Articlesทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘นายกสำรอง’ และกระบวนการคัดเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนนายกรัฐมนตรีที่พ้นสภาพ ก่อนครบวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘นายกสำรอง’ และกระบวนการคัดเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนนายกรัฐมนตรีที่พ้นสภาพ ก่อนครบวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี

นายกสำรอง เป็นคำพูดที่เริ่มมีการพูดถึงในข่าวการเมืองอยู่บ้างพอสมควรโดยเป็นการสื่อถึงกรณีที่หากนายกรัฐมนตรีหลักปัจจุบันพ้นตำแหน่งก็จะมีการหาผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเข้ามาแทนที่ ซึ่งตรงนี้คือ นายกสำรอง ก่อนที่จะเข้าสู่การเลือกตั้งในระดับชาติตามวาระของสภาผู้แทนราษฎรที่หมดลง

จุดสำคัญของเรื่องนี้ คือ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมีกระบวนการในการเข้าสู่ตำแหน่งในหลายรูปแบบ รูปแบบแรกที่เป็นอะไรที่คุ้นเคยกันดี คือ การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงเวลาเดียวกับวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งตรงนี้สามารถเรียกว่า นายกรัฐมนตรีหลัก ก็ได้ เพราะด้วยวิธีการดำรงตำแหน่งในรูปแบบนี้สามารถดำรงตำแหน่งได้จนจบวาระ 4 ปีบริบูรณ์พร้อมกับ ส.ส. ได้เลย

รูปแบบต่อไปที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์การเมืองไทย คือ นายกรัฐมนตรีหลักพ้นตำแหน่ง และต้องมีการเลือกคนเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในรัฐสภาซึ่งในแต่ละพรรคการเมืองก็จะมีบัญชีรายชื่อเสนอชื่อบุคคลที่จะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสมอ

ซึ่งเมื่อนายกรัฐมนตรีพ้นตำแหน่งก็จะให้พรรคการเมืองต่าง ๆ เสนอชื่อผู้ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากในบัญชีรายชื่อตัวแทนพรรคการเมืองที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่ใช่บัญชีรายชื่อลำดับ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อแต่อย่างใด เมื่อมีการเสนอชื่อเสร็จก็จะให้รัฐสภาทำการเลือกรายชื่อผู้ที่ถูกเสนอชื่อขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซึ่งผู้ที่ได้สิทธิ์ดำรงตำแหน่งก็จะคงตำแหน่งได้จนกว่าวาระของ ส.ส. จะหมดลง

แต่ก็มีอีกกรณีหนึ่งที่มีความสนใจ คือในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2560 ได้มีการเปิดทางให้สามารถมีการเลือกนายกคนนอก ซึ่งก็คือ บุคคลที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลที่จะมีการเสนอขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยพรรคการเมือง จะเป็นใครก็ได้ที่ไม่ละเมิดกฎหมายสิทธิ์ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น เคยกระทำความผิดร้ายแรงและถูกศาลพิพากษาเป็นที่สิ้นสุด หรือโดนตัดสิทธิ์ทางการเมืองจากสาเหตุต่าง ๆ

ตรงนี้จึงมีความสนใจที่ว่า เมื่อมีการเปิดทางให้เลือกนายกคนนอกนั้น จะง่ายเท่าการเลือกนายกคนในหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ เพราะจะต้องมีการใช้มติความเห็นชอบถึง 2 ใน 3 ของรัฐสภา ในขณะที่การเลือกนายกคนในจะใช้มติความเห็นชอบเพียงกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด ต่างกันเห็น ๆ

ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า นายกสำรองนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบ หลายวิธี และมีเงื่อนไขหลายอย่างที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ การอ่านข่าวการเมืองซึ่งมักเป็นข่าวสารที่มีมุมมอง ความคิด และทัศนคติที่หลากหลายและไม่ตายตัว ควรจะมีวิจารณญาณในการอ่านข่าวสารเป็นอย่างยิ่ง เพราะข่าวสารการเมืองมักเป็นข่าวสารที่มีความรวดเร็วและมักเต็มไปด้วยการคาดเดาที่อาจมีความจริงและความเท็จปนกันอยู่อย่างที่เราเองก็คาดไม่ถึงอยู่เช่นกัน 

โดย ชย

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า