รัสเซียเตรียมผนวกดินแดน หลัง 4 แคว้นยูเครนลงประชามติแยกตัว ด้านสหรัฐและอียูชี้เป็นประชามติที่ไม่ชอบธรรม และเตรียมใช้มาตรการคว่ำบาตรใหม่กับรัสเซีย
รัสเซียประกาศผนวก 4 ดินแดนของยูเครน ได้แก่ โดเนตสค์ ลูฮานสค์ ซาปอริซเซียและเคอร์สัน ภายในไม่กี่วัน หลังการลงประชามติจาก 4 จังหวัดในยูเครน แสดงผลสนับสนุนการผนวกดินแดนอย่างท่วมท้น แม้ว่ายูเครนและชาติตะวันตกจะประณามว่า เป็นการลงประชามติที่หลอกลวงและผิดกฎหมาย เนื่องจากประชาชนถูกบังคับให้ลงประชามติสนับสนุนอย่างไม่มีทางเลือก เนื่องจากถูกเจ้าหน้าที่รัสเซียใช้ปืนจี้บังคับ
ประธานสภาสูงของรัฐสภารัสเซียเผยว่า ทางวุฒิสภาอาจจะพิจารณาเรื่องผนวกแคว้นทั้ง 4 ในวันที่ 4 ต.ค. หรือ 3 วันก่อนวันเกิดปีที่ 70 ของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน
ในการผนวกดินแดน จะต้องมีการทำสนธิสัญญา และให้สัตยาบันโดยรัฐสภารัสเซียซึ่งควบคุมโดยพันธมิตรของปูติน จากนั้นทั้ง 4 แคว้นจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ซึ่งจะทำให้มีสถานะเป็นรัฐติดอาวุธนิวเคลียร์ และมีความชอบธรรมที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคาม ซึ่งปูตินได้เตือนว่าเขาจะไม่ลังเลในการใช้อาวุธนิวเคลียร์ปกป้องดินแดนและอธิปไตยของรัสเซีย
ด้านประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครนพยายามระดมการสนับสนุนจากนานาชาติเพื่อต่อต้านการผนวกดินแดน ด้วยการการหารือกับผู้นำชาติต่างๆ หลายต่อหลายครั้ง
ซึ่งสหรัฐฯ ได้เสนอแพ็คเกจช่วยเหลือด้านอาวุธมูลค่า 1.1 พันล้านดอลลาร์ (ราว 4.2 หมื่นล้านบาท) ได้แก่ ระบบยิงจรวดหลายลำกล้องแบบ HIMARS (High Mobility Artillery Rocket Systems) 18 เครื่อง อาวุธยุทโธปกรณ์ต่อต้านโดรนแบบต่างๆ และระบบเรดาร์ ทำให้ตัวเลขความช่วยเหลือด้านความมั่นคงต่อยูเครนจนถึงปัจจุบันอยู่ที่ 1.62 หมื่นล้านดอลลาร์ (ราว 61.6 แสนล้านบาท)
สหรัฐฯ ยังระบุด้วยว่า จะกำหนดมาตรการคว่ำบาตรครั้งใหม่ต่อรัสเซียด้วย นอกจากนี้ สหภาพยุโรปได้เสนอมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียเพิ่มเติมเช่นกัน อย่างไรก็ตาม จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกทั้ง 27 ชาติก่อน
(1 ดอลลาร์ = 38.02 บาท)
สหรัฐฯ หารือเพื่อโจมตี โรงกลั่นน้ำมันของอิหร่าน เพื่อเป็นการตอบโต้ที่อิหร่านเปิดฉากโจมตีอิสราเอล
เคาะแล้ว! Digital Wallet เฟส 1 ใช้วงเงิน 122,000 ล้านบาท และอาจพิจารณาให้ กลุ่มเปราะบาง 14.98 ล้านคนได้ใช้ก่อน
เปิดรายงาน UN SDGs 2023 ไทยยังคงยืน 1 ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของอาเซียน ประสบความสำเร็จด้านการแก้ปัญหาความยากจน มีแหล่งน้ำที่สะอาด และด้านพลังงานสะอาดเข้าถึงได้
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม