News#TGAT พุ่งติดเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับ 1 ของไทย ปมดราม่า ข้อสอบ TGAT เจ้าปัญหา “เมนูใดสร้างก๊าซเรือนกระจกและส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด”

#TGAT พุ่งติดเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับ 1 ของไทย ปมดราม่า ข้อสอบ TGAT เจ้าปัญหา “เมนูใดสร้างก๊าซเรือนกระจกและส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด”

สรุปปมดราม่า ข้อสอบ TGAT เจ้าปัญหา “เมนูใดสร้างก๊าซเรือนกระจกและส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด” ขณะที่ ทปอ. ยืนยันมีคำตอบ ยินดีที่คำถามดังกล่าวกระตุ้นให้มีการถกเถียง

จากที่มีการจัดสอบ TCAS ซึ่งเป็นระบบกลางในการคัดเลือกบุคคลเข้ารับการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 10-12 และ 17 ธันวาคม 2565 นั้น โดยในวันแรกเป็นการสอบรายวิชาความถนัดทั่วไป หรือ TGAT ซึ่งเริ่มสอบตั้งแต่ 09.00-12.00 น.

ต่อมาได้เกิดประเด็นที่ทำให้คนถกกันสนั่นโลกออนไลน์เกี่ยวกับคำถามในข้อสอบ TGAT ซึ่งมีอยู่ข้อหนึ่งถามว่า “เมนูใดต่อไปนี้ที่สร้างก๊าซเรือนกระจกและส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด” โดยมีคำตอบให้เลือกดังนี้

  1. ข้าวราดไก่ผัดกระเทียมพริกไทย
  2. ราดหน้าหมู
  3. สเต๊กปลาแซลมอน
  4. สุกี้ทะเลรวมมิตร

โดยต่อมา คำถามข้อดังกล่าวยังส่งผลให้แฮชแท็ก #TGAT พุ่งขึ้นติดเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับ 1 ประเทศไทย ในขณะนั้นอีกด้วย

ล่าสุด ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ. ได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า คณะกรรมการดำเนินงาน TCAS รู้สึกยินดีที่ข้อคำถามดังกล่าวกระตุ้นให้เกิดการถกเถียง และทำให้ผู้อ่านได้ตระหนักรู้ถึงผลกระทบของการเลือกรับประทานอาหารที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและการสร้างก๊าซเรือนกระจก ตามหลักของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อ 13-Climate Action ของสหประชาชาติ (SDG: Sustainable Development Goals)

เพราะนอกจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ประหยัดพลังงาน การเดินทางโดยสาธารณะ การเลือกทานอาหารจากแหล่งในท้องถิ่น และการบริโภคอย่างพอเหมาะแล้ว การเลือกชนิดอาหารที่รับประทานก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการสร้างก๊าซเรือนกระจกด้วยเช่นกัน

ข้อสอบดังกล่าวได้พัฒนาบนฐานความรู้ของการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของสังคม (Civic Engagement) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมรรถนะการทำงานในอนาคต (Future Workforce Competency) ในส่วนที่ 3 ของวิชา TGAT ซึ่งเป็นวิชาใหม่ที่จัดสอบในปีนี้เป็นครั้งแรก

ความมุ่งหวังประการหนึ่งของการพัฒนาระบบการสอบรูปแบบใหม่ในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย คือการกระตุ้นให้ผู้เข้าสอบได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะอนาคตและทัศนคติที่ดี โดยกำหนดให้เป็นส่วนใหม่ของการสอบวิชาความถนัดทั่วไป (TGAT) เช่น การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ, การคิดเชิงวิพากษ์และการใช้เหตุผล, การบริหารจัดการอารมณ์, การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน, การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม และการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมแก้ปัญหาของสังคม และหวังว่าการจัดศึกษาในอนาคตและการพัฒนาตนเองของผู้เรียนจะเป็นไปในทิศทางดังกล่าวควบคู่ไปกับการเรียนรู้ และประยุกต์เนื้อหาเชิงวิชาการตามหลักสูตรไปพร้อมกัน

อย่างไรก็ตาม หลังจากโพสต์ดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ออกไป ทำให้เป็นที่ถกเถียงในโลกออนไลน์อีกครั้ง เนื่องจากการชี้แจงดังกล่าว ไม่ได้เฉลยคำตอบของข้อสอบเจ้าปัญหาแต่อย่างใด

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า