Newsที่มา จุดยืน และนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2566 :

ที่มา จุดยืน และนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2566 :

พรรคประชาธิปัตย์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2489 เป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ มีอายุยืนยาวที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้จดทะเบียนตามกฎหมายและยังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน 

โดยนับตั้งแต่วันก่อตั้งพรรคจนถึงปัจจุบันมีหัวหน้าพรรคมาแล้วรวม 7 คน ซึ่งในจำนวนนี้ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย 4 คน คือ พันตรีควง อภัยวงศ์ ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคคนแรก ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 4 สมัย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 4 สมัย นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 1 สมัย และในปัจจุบัน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค

ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้มีจุดยืนแบบเสรีนิยมประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ถือเป็น “เสรีนิยมรูปแบบดั้งเดิม” (classical liberalism) หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นพรรค “เสรีนิยมแบบอนุรักษ์” (conservative-liberal หรือ right-liberal) คือยอมรับการเปิดกว้างทางสังคมและเศรษฐกิจ แต่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงในเชิงปฏิวัติ (revolutionary) หรือรุนแรง (radical) 

ถึงอย่างนั้นการขับเคลื่อนทางการเมืองของพรรคก็ปรับตัวไปตามสถานการณ์ทางสังคมการเมืองที่เฉพาะตัว เห็นได้จากการนำพรรคที่แตกต่างกันระหว่างอดีตหัวหน้าพรรค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งไม่ต้องการขัดจุดยืนเรื่องเสรีนิยมประชาธิปไตยในการเข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ และจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรคคนปัจจุบัน ที่ได้เคยนำพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมกับรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา

และเป็นพรรคที่มีอุดมการณ์แบบ “กลาง-ขวา” (center-right) ที่รักษาความเป็นเสรีนิยมประชาธิปไตย แต่ก็ยืนหยัดที่จะไม่ขับเคลื่อนทางการเมืองแบบสุดโต่งจนเกินไป ส่วนด้านเศรษฐกิจ เป็นพรรคที่เน้นความสมดุลระหว่างการผลักดันนโยบายสวัสดิการรัฐ และการช่วยเหลืออุตสาหกรรมสำคัญ เช่น เกษตร กับการยึดถือวินัยทางการเงินของรัฐ เพื่อรักษาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมให้เป็นไปตามกลไกตลาด

ส่วนนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการรักษาอุดมคติเดิม ที่มุ่งเน้นการสร้างเศรษฐกิจและสังคมไปพร้อม ๆ กัน แต่ในส่วนของนโยบายที่ยกชูนั้น พรรคให้น้ำหนักไปทางด้านสวัสดิการสังคมเสียมากกว่า โดยเฉพาะด้านเกษตรและการประมง ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่า ทีมยุทธศาสตร์ของพรรค ได้มองเกษตรกรเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักก็เป็นไปได้

สำหรับนโยบายการประกันรายได้ ถือได้ว่าเป็นนโยบายหลักที่พรรคประชาธิปัตย์ทำต่อเนื่องกันมาหลายปีและได้ผล เพราะแม้แต่นโยบายจำนำข้าวของพรรคเพื่อไทยเอง ก็ถือได้ว่ามีต้นแบบมาจากนโยบายประกันรายได้ของพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดียวกัน แต่มีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป

นอกจากนี้ นโยบายการประกันราคานั้น พุ่งเป้าไปที่สินค้าพื้นฐานของไทย ที่หากทำให้สินค้าเหล่านี้มีราคาที่แพงขึ้น ก็จะส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคของไทยหลายรายการแพงขึ้นตามด้วยได้เช่นกันจากราคาต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น และเชื่อว่านโยบายนี้ ไม่ว่าพรรคไหนขึ้นมาเป็นรัฐบาล ก็จะนำนโยบายลักษณะนี้ไปใช้งาน เพื่อรักษาโครงสร้างราคาค่าครองชีพในสังคมอย่างต่อเนื่อง

อ้างอิง :

[1] ประวัติพรรคประชาธิปัตย์

https://www.democrat.or.th/about/history/

[2] อุดมการณ์

https://www.democrat.or.th/about/ideology/

[3] ประชาธิปัตย์ เปิดนโยบายเลือกตั้ง 2566 แจกเงินประกัน 4.8 ล้านครัวเรือน

https://www.prachachat.net/politics/news-1174799

[4] พรรคประชาธิปัตย์ เปิดอีก 8 นโยบาย แจกผู้สูงวัย-ช่วยเอสเอ็มอี-เกษตรแปลงใหญ่-อัดฉีด อกม.

https://www.thairath.co.th/news/politic/2651326

[5] เลือกตั้ง 2566 “ประชาธิปัตย์” เปิด 16 นโยบาย ดันอากาศสะอาด กรุงเทพฯ ชั้นใน

https://www.pptvhd36.com/news/การเมือง/193094



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า