสูงถึง 53.49 % ในขณะที่ภาษีท้องถิ่นมีเพียง 3.76 % เท่านั้น

หรือ ปัตตานี ปีงบประมาณ 2562 มีรายได้ทั้งหมด 6,103 ล้านบาท แต่ในนั้น เป็นเงินอุดหนุนจากส่วนกลางสูงถึง 55.60 % ในขณะที่ภาษีท้องถิ่นมีเพียง 2.88 % เท่านั้น

หรือ เชียงราย ปีงบประมาณ 2562 มีรายได้ทั้งหมด 10,507 ล้านบาท แต่ในนั้น เป็นเงินอุดหนุนจากส่วนกลางสูงถึง 50.83 % ในขณะที่ภาษีท้องถิ่นมีเพียง 5.46 % เท่านั้น

ถ้าใช้สูตรปลดล็อกท้องถิ่นของคุณธนาธร และคณะก้าวหน้า จังหวัดเหล่านี้ จะสามารถลืมตาอ้าปาก พ้นสภาพความยากจนขึ้นมาได้อย่างไร ?

—-

ประเทศไทยของเรา เคยมุ่งพัฒนาแต่ส่วนกลางมาก่อนจริงมั้ย ?

คำตอบคือ จริงครับ

แต่นั่นด้วยสภาพความจำเป็นของการพัฒนาประเทศ จากประเทศด้อยพัฒนาในยุคสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ต้องพยายามทำให้กรุงเทพ ซึ่งเวลานั้นเป็นทั้งเมืองหลวง และเมืองท่า เติบโต แข็งแรงเพื่อหารายได้ป้อนประเทศ พัฒนาเศรษฐกิจให้ได้เสียก่อน

ปรากฏการณ์นี้ เป็นปรากฎการณ์ที่พบเห็นได้ทั่วไปในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งประเทศไทยของเราก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมได้สำเร็จในยุครัชกาลที่ 8 – ต้นรัชกาลที่ 9 นี่เอง

เพื่อให้ประเทศ ก้าวพ้นจาก “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง” ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องกระจายความเจริญจากกรุงเทพ ออกไปสู่ท้องถิ่นให้ได้

การพัฒนาท้องถิ่น การกระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่นนั้น เป็นสิ่งจำเป็น ที่รัฐบาลกำลังทำ ซึ่งนี่จะเห็นได้จากอัตราส่วนงบอุดหนุน ในจังหวัดที่รัฐบาลปักหมุดหมายจะอุ้มชูขึ้นมา

การ “ยึดอัตราส่วน” ที่ตายตัว แบบที่คณะก้าวหน้ากำลังเสนอนั้น ถึงแม้ว่าจะฟังแล้วดูดี

แต่ความจริงแล้ว มันคือการโยนภาระให้จังหวัดที่ยากจนไปตายดาบหน้ากันเอาเองต่างหากหล่ะ

หันมาดูตัวเลขจากการจัดอันดับกันบ้าง

จังหวัดที่มีรายได้สูงสุด 5 อันดับ แรกคือ [3]

1. กรุงเทพมหานคร 103.3 พันล้านบาท
2. นครราชสีมา 22.9 พันล้านบาท
3. ชลบุรี 18.7 พันล้านบาท
4. เชียงใหม่ 16.4 พันล้านบาท
5. สมุทรปราการ 16.2 พันล้านบาท

ซึ่งจังหวัดข้างต้น ต้องแบ่งภาษีของตนเพื่อไปช่วยจังหวัดที่มีรายได้ต่ำ ซึ่ง 5 อันดับแรกได้แก่
1. ระนอง 1.7 พันล้านบาท
2. สมุทรสงคราม 1.9 พันล้านบาท
3. แม่ฮ่องสอน 2.1 พันล้านบาท
4. สิงห์บุรี 2.1 พันล้านบาท
5. ตราด 2.4 พันล้านบาท

ทีนี้ลองคิดดูสิครับว่า ถ้าใช้สูตรที่คณะก้าวหน้าเสนอมา บริหารภาษีด้วยสูตรตายตัว

5 จังหวัดรายได้สูงคงจะเฮ มีเงินลงทุนพัฒนาจังหวัดสูงขึ้น อันจะทำให้รายได้ย้อนคืนกลับมาสูงขึ้น

แต่ 5 จังหวัดรายได้ต่ำจะทำอย่างไร ?

ช่องว่างของการพัฒนาของแต่ละจังหวัดในประเทศไทย จะแตกแยก และถ่างกว้างกันมากขึ้น ๆ

นี่เป็นการสร้างปัญหาความเหลื่อมล้ำให้หนักกว่าเดิมใช่หรือไม่ ?

—-

ขณะนี้ประเทศไทย ก้าวผ่านความเป็นประเทศด้อยพัฒนาในยุค 2475 และกำลังพยายามสลัดให้หลุดจากปัญหา “กับดักรายได้ปานกลาง” ด้วยการกระจายการพัฒนาไปสู่ภูมิภาค สู่ท้องถิ่นอยู่แล้ว

เรื่องพวกนี้มีระบุในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทั้งหมด [4] และรัฐบาลกำลังทำอยู่แล้วอย่างเป็นระบบ เพียงแต่เรื่องเหล่านี้ล้วนใช้เวลา

โรมมิได้ถูกสร้างขึ้นได้ในวันเดียวฉันใด ประเทศไทยก็ต้องใช้เวลาในการพัฒนา ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงเช่นกัน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า