Newsเสรีนิยมใหม่ ยารักษาโรคเงินเฟ้อและเสริมพละกำลังสหรัฐอเมริกาในช่วงโค้งสุดท้ายของสงครามเย็น

เสรีนิยมใหม่ ยารักษาโรคเงินเฟ้อและเสริมพละกำลังสหรัฐอเมริกาในช่วงโค้งสุดท้ายของสงครามเย็น

แนวคิดเสรีนิยมใหม่ เป็นแนวคิดทางเศรษฐกิจที่มีมุมมองที่หลากหลาย บ้างก็ว่าเป็นแนวคิดมหัศจรรย์ที่มีคุณค่าในการขับเคลื่อนสังคมเศรษฐกิจให้เจริญไปตามความต้องการและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ บ้างก็ว่าเป็นการส่งเสริมความเหลื่อมล้ำทางสังคมผ่านการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้นไปและมองข้ามกลุ่มคนที่ไม่ได้มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจดังกล่าว

 

ซึ่งตัวแนวคิดเสรีนิยมใหม่ คือ การให้ความสำคัญกับภาคเอกชนให้มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม โดยรัฐจะมีบทบาทในทางเศรษฐกิจที่น้อยที่สุดและให้ความสำคัญในการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมผ่านระบบองค์กรภายในประเทศและองค์กรระหว่างประเทศที่มีจุดประสงค์ในการลดข้อจำกัดของการดำเนินกิจการทางเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ เช่น การลดภาษี เขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นต้น

          และแนวคิดนี้ก็เริ่มได้รับความนิยมในช่วงเวลาที่ทั่วโลกในช่วงยุค 1970 กำลังเผชิญกับวิกฤตเงินเฟ้อครั้งใหญ่ที่เกิดจากการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐจนขาดดุลรุนแรงในหลายประเทศและวิกฤตน้ำมันที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นมหาศาลและที่สำคัญคือซ้ำเติมอีกรอบหนึ่ง รอบแรกคือช่วงของการคว่ำบาตรน้ำมันโดยชาติตะวันออกกลาง และรอบหลังคือช่วงการปฏิวัติอิหร่านที่ทำให้ราคาพลังงานสูงขึ้นอีกระลอกหนึ่ง 

 

จึงทำให้เกิดความพยายามที่จะแก้ไขวิกฤตครั้งใหญ่ผ่านแนวคิดการลดภาษีที่เป็นการลดภาระของประชาชน การผ่อนปรนกฎระเบียบทางเศรษฐกิจที่ทำให้เอกชนสามารถดำเนินการได้สะดวกมากขึ้น และตัดการใช้จ่ายของรัฐให้น้อยที่สุดเพื่อลดภาระทางการเงินและให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายในกิจการของรัฐที่จำเป็น ซึ่งตัวลัทธิเสรีนิยมใหม่ก็ถูกไปใช้ในอังกฤษและสหรัฐอเมริกาอย่างเข้มข้นช่วงยุค 1980

 

ซึ่งผลกระทบที่ตามมาพร้อมกับการขึ้นดอกเบี้ยมหาศาลของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการแก้ไขวิกฤตเงินเฟ้อทั้งวิธีทางการเงินผ่านธนาคารกลางและวิธีทางการคลังผ่านภาครัฐในช่วงเวลานั้น คือ อัตราการว่างงานที่สูงขึ้นจากโครงการของรัฐที่มีน้อยลง สิทธิสวัสดิการที่ถูกตัดออกไปเพื่อลดภาระรัฐ บทบาทของรัฐที่น้อยลงไปมากจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นของเอกชน แต่ก็แลกกับภาระที่รัฐแบกรับน้อยลงเช่นกัน

 

และด้วยการส่งเสริมการแข่งขันทั้งลดภาษี รัฐแทรกแซงน้อยลง ผ่อนปรนกฎระเบียบทางเศรษฐกิจเช่นนี้จึงเป็นเหตุประการหนึ่งที่ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของสหรัฐอเมริกาสูงขึ้นเป็นอย่างมาก

 

โดยเฉพาะในการแข่งขันกับประเทศในกลุ่มคอมมิวนิสต์ที่เริ่มประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจอย่างรุนแรงจาการใช้งบประมาณสนับสนุนสวัสดิการสังคมมหาศาลรวมทั้งการขาดแรงจูงใจในการพัฒนาขีดความสามารถเมื่อเทียบกับชาติตะวันตกและชาติเศรษฐกิจเกิดใหม่ของทวีปเอเชียที่ได้รับแนวคิดเสรีนิยมใหม่เข้ามาใช้งาน

 

ซึ่งสุดท้ายแล้วเสรีนิยมใหม่ก็ทำให้สหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศทุนนิยมสามารถเอาชนะกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ได้สำเร็จในช่วงโค้งสุดท้ายของสงครามเย็นจากการปรับนโยบายทางเศรษฐกิจของตนแบบสุดขั้วและภาระทางการคลังของประเทศกลุ่มคอมมิวนิสต์ที่นำโดยสหภาพโซเวียตที่สะสมมาเรื่อย ๆ และส่งผลอย่างร้ายแรงเมื่อราคาพลังงานตกลงอย่างรุนแรงซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของสหภาพโซเวียต

 

ณ จุดนี้ จึงเป็นการพิสูจน์ครั้งใหญ่ของแนวคิดเสรีนิยมใหม่ที่ทำให้สหรัฐอเมริกาสามารถเอาชนะลัทธิคอมมิวนิสต์ ไม่ใช่ด้วยการเมืองหรือคุณค่าอุดมการณ์ใด ๆ แต่เป็นการเอาชนะด้วยพลังเศรษฐกิจที่มีเหลือล้นและภาระทางการคลังที่น้อยนิดเมื่อเทียบกับช่วงก่อนยุค 1980 ที่รัฐมีบทบาทในทางเศรษฐกิจสูง

 

ท่ามกลางของสังคมโลกมาถึงปัจจุบันถึงการมีบทบาทของแนวคิดเสรีนิยมใหม่ที่ได้สร้างความเหลื่อมล้ำในระดับรุนแรงและทอดทิ้งสังคมที่ตามการแข่งขันนี้ไม่ทัน ที่จัดว่าเป็นผลข้างเคียงของยารักษาโรคเงินเฟ้อและโรคขาดดุลทางเศรษฐกิจ เพราะเมื่อบทบาทของรัฐและการควบคุมจากรัฐมีอยู่น้อยจากลัทธิเสรีนิยมใหม่ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในระบบเศรษฐกิจที่มีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

 

หลายประเทศจึงทยอยลดความเข้มข้นของการใช้นโยบายเสรีนิยมใหม่และเข้าไปแทรกแซงในระบบเศรษฐกิจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสร้างหลักประกันขั้นต่ำทางสังคมหรือรัฐสวัสดิการหลังช่วงสงครามเย็นสิ้นสุดเป็นต้นมา

 

สุดท้ายนี้สังคมที่มองว่ารัฐควรมีบทบาทมากในการบริหารประเทศก็ย่อมมีราคาที่ต้องจ่ายในรูปแบบของภาษีที่สูงมหาศาลเหมือนกลุ่มประเทศตะวันตกช่วงกลางศตวรรษที่ 20 และกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ แต่เมื่อรัฐมีบทบาทน้อย ภาษีที่ต้องจ่ายก็จะน้อยลงมากเพื่อเป็นโอกาสในการเรียนรู้ พัฒนา และต่อยอดตนเอง เหมือนดังที่บรรดาชาติตะวันตกเคยประสบพบเจอมาก่อนหน้า

 

ดังนั้น ในบริบททางเศรษฐกิจโลกปัจจุบันที่แทบจะถอดแบบจากช่วงวิกฤตเงินเฟ้อครั้งใหญ่และวิกฤตราคาน้ำมันสูงในช่วงยุค 1970 อาจจะสรุปได้ว่า

 

“วิธีการแบบเสรีนิยมใหม่อาจได้กลับมามีบทบาทอีกครั้งหนึ่งในโลก”     

 

โดย ชย

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า