Newsขอสิทธิพิเศษทางภาษี ‘ภูมิธรรม’ หารือ ‘ทูตสหรัฐ’ เร่งรัดการพิจารณา สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร

ขอสิทธิพิเศษทางภาษี ‘ภูมิธรรม’ หารือ ‘ทูตสหรัฐ’ เร่งรัดการพิจารณา สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร

เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2567 นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยหลังการหารือกับนายโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2567 ณ กระทรวงพาณิชย์ ว่าเป็นครั้งแรกที่ทั้งสองฝ่ายได้พบหารือกันหลังจากที่ได้เข้ารับตำแหน่ง 

 

โดยเน้นย้ำว่าไทยและสหรัฐฯ เป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันมายาวนานกว่า 190 ปี ซึ่งกระทรวงพาณิชย์พร้อมให้ความร่วมมือกับสถานทูตสหรัฐฯ ในการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างกัน

 

นายภูมิธรรม กล่าวว่า การหารือครั้งนี้ ได้กล่าวถึงนโยบายด้านเศรษฐกิจการค้าที่สำคัญของไทย อาทิ การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ การสร้างดุลยภาพของทุกภาคส่วน ทั้งเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้บริโภค ให้สามารถได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย การกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการร่วมขับเคลื่อนนโยบาย Digital Wallet การส่งเสริม MSMEs การมุ่งแก้ไข/ปรับปรุงข้อจำกัดทางกฎหมายที่เป็นอุปสรรคทางการค้า การผลักดันการส่งออก ตลอดจนการใช้ประโยชน์จาก FTA

 

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญกับการพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน โดยไทยพร้อมเป็นพันธมิตรด้านเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยเฉพาะการเป็นฐานการผลิตในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมสมัยใหม่ของสหรัฐฯ เช่น ดิจิทัล AI อิเล็กทรอนิกส์ เซมิคอนดักเตอร์ รถยนต์ไฟฟ้า พลังงานสะอาด การบิน ยาและเวชภัณฑ์ เป็นต้น ด้านสหรัฐฯ พร้อมสนับสนุนภาคเอกชนของสหรัฐฯ ให้เข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นด้วย

 

นายภูมิธรรม เสริมว่า ไทยได้แสดงความยินดีต่อการเจรจาความตกลง IPEF (Indo-Pacific Economic Framework: กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก) ซึ่งในปี 2566 ที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าที่ดี และพร้อมร่วมมือกับสหรัฐฯ และประเทศหุ้นส่วนในการเจรจาเพื่อหาข้อสรุปความตกลง IPEF ร่วมกันในเสาที่ 1 เรื่องการค้า (Pillar 1 Trade) ต่อไป 

 

นอกจากนี้ ไทยยังได้ขอให้สหรัฐฯ พิจารณาเร่งรัดการต่ออายุการให้สิทธิ GSP (Generalized System of Preference: ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป) ที่ได้หมดอายุไปเมื่อปลายปี 2563 ให้เสร็จโดยเร็ว เนื่องจากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศ 

 

อีกทั้งขอให้สหรัฐฯ เห็นถึงความมุ่งมั่นของไทยในการพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาในด้านต่าง ๆ รวมถึงการตอบสนองต่อทุกข้อกังวลของผู้มีส่วนได้เสีย และขอให้ยืนยันผลการทำงานที่ผ่านมา รวมทั้งสนับสนุนให้ไทยหลุดจากบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List: WL) และจากทุกบัญชีให้ได้ต่อไป

 

ในปี 2565 สหรัฐฯ เป็นคู่ค้าอันดับที่ 2 ของไทย รองจากจีน โดยมีมูลค่าการค้ารวม 65,277.91 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย การส่งออกไปสหรัฐฯ มีมูลค่า 47,534.72 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ อัญมณีและเครื่องประดับเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 

 

ขณะที่สหรัฐฯ เป็นแหล่งนำเข้าลำดับ 3 ของไทย การนำเข้าจากสหรัฐฯ มีมูลค่า 17,743.19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องบิน เครื่องร่อน อุปกรณ์การบินและส่วนประกอบ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า