Newsสหประชาชาติยอมรับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ‘ศ.ไชยันต์’ ชี้แจงถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ ของเศรษฐกิจพอเพียง ในวงวิชาการนานาชาติ

สหประชาชาติยอมรับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ‘ศ.ไชยันต์’ ชี้แจงถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ ของเศรษฐกิจพอเพียง ในวงวิชาการนานาชาติ

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟสบุ๊ก ระบุว่า “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ได้รับการเล็งเห็นถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ในวงวิชาการนานาชาติ 

 

โดยยกบทความวิจัยเรื่อง The sufficiency economy philosophy and strategic HRD: a sustainable development for Thailand (ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย)” ของ รศ.ดร. อรนุช พฤติพิบูลธรรม อาจารย์คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิดา)

(HRD ย่อมาจาก Human Resource Development  หรือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์)

ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นานาชาติ (Human Resource Development International) ฉบับเดือน ก.พ. 2553 หน้าที่ 99 110 โดย ศ.ดร. ไชยันต์ได้สรุปเนื้อหาย่อดังนี้

“บทความนี้ศึกษาทฤษฎีที่เรียกว่าเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีต้นแบบมาจากการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้า และความเชื่อมโยงของทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ

 

เพื่อสร้างความเจริญในสังคมอย่างยั่งยืนในโลกที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงอันผันผวนและรวดเร็ว ความเข้าใจในเศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและลดผลกระทบทางลบที่เกิดกับองค์กรหรือชุมชนในมิติต่างๆ 

 

อย่างที่อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ Mr. Kofi Annan (นายโคฟี อันนัน ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2540 – 31 ธันวาคม 2549) กล่าวยกย่องทฤษฎีนี้ว่าเป็นที่ทฤษฎีที่สามารถช่วยให้มนุษย์มองเห็นความเชื่อมโยงของความเปลี่ยนแปลงจากกระแสโลกาภิวัตน์ ไม่แค่ในประเทศไทย แต่ในหลายๆ ที่ในโลก 

 

ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเน้นความสมดุลจากการเดินทางสายกลาง (Middle-way Approach) ซึ่งเป็นสิ่งที่จะช่วยให้องค์การสหประชาชาตินำพาการพัฒนาที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (People centered) บนเส้นทางที่ยั่งยืน (Sustainable path) 


งานวิจัยนี้ยังชี้ให้เห็นภาพของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 1997 และบทบาทอันสำคัญยิ่งของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการศึกษาและน้อมนำทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรหรือชุมชนที่ตนปฏิบัติงานหรืออยู่อาศัย

บทความเน้นย้ำบทบาทที่สำคัญสามด้านของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือ

ด้านการพัฒนาสมรรถะหลัก

การพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงระบบ 


การสร้างวิสัยทัศน์ในการพัฒนาที่ยั่งยืน 



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า