Articlesปฏิบัตินิยม ทฤษฎีสมดุลยภาพที่ขาดหายไปในการเมือง

ปฏิบัตินิยม ทฤษฎีสมดุลยภาพที่ขาดหายไปในการเมือง

“ไม่ว่าแมวขาวหรือแมวดำ ขอเพียงจับหนูได้ก็คือแมวที่ดี” – เติ้งเสี่ยวผิง

วลีอมตะนี้คือวาทะที่นำไปสู่แนวทางการปฎิรูปประเทศจีนของเติ้ง เสี่ยวผิง นับตั้งแต่ที่เขาขึ้นสู่อำนาจ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์จากการลงมือปฏิบัติจริง ไม่ยึดติดกับทฤษฎี ดั่งวาทะที่เขาได้กล่าวว่า “ปลดปล่อยความคิด ยึดติดความจริง” นั่นเอง [2]

และด้วยแนวคิดของเติ้งนี้เอง ที่เป็นรากฐานให้จีนเติบโตขึ้นอย่างมั่นคง มั่นคั่ง และยั่งยืน จนก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของโลกในปัจจุบัน

แนวคิดของเติ้งนั้น เติ้ง ไม่ปฏิเสธทฤษฎีมาร์กซิส-เลนินนิส หรือ แนวคิดของเหมา แต่เขาค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจสังคมของจีนอย่างประนีประนอม [3] เขาเปิดประเทศเพื่อน้อมรับความเจริญจากต่างชาติเข้ามาศึกษา พัฒนา ต่อยอด [4] และสนับสนุน “ลัทธิปฏิบัตินิยม” ทางเศรษฐกิจและการเมือง

ลัทธิปฏิบัตินิยมคืออะไร ? มาจากไหน ?

แนวคิด “ปฏิบัตินิยม” คือแนวคิดที่ให้ความสำคัญไปที่ “ความหมาย” และ “ความจริง” ซึ่งสิ่งใดที่คิดแล้วใช้ไม่ได้จริง ให้ถือว่าไร้ความหมาย การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมนั้น ไม่ได้อยู่ที่การใช้ความคิด แต่อยู่ที่การรับรู้ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นจริง และเรียนรู้ไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และน้อมรับมันเพื่อการสร้างความรู้ และสติปัญญา เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายของชีวิต และหากสิ่งใดที่ยังไม่รู้แน่ชัด ให้ยึดประสิทธิภาพในการปฏิบัติเอาไว้ก่อน

ลัทธิปฏิบัตินิยม มีกระบวนการในการหาความรู้และความจริงคล้ายคลึงกับหลักวิทยาศาสตร์ ด้วยเพราะนักปรัชญาสำคัญที่วางรากฐานของแนวคิดนี้คือ ชาเลส แซนเดอร์ เพิร์ส (Charles Sanders Peirce), วิลเลียม เจมส์ (William James) และ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) นั้น ล้วนมีพื้นฐานมาจากนักวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น

จีน ประยุกต์ใช้ปฏิบัตินิยมอย่างไร ?

ในสมัยที่เติ้ง เสี่ยวผิงยังเป็นผู้นำสูงสุดของจีนอยู่นั้น มีชาวบ้านหมู่บ้านหนึ่งเดือดร้อน และออกมารวมตัวกัน สร้างข้อตกลงร่วมกันว่า “แต่ละบ้านจะส่งผลผลิตเข้ากองกลางจำนวนหนึ่งตามที่ตกลงกันไว้ก่อน แต่ส่วนที่ปลูกได้เกินจะเก็บไว้กินกันเองในแต่ละบ้าน” การกระทำนี้ ผิดต่อกฎหมาย และหลักการของคอมมิวนิสต์ในเวลานั้นอย่างรุนแรง

แต่เติ้ง เสี่ยวผิงกลับตอบว่า น่าสนใจดี ลองดูสิ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ ผลผลิตของหมู่บ้านนี้สูงกว่าหมู่บ้านรอบข้างทั้งหมดและชาวบ้านก็พึงพอใจกับระบบนี้มาก เนื่องเพราะว่าชาวบ้านมีแรงจูงใจในการทำงาน “ทำมาก ได้มาก ทำน้อยได้น้อย” ผิดกับระบอบคอมมิวนิสต์เดิม ที่ขยันแค่ไหนก็ได้เท่าเดิม เป็นที่มาของ “ความเท่าเทียมที่ไม่ยุติธรรม”

เติ้ง ประกาศทุกหมู่บ้านทำแบบนี้บ้าง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจีนเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด [8]

นี่คือข้อพิสูจน์ของเติ้งว่า ทุนนิยม ทำงานได้ดีกว่าในการสร้างเศรษฐกิจ แต่รัฐมิได้ปล่อยให้ทุนทำงานโดยเสรี รัฐมีหน้าที่ชี้นำทิศทางทุน ให้เป็นไปตามทิศทางที่ควรจะเป็น เพื่อสร้างความสมดุล และผาสุกในสังคม

ซึ่งหากเปรียบเทียบกันระหว่างทุนนิยมจีน กับทุนนิยมอเมริกัน จีนเห็นว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมขึ้น จนทำให้จีนกลายเป็นผู้นำโลกในด้านเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) และพลังงานหมุนเวียน(Renewable Energy) ในขณะที่อเมริกาในยุคโดนัล ทรัมป์ อเมริกาหันหลับมาพึ่งพาพลังงานถ่านหินและน้ำมัน ที่ก่อมลพิษมากกว่าเดิม [9]

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า เติ้ง เสี่ยวผิง และรัฐบาลจีนในยุคต่อ ๆ มา มิได้ยึดติดกับแนวคิด อุดมการณ์ อีกต่อไป แต่ยึดติดกับการลงมือทำ ลงมือทดลอง ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยยึดติดกับ “ผลประโยชน์ของประชาชน และความผาสุกของสังคม” แทน

“ปลดปล่อยความคิด ยึดติดความจริง”

ความจริงของโลกที่ยอมรับได้ยากที่สุด คือ ความจริงที่ขัดต่อความเชื่อของตน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า