Newsตลาดแรงงานไทยเผชิญปรากฏการณ์ “ค่าจ้างสองขั้ว” ส่งผลให้แนวโน้มค่าแรงงานกลุ่มอาชีพทักษะปัญญา-กำลัง เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

ตลาดแรงงานไทยเผชิญปรากฏการณ์ “ค่าจ้างสองขั้ว” ส่งผลให้แนวโน้มค่าแรงงานกลุ่มอาชีพทักษะปัญญา-กำลัง เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

แนวโน้มค่าแรงงานกลุ่มอาชีพทักษะปัญญา-กำลัง เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

 

29 พฤศจิกายน ในงาน PIER Research Brief ครั้งที่ 6/2565 เรื่อง “สมอง vs กำลัง – แรงงานสองขั้ว อัตราผลตอบแทนของทักษะ และความไม่เท่าเทียมของค่าจ้าง” นางศศิวิมล รุณศิริ ปวีณวัฒน์ รองศาสตราจารย์ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ได้ศึกษาโดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยทำงานร่วมกับ Dr. Lusi Liao นักวิจัยที่ Institute of Strategy Research for the Guangdong-Hong Kong-Macao Greater Bay Area ประเทศจีน 

 

จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบปรากฏการณ์ค่าจ้างสองขั้ว (wage polarization) ในตลาดแรงงานไทย โดยค่าจ้างของแรงงานในกลุ่มอาชีพทักษะสูง เช่น กลุ่มเทคโนโลยี ทักษะด้านนวัตกรรม และกลุ่มอาชีพทักษะต่ำ เช่น กลุ่มแรงงานก่อสร้าง เกษตรกร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ค่าจ้างของแรงงานกลุ่มอาชีพทักษะปานกลาง เช่น กลุ่มงานธุรการ มีแนวโน้มคงที่

 

“สิ่งที่น่าสนใจ คือ กลุ่มแรงงานปานกลางในอนาคตต่อไปอาจถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักรที่สามารถประมวลผลซึ่งสามารถทำงานในส่วนนี้ได้ ดังนั้น การเร่งผลักดันกลุ่มคนทุกระดับให้เกิดเป็นแรงงานหลายทักษะ จะลดผลกระทบได้มากที่สุด” นางศศิวิมล กล่าว

 

ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ความต้องการจ้างงานแรงงานทักษะสูง (Skill-biased technical change: S8TC) ได้รับค่าจ้างเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกัน การย้ายถิ่นฐานของแรงงานในชนบทสู่การทำงานในพื้นที่เขตเมือง และการโยกย้ายแรงงานจากภาคเกษตรไปยังภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ทำให้ระดับค่าจ้างที่แท้จริงต่อหัวของแรงงานทักษะต่ำเพิ่มขึ้นเช่นกัน

 

ทั้งนี้ ปรากฎการณ์ค่าจ้างสองขั้วสามารถอธิบายการเพิ่มขึ้นของความไม่เท่าเทียมของค่าจ้างในประเทศไทยได้ โดยทำให้ความแตกต่างของค่าจ้างของแรงงาน (Wage gap) ในกลุ่มอาชีพทักษะสูงและกลุ่มอาชีพทักษะปานกลางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

นอกจากนี้ หากวัดราคาของทักษะแรงงาน (skill price) ด้วยการสร้างดัชนีสะท้อนทักษะทางปัญญาและทักษะทางกายภาพที่แรงงานจำเป็นต้องใช้ในแต่ละอาชีพ แต่ละอุตสาหกรรม และประมาณการอัตราผลตอบแทนของแต่ละทักษะ พบว่าตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา ผลตอบแทนของงานที่เน้นทักษะทางปัญญาเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าผลตอบแทนของงานที่เน้นทักษะทางกายภาพ

 

นางศศิวิมล กล่าวว่า สะท้อนความต้องการในตลาดแรงงานไทยที่ความต้องการแรงงานที่มีทักษะทางปัญญามีระดับสูงมากกว่าแรงงานที่มีทักษะทางกายภาพ และทำให้ความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างแรงงานในอาชีพที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาและแรงงานในอาชีพที่ต้องใช้ทักษะทางกายภาพมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้ความไม่เท่าเทียมทางค่าจ้างแรงงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

โดยผลวิจัยชี้ให้เห็นว่า แม้ว่าระดับการศึกษาเฉลี่ยของแรงงานไทยจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่จำนวนแรงงานทักษะสูงยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงาน ส่งผลให้ความแตกต่างของค่าจ้างระหว่างกลุ่มแรงงานยังอยู่ในระดับสูง

 

“คำถามสำคัญจึงตามมาว่าระดับการศึกษาที่เพิ่มขึ้น อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงานหรือไม่ อีกทั้งนโยบายการศึกษาจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของการศึกษามากขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนแรงงานในอาชีพที่ใช้ทักษะทางปัญญาสูงให้เพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงมาตรการยกระดับทักษะแรงงานที่อยู่ในตลาดแรงงานแล้วให้สูงขึ้น และพัฒนาตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น” นางศศิวิมล กล่าว

 

#TheStructureNews

#ค่าจ้างแรงงาน #กลุ่มอาชีพทักษะสูง

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า