Articlesศิลปะแห่งการจัดเก็บภาษี อ่านที่มาของอัตราภาษีก้าวหน้าและความเชื่อมโยงของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับโครงการคนละครึ่ง

ศิลปะแห่งการจัดเก็บภาษี อ่านที่มาของอัตราภาษีก้าวหน้าและความเชื่อมโยงของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับโครงการคนละครึ่ง

รัฐบาลควรเก็บภาษีเท่าไร และยังไงดี ?

เพราะหากรัฐบาลเก็บภาษีมากเกินไป ประชาชนก็จะอยู่ไม่ได้ และก่อหวอดประท้วงรัฐบาล แต่ถ้าหากเก็บน้อยเกินไป รัฐบาลก็จะไม่มีทุนมากพอที่จะบริหารประเทศ จนส่งผลให้ประเทศล่มสลายไปได้เช่นกัน

ฌอง บาสติส โคแบลย์ (Jean-Baptiste Colbert) อดีตขุนคลังของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เคยกล่าวไว้ว่า “ศิลปะการจัดเก็บภาษี เปรียบดั่งการถอนขนห่านเพื่อให้ได้ขนนกในปริมาณมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ พร้อมกับเสียงฟู่น้อยที่สุด” [1] ซึ่งหมายความว่า นโยบายภาษีที่ยอดเยี่ยม จะต้องเก็บภาษีให้ได้เป็นจำนวนมากที่สุด โดยที่ประชาชนและสังคมเจ็บปวดน้อยที่สุด นั่นเอง

แต่ว่า จะทำอย่างไรหล่ะ ?

โดยเฉพาะในสภาวะถังแตกของฝรั่งเศส ที่สืบทอดต่อกันมานับตั้งแต่ปลายรัชสมัยหลุยส์ที่ 14 และแก้ไขไม่ตกจนมาถึงแผ่นดินของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 นั่นเอง

ในรัชกาลหลุยส์ที่ 15 นักเศรษฐศาสตร์สำนัก ฟิสิโอเครซี่ (Physiocracy) ชื่อก้องนาม ฟรองซัว เกเนย์ (François Quesnay) ได้ตีพิมพ์ “ตารางเศรษฐกิจ” (Tableau économique) ขึ้นมาเพื่ออธิบายว่า ทำไมจึงควรลดการเก็บภาษีคนจนและชนชั้นกลาง แต่เก็บภาษีเพิ่มเอาจากคนรวย ซึ่งสุดท้ายแล้ว ตารางเศรษฐกิจนี้ สามารถอธิบายได้ด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ได้ว่า สุดท้ายแล้ว รัฐบาล, ขุนนาง และพระ จะได้รับภาษีมากกว่าเดิมจากการกระทำเช่นนี้ [2]

ตารางเศรษฐกิจของเกเนย์ ถูกหยิบยกมาพัฒนาต่อโดยนักเศรษฐศาสตร์ยุคหลัง ซึ่งนั่นรวมไปถึง คาร์ล มาร์ก ซึ่งใช้แนวคิดของเกเนย์ในหนังสือ “ว่าด้วยทุน” บทที่ 2 ของเขา [3] และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา “ตัวทวีคูณ” (Multiplier) [4] ซึ่งเป็นทฤษฎีที่อยู่เบื้องหลังโครงการ “คนละครึ่ง”, “ชิม-ช็อป-ใช้”, ช็อปดีมีคืน” และ “เราเที่ยวด้วยกัน” นั่นเอง [5]

แต่ไม่ว่าตารางเศรษฐกิจของเกเนย์ จะได้รับการพิสูจน์ถึงความเป็น Masterpiece โดยลูกหลานยุคหลังอย่างไรก็ตาม แต่ตัวเกเนย์ในเวลานั้น กลับไม่พยายามผลักดันแนวคิดของเขาเท่าไร และเสียชีวิตอย่างสงบในฐานะขุนนางผู้มีอันจะกินผู้หนึ่ง [2]

ผู้ที่เป็นหัวเรือใหญ่ในการผลักดันนโยบายของเกเนย์ กลับเป็น พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งทรงพยายามอย่างยิ่ง เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาเศษฐกิจของประเทศ ผลักดันนโยบายการปฎิรูปภาษีที่มีแนวคิดของเกเนย์เป็นพื้นฐาน ทรงเปิดประชุมสภาฐานันดร ค.ศ. 1789 และหมายจะแก้เกมที่เป็นรองกลุ่มขุนนางและพระ ด้วยการล็อบบี้กลุ่มสามัญชน ฐานันดรที่ 3 ซึ่งเหล่านักวิชาการในกลุ่มฐานันดรที่ 3 ก็ต้องการที่จะให้เกิดการปฎิรูปภาษีนี้ด้วยเช่นกัน [2]

น่าเสียดายที่เกิดเหตุแทรกซ้อนจนทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างรุนแรงระหว่างพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับกลุ่มฐานันดรที่ 3 ซึ่งนำไปสู่การประกาศตั้ง สมัชชาแห่งชาติ ขึ้นแทนที่สภาฐานันดร แต่ถึงกระนั้น แนวคิดในการปฎิรูปภาษีที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เป็นผู้ริเริ่มผลักดัน ได้รับการหยิบยกขึ้นมาพัฒนาต่อโดยสมัชชาแห่งชาติ และถูกพัฒนาต่อ ๆ มา จนกลายเป็น “อัตราภาษีก้าวหน้า” ในปัจจุบันนั่นเอง

นี่สะท้อนให้เห็นว่า แนวคิดในการจัดเก็บภาษีในปัจจุบันนั้น ผ่านกระบวนการกลั่นกรองมาเป็นอย่างดีในหน้าประวัติศาสตร์ ซึ่งไม่เพียงมีความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายแล้ว ยังเกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมและประเทศชาติอีกด้วย ซึ่งประเทศไทยเราเอง ก็นำเอาแนวคิดในการจัดเก็บภาษีเข้ามาบังคับใช้ด้วยเช่นกัน

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยของเรานั้น ใช้ระบบภาษีบุคคลธรรมดา ที่ได้รับการพิสูจน์ในหน้าประวัติศาสตร์แล้วว่า ยุติธรรม เสมอภาค และเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายอย่างแน่นอน

อ้างอิง :

[1] Plucking the geese

[2] Naill Kishtainy (พ.ศ. 2562), “เศรษฐศาสตร์: ประวัติศาสตร์มีชีวิตของพัฒนาการความคิดเศรษฐศาสตร์”, แปลโดย ฐณฐ จินดานนท์, สำนักพิมพ์ bookscape

[3] Karl Marx on Physiocracy

[4] Impact Studies without Multipliers: Lessons from Quesnay’s Tableau Economique

[5] รายจ่ายภาครัฐ เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและตัวทวีคูณ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า