Newsทะลุ 35 ล้านล้านบาทหนี้บัตรเครดิตสหรัฐฯ พุ่งสูงสุดรอบ 11 ปี เหตุการณ์ใช้จ่ายและราคาสินค้าจากเงินเฟ้อ

ทะลุ 35 ล้านล้านบาทหนี้บัตรเครดิตสหรัฐฯ พุ่งสูงสุดรอบ 11 ปี เหตุการณ์ใช้จ่ายและราคาสินค้าจากเงินเฟ้อ

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานจากข้อมูลธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก  (New York Federal Reserve Bank) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ว่าชาวอเมริกันกู้ยืมเงินจากบัตรเครดิตมากกว่าไตรมาสที่แล้ว โดยมียอดหนี้ทะลุ 1 ล้านล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 35.08 ล้านล้านบาท เป็นครั้งแรกแม้ว่าภาระหนี้ครัวเรือนโดยรวมจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงก็ตาม

 

โดยนักวิจัยจากเฟด ระบุว่า ยอดหนี้บัตรเครดิตของชาวอเมริกันเพิ่มขึ้น 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 1.58 ล้านล้านบาท) สู่ระดับ 1.03 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 36.13 ล้านล้านบาท) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 ซึ่งสะท้อนถึงการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่แข็งแกร่งรวมถึงราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากเงินเฟ้อ 

 

ขณะที่ หนี้ครัวเรือนปรับตัวขึ้น 0.1% เป็น 17.06 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 598.48 ล้านล้านบาท) เนื่องจากยอดหนี้จำนอง ซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุดและโดยทั่วไปเป็นตัวขับเคลื่อนที่ใหญ่ที่สุดของหนี้ครัวเรือนโดยรวม ส่วนใหญ่ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

 

ในขณะเดียวกัน การค้างชำระบัตรเครดิตของประชาชนชาวอเมริกันอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 11 ปี เมื่อคำนวณโดยใช้ค่าเฉลี่ย 4 ไตรมาส

 

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มรายไตรมาสต่อไตรมาสดูน่าตกใจน้อยกว่า โดยนักวิจัยของเฟดตั้งข้อสังเกตว่า การปรับตัวลดลงในครั้งนี้ใกล้แตะระดับก่อนเกิดโรคระบาดในช่วง 2 ไตรมาสล่าสุด

 

“แม้ผู้บริโภคชาวอเมริกันจะเผชิญอุปสรรคมากมายในปีที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น แรงกดดันด้านเงินเฟ้อหลังการระบาดใหญ่ และความล้มเหลวด้านภาคธนาคารเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ก็ยังมีหลักฐานเพียงเล็กน้อยที่แสดงถึงยากลำบากทางการเงินของผู้บริโภค” 

 

แม้ว่ายอดหนี้ที่เพิ่มขึ้นจะท้าทายผู้กู้สินเชื่อบางราย และผู้กู้เงินกู้เพื่อการศึกษาอาจได้รับแรงบีบคั้นเนื่องจากการชำระคืนเงินกู้ของนักเรียนกลับมาดำเนินการอีกครั้งในฤดูใบไม้ร่วงนี้ อย่างไรก็ตาม ปริมาณหนี้ภาคครัวเรือนแสดงให้เห็นสัญญาณเริ่มต้นของการทรงตัวในช่วงก่อนเกิดโรคระบาด แม้ว่าจะมียอดหนี้ครัวเรือนคงค้างสูงขึ้นก็ตาม” นักวิจัยของเฟด ระบุ

 

ข้อมูลของเฟดยังแสดงให้เห็นว่า ยอดเงินกู้เพื่อการศึกษาลดลง 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 1.23 ล้านล้านบาท) เป็น 1.57 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 55.08 ล้านล้านบาท) ในไตรมาสที่ 2 ซึ่ง นักวิจัยของเฟดให้เหตุผลว่าเป็นเพราะช่วงเวลาของปีการศึกษา เช่นเดียวกับโครงการยกหนี้

 

การจำนองเพิ่มขึ้นเป็น 3.93 แสนล้านดอลลาร์ (ราว 13.79 ล้านล้านบาท) ในช่วงเดือน เม.ย – มิ.ย. จากระดับต่ำสุดในรอบ 9 ปีที่ประมาณ 3.24 แสนล้านดอลลาร์ (ราว 11.37 ล้านล้านบาท) ในไตรมาสที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ยอดสินเชื่อจำนองยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงสองปีแรกของการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาก ซึ่งสะท้อนถึงผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงของธนาคารกลางสหรัฐในช่วง 15 เดือนที่ผ่านมา

 

โดยยอดสินเชื่อจำนองโดยรวมลดลงเหลือ 12.01 ล้านล้านดอลลาร์ (421.32 ล้านล้านบาท) จาก 12.04 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 422.38 ล้านล้านบาท) ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในการรายงานสินเชื่อที่คาดว่าจะพลิกกลับในไตรมาสหน้า

 

ขณะที่ ยอดสินเชื่อรถยนต์ยังคงเพิ่มขึ้นในระยะยาว โดยเพิ่มขึ้น 2 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 7.02 แสนล้านบาท) สู่ระดับ 1.58 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 55.43 ล้านล้านบาท) ในไตรมาสที่ 2 โดยต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 11% เป็น 1.79 แสนล้านดอลลาร์ (ราว 6.28 ล้านล้านบาท) สะท้อนให้เห็นถึงราคารถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และปริมาณสินเชื่อที่เปิดใหม่ยังคงต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาด


(1 ดอลลาร์ = 35.08 บาท)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า