Newsย้อนรอยบทเรียนราคาแพงในหน้าประวัติศาสตร์อวกาศยาน ความผิดพลาดอันเนื่องมาจาก ‘อักษรเพียงตัวเดียว’ ทำให้จรวดมูลค่า 4,500 ล้านบาท ระเบิดสูญหายใน 5 นาที

ย้อนรอยบทเรียนราคาแพงในหน้าประวัติศาสตร์อวกาศยาน ความผิดพลาดอันเนื่องมาจาก ‘อักษรเพียงตัวเดียว’ ทำให้จรวดมูลค่า 4,500 ล้านบาท ระเบิดสูญหายใน 5 นาที

สืบเนื่องจากการยกเลิกการส่งดาวเทียม THEOS-2 ก่อนนับถอยหลังเพียง 14 วินาที ในช่วงเช้าวันที่ 7 ต.ค. 66 นั้นนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เปิดเผยว่า มีการตรวจพบค่ากระแสไฟฟ้าเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (threshold) ที่อุปกรณ์ Safety Management Unit ของจรวดนำส่ง 

 

ระบบจึงตัดการทำงานทั้งหมดโดยอัตโนมัติ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบอย่างละเอียดจาก Arianespace ซึ่งคาดว่าจะทราบผลในช่วงเช้าวันที่ 8 ตุลาคม (ตามเวลาท้องถิ่น) หรือ คืนนี้ตามเวลาในประเทศไทย ส่วนกำหนดการส่งใหม่อีกครั้งจะเป็นวันและเวลาใด ทาง GISTDA จะแจ้งให้ทราบต่อไป [1]

 

ทั้งนี้ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) ชี้แจงรายละเอียดว่า การระงับในระยะเวลากระชั้นชิดลักษณะนี้ เรียกว่า ‘Scrub’ ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดขององค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ Federal Aviation Administration (FAA) 

 

จากข้อมูลที่ได้รับ ณ ปัจจุบัน จะสามารถคาดการณ์ได้ว่าสาเหตุของการเลื่อนนำส่งในเช้าวันนี้ เกิดจากความไม่สมบูรณ์ทางเทคนิค โดยกำหนดการปล่อยยานอีกครั้งจะขึ้นอยู่กับระดับความไม่สมบูรณ์ที่ตรวจพบ ส่วนใหญ่มักกำหนดหลังจากทำการซ่อมแซมและทดสอบการทำงานของอุปกรณ์นั้น ๆ ก่อน 

 

ถึงแม้การนำส่งจะต้องล่าช้าออกไป แต่ความปลอดภัยต้องมาก่อน เพราะทุกก้าวของวงการเทคโนโลยีอวกาศต้องระมัดระวังอยู่เสมอ [2]



การยิงจรวดขึ้นสู่ห้วงอวกาศนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย อาจนำมาซึ่งความศูนย์เสียอย่างมหาศาลได้ซึ่งในประวัติศาสตร์อวกาศยาน เคยมีเหตุการณ์ระเบิดกลางอากาศของจรวด มารีนเนอร์ 1 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 มาแล้ว [3][4][5][7]

 

โดยสาเหตุของความผิดพลาด เกิดขึ้นจากการลืมใส่เครื่องหมายไฮเฟน (-) ลงในชุดคำสั่งเพียงแค่ตัวเดียว จนทำให้เหตุการณ์นี้ได้รับการขนานนามว่า “เครื่องหมายไฮเฟนที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์” เนื่องจากจรวดมูลค่า 18.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [3] (มีการประเมินมูลค่า ณ  พ.ศ. 2560 ว่าสูงถึง 150 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 4,500 ล้านบาท) [5] ระเบิดกลางอากาศหลังปล่อยออกจากแท่นยิงเพียง 4.9 นาที [5]

 

ความผิดพลาดดังกล่าว ทำให้จรวดเสียความสามารถในบังคับควบคุม และเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่หอบังคับการบินตัดสินใจระเบิดทำลายจรวดกลางอากาศ ก่อนที่จรวดจะแยกตัวออกจากกัน [5] ซึ่งนั่นจะทำให้ไม่สามารถควบคุมจรวดได้อีกต่อไป และอาจร่วงตกลงสู่บ้านเรือนประชาชน สร้างความเสียหายมากไปกว่าเดิม

 

และความผิดพลาดในครั้งนี้เอง กลายมาเป็นบทเรียนให้แก่นักวิทยาศาตสร์และวิศวกรจรวดพัฒนามาตรฐานการตรวจสอบให้มีความเข้มงวดมากขึ้นไปกว่าเดิม

 

นับตั้งแต่ที่มนุษย์เริ่มพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ มนุษยชาติได้ผ่านการสูญเสียมาแล้วหลายครั้ง มีนักบินอวกาศที่ต้องสังเวยชีวิตอันเนื่องมาจากความผิดพลาดมาแล้วหลายท่าน แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยนักบินอวกาศคนล่าสุดที่เสียชีวิตคือนายไมเคิล ออสเบอร์รี เสียชีวิตระหว่างการบินทดสอบยาน VSS เอ็นเทอร์ไพรซ์ ของบริษัทเวอร์จิน กาแลกติก เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2557 [6] หรือเมื่อ 9 ปีที่ผ่านมานี้เอง 

 

ความผิดพลาดในการยิงจรวดส่งดาวเทียม THEOS-2  ของไทยเรานั้น ต้องบอกว่าเป็นความโชคดีที่สามารถค้นพบความผิดพลาดได้ก่อนที่จะเกิดความเสียหาย และยังมีความเป็นไปได้ที่จะถูกแก้ไขเพื่อส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศได้อีกครั้ง ขอให้พวกเราคนไทยทุกคนอดใจรอคอยกันต่อไป

 

ศิราวุธ ภุมมะกสิกร

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า