Newsขัดแย้งกับ ธปท. โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี เผยเอกสารลับของกระทรวงการคลัง ประเมินอัตราการเติบโต GDP ต่ำกว่า ธปท. เท่าตัว

ขัดแย้งกับ ธปท. โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี เผยเอกสารลับของกระทรวงการคลัง ประเมินอัตราการเติบโต GDP ต่ำกว่า ธปท. เท่าตัว

เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2567 นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เผยแพร่เอกสารลับของกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2566 และปี 2567 ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ซึ่งจะแถลงวันที่ 24 ม.ค. 67 ออกมาเผยแพร่ก่อน

 

ซึ่งเอกสารลับฉบับดังกล่าวมีเนื้อหาระบุว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไทยในปี 2566 เติบโตเพียง 1.8% ซึ่งมีความขัดแย้งกับที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดการณ์เอาไว้เมื่อต้นปี 2566 ว่าจะเติบโตถึง 3.6% 

 

อีกทั้งยังระบุว่า กระทรวงการคลังคาดว่าเศรษฐกิจไทย พ.ศ. 2567 จะขยายตัวเร่งขึ้นที่ 2.8% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 2.3% ถึง 3.3%) ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นจากปี 2566 และเป็นการขยายตัวที่มาจากทุกเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการส่งออกสินค้าและบริการที่ขยายตัวสูง

 

สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพในระยะยาวนั้น ควรให้ความสำคัญใน 3 ประเด็น ดังนี้

 

1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การพัฒนาการใช้พลังงานที่ยั่งยืน การลงทุนในด้านดิจิทัล และการพัฒนาด้านคมนาคมเชื่อมโยงภูมิภาคต่าง ๆ จะช่วยสร้างโอกาสใหม่ ๆ และทำให้ประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางในระดับภูมิภาคได้

 

2) การพัฒนาทักษะ การเตรียมแรงงานให้มีทักษะที่จำเป็นสำหรับเศษฐกิจโลกมีความสำคัญและจะส่งเสริมความสำเร็จในระยะยาวได้ดี

 

3) กรรักษาเสถียรภาพทางการคลัง มุ่งมั่นในการบริหารจัดการการคลังอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงการใช้จ่ายของรัฐและระดับหนี้สาธารณะ เพื่อรักษาความยั่งยืนทางการเงินในระยะยาว ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถผชิญกับความเสี่ยงและความท้าทายต่าง ๆ ในอนาคตได้

 

นอกจากนั้น ยังควรติดตามปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด อาทิ

 

1) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลกในภูมิภาคต่าง ๆ ที่อาจรุนแรงมากขึ้น อาจเป็นข้อจำกัดและส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไป 

 

2) สถานการณ์การเลือกตั้งผู้นำของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศรัสเซีย และประเทศ อินเดีย เป็นต้น ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศของไทย

 

3) ความผันผวนของตลาดการเงินโลกจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้าหลักและปัญหาสถาบันการเงินในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป

 

4) สถานการณ์เศรษฐกิจของจีน ที่อาจส่งผลต่อการส่งออกและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวของไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า