Newsปัญหารถติดแก้ยังไงก็ไม่จบครับ… ถ้าไม่สามารถทำให้คนลดการใช้รถส่วนตัว แล้วหันมาใช้รถสาธารณะกันเยอะๆ แทนได้ นายสกลธี ภัททิยกุล อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2567

ปัญหารถติดแก้ยังไงก็ไม่จบครับ… ถ้าไม่สามารถทำให้คนลดการใช้รถส่วนตัว แล้วหันมาใช้รถสาธารณะกันเยอะๆ แทนได้ นายสกลธี ภัททิยกุล อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2567

เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2567 นายสกลธี ภัททิยกุล อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว ระบุถึงปัญหารถติดในพื้นที่กทม. ที่สามารถแก้ไขได้หากพัฒนาการให้บริการขนส่งสายรอง หรือ feeder ในจุดที่มีคนอยู่อาศัยจำนวนมาก ป้อนเข้าจุดที่เป็น hub ของการเดินทาง ถึงแม้ว่าจะมีรถไฟฟ้าจะสร้างเสร็จไปจำนวนมากแต่ก็ไม่ได้เข้าถึงในทุกพื้นที่เท่าจำนวนรถให้บริการขนส่งสายรอง

 

โดยนายสกลธี เขียนระบุว่า ปัญหารถติดแก้ยังไงก็ไม่จบครับ…ถ้าไม่สามารถทำให้คนลดการใช้รถส่วนตัวแล้วหันมาใช้รถสาธารณะกันเยอะๆ แทนได้ 

 

ยังเสียดายไม่หายครับที่ผู้บริหาร กทม. ยุคนี้รีบยอมยกธงขาว มีความคิดที่จะโอนยกการเดินรถไฟฟ้าที่อยู่ในภารกิจของกรุงเทพมหานครอย่างน้อย 3 สาย ไปให้กระทรวงคมนาคมทำแทน หลายเหตุผลที่ผมไม่เห็นด้วยลองตามย้อนไปอ่านดูนะครับ

 

แต่ไม่เป็นไรครับ ถ้าคิดว่าการลงทุนสร้างรถไฟไฟฟ้าจะเป็นภาระกับงบประมาณของกรุงเทพมหานครมากเกินไป ก็ยังมีวิธีอื่นอีกหลายวิธีครับที่จะเป็นการแบ่งเบาการจราจรในเมืองหลวงของเราไปได้…เพราะแนวโน้มเรื่องรถติดในกรุงเทพฯ ไม่มีทางที่จะเบาบางลงได้เลยครับ จากสาเหตุหลายประการด้วยกันเช่น จำนวนรถยนต์บนถนนเพิ่มมากขึ้นทุกปี (รถมากกว่าถนน) คนอยากใช้รถส่วนตัวกันมากขึ้นเพราะราคารถ EV หรือรถเครื่องยนต์สันดาปมือ 2 ราคาเอื้อมถึง หรือตอนนี้แม้ว่าจะมีรถไฟรถไฟฟ้าเสร็จแล้วหลายสายก็ตามแต่ไม่ใช่ว่าบ้านของทุกคนจะเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้าได้ในระยะทางเดินได้ทุกบ้าน ทำให้จำนวนคนใช้ขนส่งมวลชนสาธารณะยังไม่เยอะเต็มที่นัก และยังไม่นับเรื่องที่ว่าบริการขนส่งสาธารณะอื่นไม่เชื่อมต่อและไม่เพียงพอ

 

ยกตัวอย่างที่ฮ่องกงหรือลอนดอนที่ซึ่งระบบรถไฟฟ้าสาธารณะครอบคลุม เข้าถึงง่ายและสะดวกสบายติดอันดับต้นๆ ของโลก ทุกสถานีจะห่างกันไม่เกิน 1 กิโลเมตร และเป็นโครงข่ายเชื่อมกันเหมือนใยแมงมุม ทำให้ไม่ว่าเราจะลงสถานีไหนก็ใช้ระยะทางเดินต่อไปถึงจุดหมายไม่เกิน 1 กิโลเมตรหรือสั้นกว่านั้น

 

ดังนั้นในช่วงที่รถไฟฟ้าสาธารณะของเรายังไปไม่ถึงจุดนั้น สิ่งที่กรุงเทพมหานครจะทำได้คือการให้บริการขนส่งสายรอง หรือ feeder ในจุดที่มีคนอยู่อาศัยเยอะๆ ป้อนเข้าจุดที่เป็น hub ของการเดินทางครับ ลองยกตัวอย่างง่ายๆ แค่เขตเดียวที่เขตหลักสี่ ช่วงถนนแจ้งวัฒนะมีโซนหมู่บ้าน เช่น ชวนชื่น เกษตรนิเวศน์ เมืองทอง เคหะทุ่งสองห้อง เอาแค่นี้ก็มีคนอยู่อาศัยเป็นหมื่นๆ คนแล้วครับ ถ้ากรุงเทพมหานครมีรถเมล์ไฟฟ้ารับส่ง วนเป็น loop ไปหย่อนคนไว้ตามจุดเชื่อมต่อต่างๆการใช้รถส่วนตัวจะลดลง และเราไม่ได้ทำแค่จุดเดียวแต่ทำพร้อมๆ กันในจุดที่คนอยู่หนาแน่นของทุกเขต… ผมเชื่อว่าคนจะหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะกันมากขึ้นครับ ลำพัง ขสมก. ฝ่ายเดียวทำไม่มีทางครอบคลุมครับและลักษณะการวิ่งก็วิ่งเฉพาะถนนหลักจุดประสงค์ไม่เหมือนกัน

 

อย่างไรก็ตามครับ ปัญหาทุกอย่างต้องใช้เวลาและมีจุดเริ่มต้น การแก้ไขปัญหาจราจรเป็นเรื่องระยะยาวมีหลายสิ่งที่ต้องทำ ผมจะทยอยมาเล่าให้ฟังเรื่อยๆ นะครับ เรื่อง feeder เป็นเพียงมิติเดียว เพราะการแก้ปัญหาจราจรจะทำมิติเดียวไม่ได้ครับ และอาจจะไม่จบภายในสมัยของผู้ว่าฯ เพียงแค่สมัยเดียว แต่ต้องทำต่อเนื่องเป็นแผนระยะยาว 

 

ผมจะรู้สึกเสียดายมากๆ  ครับถ้าถึงตอนนี้กรุงเทพมหานครยังไม่ได้มีวิธีหรือแนวคิดใดๆ ที่จะผลักดันออกมาเพื่อให้การจราจรในกรุงเทพฯ ดีขึ้น เพราะเวลาก็จะทอดผ่านไปเรื่อยๆ และปัญหาก็จะสะสมมากขึ้นทำให้การแก้ไขยิ่งยากขึ้นไปอีก 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า