Articlesที่มาของรถไฟฟ้าสายสีเขียว และอุปสรรคที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยที่ทำให้ราคารถไฟฟ้าสายนี้มีราคาที่แพง

ที่มาของรถไฟฟ้าสายสีเขียว และอุปสรรคที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยที่ทำให้ราคารถไฟฟ้าสายนี้มีราคาที่แพง

เรื่องการต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้ารถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นประเด็นเผ็ดร้อนในสังคมออนไลน์โดยมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งประเด็นการต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวเกิดขึ้นจากเงื่อนไขของการเกิดขึ้นของโครงการรถไฟฟ้าลอยฟ้าสายแรกของกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นบริบทเหตุการณ์ที่มีความซับซ้อนและได้ส่งผลต่อพื้นที่กรุงเทพมหานครจนถึงปัจจุบัน

โดยรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นโครงการขนส่งมวลชนในเขตเมือง แบบใช้ระบบไฟฟ้าและอยู่ระดับเหนือพื้นดินเป็นสายแรกของประเทศไทย โดยเกิดขึ้นจากการลงทุนของภาคเอกชนทั้งหมดในบริบทที่กระแสการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาให้ ความสำคัญกับการลงทุนกับโครงการทางถนนเป็นหลักโดยเฉพาะกับทางด่วนที่มีทางด่วนสายใหม่ ๆ เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครเป็นจำนวนมากในช่วงขณะนั้น

ซึ่งการเกิดขึ้นของรถไฟฟ้าสายสีเขียวสามารถเกิดขึ้นได้โดยการอนุมัติการก่อสร้างและโครงการโดย
กรุงเทพมหานคร และเอกชนจะเป็นผู้ลงทุนโครงการทั้งหมด และการก่อสร้างจึงได้เริ่มต้นขึ้นท่ามกลางการคัดค้านการก่อสร้างจากพื้นที่รอบข้างส่วนหนึ่งอย่างรุนแรง และในบริบทที่ระบบการขนส่งแบบทางรางยังไม่ได้รับนิยมมากนักเมื่อเทียบกับการขนส่งทางถนนที่เป็นวิธีการเดินทางหลักของคนในกรุงเทพมหานคร

และด้วยที่ภาคเอกชนได้ลงทุนด้วยตนเองจึงลงทุนในรูปแบบของโครงการรถไฟฟ้าลอยฟ้า ซึ่งก็มีความพยายามจากหลายภาคส่วนที่ต้องการให้สร้างแบบใต้ดินแต่ด้วยที่รัฐในช่วงนั้นไม่ได้มีการเข้ามาลงทุนในระบบรถไ
ฟฟ้าแต่อย่างใดรวมทั้งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการก่อสร้างแบบลอยฟ้าถึง 3 เท่า และการลงทุนในแบบลอยฟ้าเองก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงมหาศาลอยู่แล้ว ท่ามกลางรถไฟฟ้าลาวาลินและรถไฟฟ้าโฮปเวลล์ที่ส่อว่าจะล้มเหลว

จึงเหลือเพียงรถไฟฟ้าธนายงที่ยังเดินหน้าโครงการได้อยู่และมีเพียงกรุงเทพมหานครที่ให้สิทธิ์ในการก่อสร้างสิทธิ์ในการเข้าถึงที่ดินที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้ดูแลและสิทธิ์สัมปทาน 30 ปีที่ภาคเอกชนจะได้รับหลังการอนุมัติจากกรุงเทพมหานคร

ด้วยเหตุนี้การก่อสร้างจึงเกิดขึ้นแบบลอยฟ้าและดำเนินการท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อภาคส่วนเอกชนต่าง ๆ แต่การก่อสร้างก็ยังดำเนินต่อไป จนกระทั่งสามารถเปิดใช้งานได้สำเร็จใน พ.ศ.2542 และสิทธิ์สัมปทานจึงเริ่มต้นขึ้นถึง พ.ศ.2572 เป็นระยะเวลา 30 ปี และหลังจากนั้นจึงมีเส้นทางส่วนต่อขยายที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้ลงทุนเองมาเรื่อย ๆ

โดยเหตุสำคัญที่การต่อหรือไม่ต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวจึ งเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเส้นทางใจกลาง
ภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนเอง แต่เส้นทางส่วนต่อขยายกรุงเทพมหานครเป็นผู้ลงทุนโดยให้ภาคเอกชนเป็นผู้เดินรถให้ประกอบกับภาระหนี้สินที่กรุงเทพมหานครจะต้องแบกรับเป็นจำนวนมหาศาล รวมทั้งเรื่องประเด็นของค่าโดยสารที่ก็เป็นข้อโต้เถียงของสังคมเป็นจำนวนมาก รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวกันกับประเด็นเหล่านี้ จึงทำให้รถไฟฟ้าสายสีเขียว

หากจะกล่าวได้ว่า เป็นรถไฟฟ้าสายประวัติศาสตร์ก็คงจะกล่าวได้ไม่ผิดนัก

ทั้งหมดนี้คือที่มาของปัญหาของรถไฟฟ้าสายสีเขียว……ที่คารา
คาซังมาถึงทุกวันนี้

โดย ชย

 

อ้างอิง : อ้างอิง
[1] ย้อนรอย “20 ปี บีทีเอส”
เรื่องราวของความเศร้าและความสุข ของคีรี กาญจนพาสน์
[2] ย้อนดูสัมปทานบีทีเอส
เป็นมาอย่างไรแล้วจะอยู่ด้วยกันไปอีกกี่ปี
[3] ประวัติความเป็นมา

 

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า