News“การจะให้ไปยกมือให้พรรคการเมืองเสียงข้างมากฝ่ายเดียว อันนั้นไม่ใช่ระบบรัฐสภา ตามระบอบประชาธิปไตย ถึงจะพูดเพื่อให้สวยงามว่านี่คือการเคารพเสียงของประชาชน แล้วเสียงของประชาชนที่เลือกพรรคที่เลือกเสียงข้างน้อยมา เค้าเลือกเพราะไม่เห็นด้วยกับพรรคที่ได้เสียงข้างมาก หากไปเลือกพรรคที่ได้เสียงข้างมาก ประชาชนคงผิดหวัง” -ราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ,11 ก.ค. 66

“การจะให้ไปยกมือให้พรรคการเมืองเสียงข้างมากฝ่ายเดียว อันนั้นไม่ใช่ระบบรัฐสภา ตามระบอบประชาธิปไตย ถึงจะพูดเพื่อให้สวยงามว่านี่คือการเคารพเสียงของประชาชน แล้วเสียงของประชาชนที่เลือกพรรคที่เลือกเสียงข้างน้อยมา เค้าเลือกเพราะไม่เห็นด้วยกับพรรคที่ได้เสียงข้างมาก หากไปเลือกพรรคที่ได้เสียงข้างมาก ประชาชนคงผิดหวัง” -ราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ,11 ก.ค. 66

เมื่อวานนี้ (11 ก.ค. 66) นายราเมศ รัตนะเชวง โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวที่พรรค  ชี้แจงว่าวันที่ 12 นี้เวลา 15:00 น จะมีการประชุมกก.บห.ชุดรักษาการ เพื่อกำหนดวันเวลา สถานที่จัดประชุมใหญ่วิสามัญฯอีกครั้ง และจะต้องมีการกำหนดองค์ประชุมใหม่ทั้งหมดด้วย อีกทั้งจะมีการประชุม ส.ส. พรรคในวันเดียวกัน เวลา 11:30 น. เพื่อกำหนดทิศทางในการเลือกนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 13 ก.ค. 

 

สำหรับประเด็นการปล่อยฟรีโหวต นายเรเมศ กล่าวว่าขอให้เป็นมติของพรรคที่จะพิจารณากัน แต่หลักการของพรรค ในเรื่องที่สำคัญแบบนี้ ต้องเป็นไปตามมติพรรค และทุกคนก็ต้องดำเนินการตาม การเลือกนายกรัฐมนตรีเป็นเรื่องสำคัญ ยืนยันว่าไม่ฟรีโหวตเพราะเราเป็นสถาบันทางการเมือง

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกระแสสังคมที่กดดันให้ประชาธิปัตย์ฟรีโหวตนั้น นายราเมศตอบว่า “ผมว่าในระบบรัฐสภาที่ใช้เสียงข้างมาก ในระบบประชาธิปไตย จริง ๆ แล้วเนี่ย พรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากมาจะใช้วิธีการกดดันอะไรก็แล้วแต่ โดยที่บอกว่าตนเองเองได้เสียงข้างมากมา แล้วให้พรรคการเมืองอื่น ๆ ทุกพรรคมาสนับสนุนตนเป็นนายกรัฐมนตรีเนี่ย”

 

จากนั้นกล่าวต่อว่า  นโยบายของแต่ละพรรคแตกต่างกัน และพรรคการเมืองก็มีสิทธิของพรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างน้อย มีสิทธิในการวิเคราะห์พิจารณาว่าเค้าจะเลือกใครเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะถ้าเลือกแล้ว มันคือความรับผิดชอบของผู้ที่ยกมือให้ด้วย

 

“แล้วรัฐสภาก็ต้องมีฝ่ายค้าน ต้องมีฝ่ายรัฐบาล เพราะฉะนั้นแล้วผมเชื่อนะครับว่าที่พรรคก้าวไกล เค้าพยายามที่จะใช้กระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้กดดันพรรคการเมืองต่าง ๆ พรรคการเมืองต่าง ๆ เค้ามีสิทธิที่จะตัดสินใจครับ สมาชิกรัฐสภามีเอกสิทธิ์ ที่ได้รับสิทธิมาจากพี่น้องประชาชนที่เป็นตัวแทน ก็ต้องมีอำนาจในการตัดสินใจ ว่าเค้าจะยกมือให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรี

 

การยกมือให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรี อาจจะไปผูกโยงกับการร่วมหรือไม่ร่วมรัฐบาล ทุกอย่างก็ต้องเชื่อมโยงกัน สอดคล้องกันทั้งหมดครับ ไม่ใช่ว่าจะให้ไปยกมือให้เสียงข้างมากฝ่ายเดียว ผมว่าอันนั้นมันก็ไม่ใช่ระบบรัฐสภา ตามระบบประชาธิปไตยนะครับ 

 

ถ้าเกิดพูดเพื่อให้สวยงามว่าอันนี้คือเคารพเสียงของประชาชน แล้วเสียงของประชาชนที่เลือกพรรคที่เลือกเสียงข้างน้อยมา เค้าก็คาดหวังเหมือนกันว่า ที่เลือกมาเพราะเค้าไม่เห็นด้วยกับพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงข้างมากมา”

 

ประชาชนที่เลือก ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์มา 25 ท่าน เค้าก็มีหลักคิดของเค้าว่าที่เค้าเลือกประชาธิปัตย์เพราะเค้าต้องการนโยบายของประชาธิปัตย์ และเค้าไม่เห็นด้วยกับอีกพรรคการเมืองนึง วันหนึ่งถ้าเกิดไปเลือกนายกรัฐมนตรีแล้ว คนที่ได้รับการเลือกตั้ง ได้สิทธิจากประชาชนกลับจะบอกว่าเลือกพรรคที่ได้เสียงข้างมาก ผมว่านั่นคือความผิดหวังของประชาชนที่เลือกประชาธิปัตย์เช่นกัน”

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า