Newsงานวิจัยชี้ ‘นอนไม่เพียงพอ’ ส่งผลให้มนุษย์เห็นแก่ตัวมากขึ้น

งานวิจัยชี้ ‘นอนไม่เพียงพอ’ ส่งผลให้มนุษย์เห็นแก่ตัวมากขึ้น

งานวิจัยชิ้นใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร PLOS Biology ระบุว่า ระยะเวลาการนอนในตอนกลางคืนที่น้อยลงเพียง 1 ชม. มีผลทำให้คนเห็นแก่ตัวมากขึ้น และส่งผลต่อการตัดสินใจในการช่วยเหลือผู้อื่น

 

ทีมนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ได้ทำการศึกษาถึงความเชื่อมโยงระหว่างระยะเวลาการนอน กับระดับความเห็นแก่ตัว โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงในการทำงานของระบบประสาทกับแนวโน้มในการช่วยเหลือผู้อื่น โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ครั้ง พบว่าการสูญเสียเวลานอนเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลให้คนมีความเห็นแก่ตัวมากขึ้น

 

เบ็น ไซม่อน นักวิจัยด้านจิตวิทยาดุษฎีบัณฑิตจากศูนย์วิทยาศาสตร์การนอนหลับของมนุษย์ และหนึ่งในผู้นำการวิจัยในครั้งนี้ ระบุว่า “การสูญเสียเวลานอนเพียง 1 ชม. ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อความเมตตาโดยกำเนิดของมนุษย์ และความกระตือรือร้นในการช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ”     

 

โดยการศึกษาครั้งแรก ทีมนักวิจัยทำการเปรียบเทียบฐานข้อมูลการบริจาคเงินเพื่อการกุศล ระหว่างปี 2001-2016 พบว่า ยอดบริจาคลดลงราว 10% ในช่วงที่มีการปรับเวลาให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมง (Daylight Saving Time) ในขณะที่รัฐที่ไม่มีการปรับเวลาดังกล่าวไม่ปรากฏการลดลงของเงินบริจาค

 

ในการศึกษาครั้งที่สอง ทีมนักวิจัยใช้ภาพถ่าย MRI เพื่อเปรียบเทียบการทำงานของสมองในกลุ่มตัวอย่าง 24 คน โดยเปรียบเทียบการทำงานของสมองหลังจากที่นอนหลับไป 8 ชม. และหลังจากที่ไม่ได้นอนทั้งคืน

 

โดยพบว่า โครงข่ายประสาทสมอง (prosocial neural network)  ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีทางจิต (Theory of mind) มีการทำงานน้อยลงหลังจากที่อดนอน ทั้งนี้ ทฤษฏีทางจิต คือความสามารถในการพิจารณาความต้องการ สภาพ และอารมณ์ของผู้อื่น ซึ่งถูกพัฒนาในวัยเด็กผ่านการขัดเกลาทางสังคม

 

ในการศึกษาครั้งที่สาม ทีมนักวิจัยศึกษาผ่านแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างกว่า 100 คน พบว่า คุณภาพการนอนสำคัญกว่าปริมาณการนอน โดยอธิบายว่า เมื่อระยะเวลาการนอนหลับเพิ่มขึ้นถึงระดับหนึ่งแล้ว คุณภาพการนอนจะเป็นตัวขับเคลื่อนความปรารถนาของมนุษย์ในการช่วยเหลือผู้อื่น”

 

“การวิจัยที่ผ่านๆ มาแสดงให้เห็นแล้วว่า ‘การสูญเสียเวลานอน’ มีความเชื่อมโยงกับความผิดปกติทางสุขภาพจิต เช่น ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า รวมถึงความเจ็บป่วยทางกาย เช่น โรคเบาหวานและโรคอ้วน นอกจากนี้ การศึกษาในครั้งนี้ ยังชี้ว่า ‘การสูญเสียเวลานอน’ ส่งผลกระทบด้านลบต่อพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ ซึ่งไม่อาจโต้แย้งได้ว่า คือแก่นแท้ของการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ และความหมายของการมีชีวิตที่เติมเต็มและมีความหมายของมนุษย์” ทีมนักวิจัย กล่าวสรุป

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า