ก่อนเสนอควรศึกษาก่อน! รศ.ดร.นงนุช ผอ.ทีมยุทธศาสตร์ กรุงไทย โต้นโยบาย “ชาติพัฒนากล้า” ชี้เครดิตบูโร เขาทำเครดิตสกอริ่งกันมาหลายปีแล้ว
เมื่อวันที่ 18 ม.ค.2566 รศ.ดร.นงนุช ตันติสันติวงศ์ นักวิชาการด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลังและภาษี มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม เทรนต์ ประเทศอังกฤษ และ Visiting Academic, School of Electronics & Computer Science, University of Southampton ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ทีมยุทธศาสตร์องค์กร ธนาคารกรุงไทย
ได้ออกมาโต้ตอบนโยบาย “ยกเลิกแบล็คลิสต์ ใช้เครดิตสกอริ่ง” ของพรรคชาติพัฒนากล้า ที่นำแคมเปญโดยนายกรณ์ จาติกวณิช และนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี
โดยระบุว่า Credit Score (แต้มเครดิต) มีมานานหลายปีแล้ว การออกนโยบายแบบนี้เป็นอะไรที่ล้าหลังและเขาทำกันไปหมดแล้ว
และเครดิตบูโรก็ไม่มีแบล็คลิสต์ตามที่นักการเมืองกลุ่มดังกล่าวอ้างด้วย เพราะหากมีแบล็คลิสต์เพียงเพราะผิดนัดชำระหนี้ครั้งเดียว สถาบันการเงินทั้งหลายคงไม่เหลือคนให้ปล่อยกู้ได้แล้ว
และหากจะทำตามข้อเสนอที่ไม่ให้สถาบันการเงินส่งข้อมูลพฤติกรรมการชำระหนี้ของลูกค้ามายังเครดิตบูโร แล้วสถาบันการเงินทั้งหลายจะรู้ยอดหนี้คงค้างรวมทั้งหมดของคนขอกู้ภายในระบบการเงินไทยได้อย่างไง
ชี้ก่อนที่นักการเมืองจะเสนออะไร ควรศึกษาข้อมูลเชิงลึก หรือมีประสบการณ์ให้รู้จริงในเรื่องปัจจุบันเสียก่อน ไม่ใช่ทำในสิ่งที่เขาทำกันไปหมดแล้ว
—————–
โพสต์ของ รศ.ดร.นงนุช
—————–
บริษัทเครดิตบูโร มี Credit Score มานานหลายปีแล้วค่ะ นโยบายนี้ มัน too late มากๆ
ตอนแรกว่าจะโพสต์พรุ่งนี้ แต่อดใจไม่ได้ เพราะในคลิปมีการให้ข้อมูลผิดพลาดเต็มไปหมด
เข้าประเด็นเลยละกันค่ะ
- Credit score ไม่ใช่เรื่องใหม่ และบริษัทเครดิตบูโร เค้ามีมานานแล้ว
- สถาบันการเงินไม่ได้ส่งข้อมูลการชำระหนี้และการเป็นหนี้ของลูกค้าที่มีการค้างชำระหนี้เท่านั้นค่ะ มันไม่มีระบบแบล็คลิสต์
มันเป็นการส่งข้อมูล facts คุณจะจ่ายงวดตรงเวลาหรือจ่ายไม่ตรง สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกบริษัทเครดิตบูโรตามกฏหมาย มีหน้าที่ต้องส่งข้อมูลให้บริษัทเครดิตบูโรตามกฏหมายค่ะ และการรายงานข้อมูล fact แบบนี้ ทำกันทั่วโลกค่ะ
- การเสนอว่า จะไม่ให้สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัทเครดิตบูโรตามกฏหมาย ได้รับข้อมูลพฤติกรรมการชำระหนี้ของลูกค้าเลย โดยจะให้สถาบันการเงินได้ไปแต่คะแนนที่คำนวณมาจากการคำนวณปนๆ หลายสิ่งอย่างเท่านั้น …
แล้วสถาบันการเงินทั้งหลายจะรู้ยอดหนี้คงค้างรวมทั้งหมดของคนขอกู้ภายในระบบการเงินไทยได้ยังไง จะเตรียมตัวรับมือได้ยังไงเมื่อลูกหนี้เริ่มไปค้างชำระที่สถาบันการเงินอื่น และตัวเองอาจจะกลายเป็นรายต่อไปที่ไม่ได้เงิน
ถ้าแก้กฏหมายเป็นแบบที่เสนอตามนโยบายนี้จริง สิ่งที่จะเกิดตามมา คือ คนจะไปขอกู้หลายสถาบันซ้อนๆ กันเยอะขึ้น เพราะแต่ละสถาบันไม่รู้ภาระหนี้ที่มีอยู่ของลูกค้ารายนี้ สถาบันการเงินก็จะไม่กล้าปล่อยเพราะไม่รู้ว่าคนที่มาขอกู้ไปค้างหนี้ที่อื่นไว้เท่าไหร่
สิ่งที่เสนอปรับแก้กฏหมายมานั้น จะทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ที่เรียกว่า asymmetric information ค่ะ โดยหลักแล้ว asymmetric information จะก่อให้เกิด market failure หรือความล้มเหลวของตลาดค่ะ
- ทุกสถาบันการเงิน เค้ามี credit scoring model ของตัวเค้าเองมากันหลาย 10 ปีแล้วค่ะ
……………….
ก่อนเสนออะไรแบบนี้ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า credit scoring modelling มี 2 แบบค่ะ
- แบบที่ใช้ข้อมูลการชำระหนี้และการเป็นหนี้ในอดีตเพื่อบอกถึงพฤติกรรมเสี่ยง เพราะมีสมมติฐานว่าถ้าคนๆ นึงมีพฤติกรรมอย่างไรในอดีต ก็มีโอกาสมีพฤติกรรมแบบเดียวกันในอนาคต อันนี้คือแบบที่บริษัทเครดิตบูโรคำนวณอยู่ และสถาบันการเงินทั้งหลายก็สามารถซื้อข้อมูล credit score นี้ได้
score แบบนี้ของเครดิตบูโรไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลพฤติกรรมบนกิจกรรมชีวิตอื่นของคนหรือธุรกิจนั้น เช่น น้ำไฟ รายได้ อะไรอื่นมาประกอบ … เพราะเป็นการใช้ข้อมูลเครดิตของแต่ละคนที่มีสินเชื่อหรือบัตรเครดิตที่มีอยู่ทั้งหมดในระบบการเงินไทยในการคำนวณ เรียกว่ามี full credit information
- แบบที่ใช้ข้อมูลพฤติกรรมการชำระหนี้และยอดหนี้ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น รายได้ transaction อื่นๆ มาประกอบเพื่อทำนายโอกาสผิดนัดชำระหนี้จากความสามารถในการชำระหนี้ อันนี้เป็นการทำ credit scoring/rating ขององค์กรใดองค์กรหนึ่งที่ไม่ได้มีฐานข้อมูลระดับชาติ
… ที่ต้องใช้ข้อมูลปัจจัยอื่น ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำนาย ไม่ใช่เพื่อเป็นการปรับให้ credit score ดูบวก หรือดูดีขึ้น
นั่นเพราะว่าไม่ได้มีข้อมูลหนี้และการชำระหนี้ของคนๆ นั้นที่มีอยู่ในระบบการเงินไทยทั้งหมด มันยังมีอะไรที่ต้องทาย ต้องเดา ก็เอาปัจจัยอื่นมาช่วยทาย ช่วยเดา
และในปัจจุบัน credit score ของบริษัทเครดิตบูโร เค้าก็ไม่ได้ใช้แค่ข้อมูลหนี้และการชำระหนี้นะคะ เค้าใช้ข้อมูลประเภทอื่นด้วยเพื่อประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ … เพราะฉะนั้นที่เสนอปรับแก้มาในคลิป มันช้าไปแล้วค่ะ เค้าทำกันไปหมดแล้ว
และเรื่องแบล็คลิสต์เพียงเพราะผิดนัดชำระหนี้ครั้งเดียว มันไม่น่าจะเป็นเกณฑ์ที่เกี่ยวอะไรกับเครดิตบูโรค่ะ ไม่งั้นสถาบันการเงินทั้งหลายคงไม่เหลือคนให้ปล่อยกู้ได้แล้วค่ะ
โดยทั่วไป การจะปล่อยสินเชื่อให้คนที่เคยมีหนี้ค้างชำระหรือไม่ มันขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการความเสี่ยงและการกำหนดระดับความเสี่ยงที่รับได้ของเหล่าสถาบันการเงินทั่วโลก … เค้าเรียกว่า risk management ค่ะ ใครอื่นจะออกกฏบังคับให้ปล่อยหรือไม่ปล่อยสินเชื่อกลุ่มเสี่ยงได้คะ
ก่อนเสนอ ควรศึกษาข้อมูลเชิงลึก หรือมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน เพื่อให้รู้สิ่งที่เป็นไปในปัจจุบัน เพื่อจะได้นำเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคต ไม่ใช่เพื่ออดีตที่ผ่านมาแล้ว
ที่มา : Facebook : Dr. Nuch Tantisantiwong
#TheStructureNews
#ชาติพัฒนากล้า #กรณ์จาติกวณิช #อรรถวิชช์สุวรรณภักดี
จากอิหร่านสู่ ‘ยูเครน’ สหรัฐฯ เตรียมหาทางส่งอาวุธของอิหร่าน ที่ยึดได้ในเยเมน ให้กับรัฐบาลยูเครน
ลิซ่าขึ้นแท่น CEO ประกาศเปิดค่ายเพลงส่วนตัวชื่อ LLOUD พร้อมทลายขีดจำกัดโลกดนตรี
จ่อของบ 15,000 ล้าน เช่าซื้อแท๊ปเล็ตให้นักเรียน ‘ศธ.’ เผยอาจจะเพิ่มงบ หากต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพงขึ้น จ่อให้ Microsoft – Apple เข้าร่วมประมูล
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม