Newsแก้ไขราคาประเมินที่ดินใหม่ รอบปี 66–69 ถนนวิทยุราคาขึ้นพรวด 100% จาก ตร.ว. 5 แสนบาทเป็น 1 ล้านบาท

แก้ไขราคาประเมินที่ดินใหม่ รอบปี 66–69 ถนนวิทยุราคาขึ้นพรวด 100% จาก ตร.ว. 5 แสนบาทเป็น 1 ล้านบาท

กรมธนารักษ์ดัดหลังเจ้าของที่ดินสุดแสบ แบ่งที่ดินเป็นรายแปลงกว่า 2.4 ล้านแปลงเพื่อเลี่ยงเสียภาษี จับมือกรมที่ดินแก้ไขราคาประเมินที่ดินรอบปี 66–69 ใหม่ ให้สะท้อนภาวะเศรษฐกิจมากขึ้น 

 

นายจำเริญ โพธิยอด อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า จากที่กรมธนารักษ์ ได้ประกาศราคาประเมินที่ดินใหม่ปี 66-69 เพื่อใช้อ้างอิงสำหรับการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายกำหนด ประกอบกับตั้งแต่ปี 65 เป็นต้นไป ผู้ถือครองที่ดินจะต้องเสียภาษีอัตรา 100% ตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 นั้น ทำให้เจ้าของที่ดินได้แบ่งที่ดินเป็นรายแปลง จากเดิมทั่วประเทศมีที่ดิน 31 ล้านแปลง เพิ่มเป็น 33.4 ล้านแปลง เพื่อลดการจ่ายภาษีลง แต่ส่งผลให้การประเมินราคาที่ดินคลาดเคลื่อน ดังนั้น กรมจึงได้ประสานงานกับกรมที่ดิน เพื่อแก้ไขราคาประเมินที่ดินใหม่อีกครั้งในพื้นที่ 65 จังหวัด

 

สำหรับราคาประเมินที่ดินใหม่ในรอบปี 66-69 นั้น ได้ปรับขึ้นจากฐานปี 59-62 เฉลี่ยประมาณ 8.93% โดยราคาที่ดินที่ปรับเพิ่มสูงสุด เป็นพื้นที่บริเวณถนนวิทยุ ปรับขึ้น 100% จากราคาประเมิน 500,000 บาทต่อตารางวา (ตร.ว.) เป็น 1 ล้านบาทต่อ ตร.ว. เนื่องจากเป็นย่านธุรกิจ รองลงมาเป็นพื้นที่บริเวณเขตห้วยขวาง ราคาประเมินปรับขึ้นกว่า 21% เนื่องจากมีรถไฟฟ้าตัดผ่าน ส่วนพื้นที่บริเวณถนนสีลมยังมีราคาประเมินสูงสุดที่กว่า 1 ล้านบาทต่อ ตร.ว. แต่ราคาประเมินไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นมากนัก

 

ส่วนราคาที่ดินในกรุงเทพฯ ที่มีราคาสูงสุดในรอบปี 66-69 นั้น อันดับ 1 ถนนสีลม (ช่วงพระรามที่ 4-นราธิวาสราชนครินทร์) ซึ่งเป็นอันดับสูงสุดมาตั้งแต่รอบปี 59-62 ราคาอยู่ที่ 1 ล้านบาทต่อ ตร.ว. ส่วนที่ขยับเพิ่มมาใหม่คือถนนเพลินจิต (ช่วงราชดำริ-ทางพิเศษเฉลิมมหานคร), ถนนพระรามที่ 1 (ช่วงราชดำริ-พญาไท), ถนนวิทยุ (ช่วงพระรามที่ 4-เพลินจิต) และถนนวิทยุ (ช่วงเพลินจิต-คลองแสนแสบ) ราคาอยู่ใหม่ที่ 1 ล้านบาทต่อ ตร.ว. เช่นกัน 

 

รองลงมาคือถนนราชดำริ (ช่วงเพลินจิต-คลองแสนแสบ) ราคา 900,000 บาทต่อ ตร.ว., ถนนสาทร (ช่วงพระรามที่ 4- ถนนสุรศักดิ์, ถนน เจริญราษฎร์) ราคา 800,000 บาทต่อ ตร.ว., ถนนสุขุมวิท (ช่วงทางพิเศษเฉลิมมหานคร-แยกอโศกมนตรี) ราคา 750,000 บาทต่อ ตร.ว. และถนนเยาวราช ราคา 700,000 บาทต่อ ตร.ว.

 

“ทำเลที่มีราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดคือถนนวิทยุ (ช่วงพระรามที่ 4-เพลินจิต) จาก 500,000 บาทต่อ ตร.ว. เพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านบาทต่อ ตร.ว. หรือ 100% เนื่องจากเป็นถนนย่านเศรษฐกิจที่กำลังกลับมาบูม ขณะที่ราคาที่ดินเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงสุดใน กทม. คือ เขตห้วยขวางเพิ่มขึ้น 21.46% เนื่องจากมีรถไฟฟ้าสายสีส้มเพิ่มเข้ามาในพื้นที่”

 

นายจำเริญกล่าวต่อว่า ในปีงบประมาณ 66 กรมตั้งเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ไว้ที่ 8,900 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 65 ที่จัดเก็บได้ 8,300 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้น ทำให้การจัดเก็บรายได้จากพื้นที่เช่าเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงโควิดกรมได้ปรับลดค่าเช่าให้ แต่เมื่อโควิดคลี่คลาย ผู้เช่าเริ่มมีรายได้กลับคืนมา เช่น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ก็ต้องกลับมาจ่ายค่าเช่าในอัตราเดิม นอกจากนี้ยังจะเปิดให้เช่าที่ดินราชพัสดุเชิงพาณิชย์แห่งใหม่อีกหลายแห่งอีกด้วย

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า