Newsกอบศักดิ์ชี้จับตาโค้งสำคัญ สหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ยสู้เงินเฟ้ออีกรอบ คาด GDP สหรัฐฯ อาจติดลบในไตรมาส 2

กอบศักดิ์ชี้จับตาโค้งสำคัญ สหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ยสู้เงินเฟ้ออีกรอบ คาด GDP สหรัฐฯ อาจติดลบในไตรมาส 2

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว วันที่ 25 ก.ค. โดยระบุว่า 

โค้งสำคัญของระบบเศรษฐกิจโลก !!! สัปดาห์นี้คงต้องติดตามเศรษฐกิจสหรัฐอย่างใกล้ชิด

เรื่องแรก คือการประชุม Fed ที่จะเริ่มวันอังคารนี้ ซึ่งจะประชุม 2 วัน แล้วแถลงผลในช่วงหลังเที่ยงคืนของวันพุธ ทุกคนลุ้นกันว่า Fed จะตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาดหรือไม่ 

โดยล่าสุด การสำรวจมุมมองนักลงทุน และ Fed Funds Futures ได้ปรับลดความร้อนแรงลงมาที่ +0.75% สำหรับการประชุมครั้งนี้ หลังกรรมการบางคนออกมาแสดงความคิดเห็นว่า 0.75% น่าจะเพียงพอสำหรับการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ แม้เงินเฟ้อสหรัฐจะขึ้นไปที่ 9.1%

โดยคืนวันพุธ เราคงต้องมาลุ้นว่า

  1. ผลจะออกมาตามคาดหรือไม่ จะมีอะไร Surprise ตลาดหรือไม่ 
  2. เฟดจะส่งสัญญาณว่าครั้งต่อไป จะขึ้น 0.75% และ 0.5% อีกกี่ครั้ง 
  3. ที่สำคัญที่สุด ท่านประธานเฟดจะพูดอะไร จะหลุดอะไรมา ช่วงถามตอบ 

– แนวโน้มเงินเฟ้อ : เฟดคิดว่าเงินเฟ้อจะ Peak หรือยัง จะสูงกว่า 9.1% อีกไหม ถ้าเงินเฟ้อจะลง จะลงมาเร็วแค่ไหน ต้องลงมาเท่าไร เฟดถึงจะพอใจ

– โอกาสการเกิด Recessions ว่าจะมีมากน้อยแค่ไหน เฟดกังวลใจเรื่องนี้หรือไม่ และคิดว่าเศรษฐกิจยังดีอยู่ใช่หรือไม่ เฟดจะรับกับคนตกงานได้มากน้อยแค่ไหน และสหรัฐยังจะ Soft landing ได้หรือไม่ 

– ทิศทางของการปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดๆ ไป (หลังเฟดเอาตัวเลขเงินเฟ้อ ทิศทางเงินเฟ้อ ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุด เข้ามาประกอบหมดแล้ว) 

ซึ่งเรื่องนี้จะมีนัยยะต่อตลาด เนื่องจาก Implied Overnight Rate ของตลาด ยังคาดว่าดอกเบี้ยจะขึ้นไปสูงสุดเพียงแค่ 3.375% ในช่วงปลายปีนี้ แล้วค่อยๆ ปรับลดลงมา ต่างจากนักเศรษฐศาสตร์หลายๆ คน ซึ่งรวมถึง Lawrence Summers อดีตรัฐมนตรีคลังสหรัฐ ที่คิดว่า “ไม่น่าจะพอ” เฟดยังต้องขึ้นดอกเบี้ยอีกพอสมควร เพื่อสู้กับเงินเฟ้อ 

หมายความว่า เฟดกับตลาดกำลังเห็นไม่ตรงกัน และตลาดยังต้องปรับ expectation อีกพอสมควร หลังจากเฟดค่อยๆ เปิดออกมาว่าคิดอะไรอยู่ ซึ่งที่ตลาดอยากรู้ ก็คือ 

– ถ้าเงินเฟ้อเริ่มลงมาบ้าง เศรษฐกิจเริ่มชะลอชัดขึ้น เฟดจะยังคงขึ้นดอกเบี้ยแบบ Aggressive อีกหรือไม่ 

– เงินเฟ้อต้องลงมาเท่าไร เฟดถึงจะขึ้นแบบปกติที่ 0.25%

– เงื่อนไขของการหยุดขึ้นคืออะไร

– ที่เฟดบอกว่า “จะขึ้นไปจนเงินเฟ้อสยบนั้น” จะต้องขึ้นดอกเบี้ยไปแค่ไหน

ทั้งหมด มารอท่านประธานเฟดเฉลยบางส่วน ในช่วงคืนวันพุธ และมาดูว่า ครั้งนี้ ท่านจะ “ปลอบประโลม” หรือ “ทุบ” ตลาด และตลาดจะปรับตัวอย่างไรครับ

เรื่องที่สอง คือตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ที่จะประกาศในวันพฤหัส ว่าจะติดลบเป็นไตรมาสที่ 2 หรือไม่ ?

ล่าสุด การสำรวจของ Bloomberg พบว่า นักลงทุนคาดว่าตัวเลขจะออกมาระหว่าง -0.6% ถึง 1.2% 

โมเดลที่พยายามประเมินเศรษฐกิจไตรมาสปัจจุบัน เช่น GDPNow ของเฟด Atlanta ก็ออกมาชี้ว่า อาจจะติดลบ

แม้กระทั่ง ทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจของ White House ยังต้องออกมาเขียนลง Blog ของทำเนียบขาวเมื่อ 3 วันที่แล้วว่า “ต่อให้ออกมาติดลบเป็นไตรมาสที่สอง ก็ไม่ถือว่าเป็น Recession” การทำเช่นนี้ ถือว่าไม่ปกติ อาจจะเป็นการเตรียมตลาด ดักทาง ก่อนที่ตัวเลขจริงจะประกาศออกมาสัปดาห์นี้ !!!

นอกจากนี้ Yield Curve สหรัฐ ก็ได้ปรับตัวอย่างน่าสนใจเมื่อเทียบกับ 1 เดือนก่อนหน้า จากแต่ก่อนที่ดอกเบี้ยปรับขึ้นทุกระยะ ล่าสุด ขึ้นเฉพาะช่วงสั้นๆ แต่ช่วงยาวๆ ปรับลดลง ทำให้ขณะนี้มี Inverted Yield Curve อย่างชัดเจน ซึ่งชี้ว่า มี Recession รออยู่ข้างหน้าสำหรับเศรษฐกิจสหรัฐสอดรับกับข่าวการปรับลดคนงาน ลดการจ้างงานของบริษัทต่างๆ รวมไปถึงการเริ่มปรับลดลงของราคาบ้านในเมืองต่างๆ 

ทั้งหมดนี้ เป็นสัญญาณว่า ยาแรงของเฟดเริ่มออกฤทธิ์ การชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐที่กำลังสะสมแรงส่ง ทำให้เศรษฐกิจที่เคยแข็งแรงคึกคัก กำลังหงอยลง และจะมีนัยยะกับทุกคน

.

มาลุ้นกันครับว่า สิ่งที่ท่านประธานเฟดจะพูด และตัวเลข GDP จะออกมาอย่างไร เพราะทั้งสองอย่างจะกำหนดทิศทางตลาดในช่วงครึ่งหลังของปี

 

#TheStructure

#กอบศักดิ์ #Fed #เงินเฟ้อ #GD

อ้างอิง :

ที่มา: Kobsak Pootrakool

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid02JiKoL9JJzz6HfWHTypAGFAkMTs5bt4ptf8AbsTq7VbQ3xdB1gg3uwAkefUM6V8Cbl&id=1044766528

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า