Newsเงื่อนไข “คนละครึ่ง” สำรวจพลังงานใต้ทะเล พื้นที่ทับซ้อน ไทย-กัมพูชา

เงื่อนไข “คนละครึ่ง” สำรวจพลังงานใต้ทะเล พื้นที่ทับซ้อน ไทย-กัมพูชา

เตรียมส่งสภาฯ เห็นชอบ เงื่อนไขเจรจาสำรวจพลังงานในพื้นที่ทับซ้อน ไทย-กัมพูชา ย้ำไม่มีเรื่องแบ่งเขตแดน ยึดหลักสองประเทศได้ประโยชน์แบบคนละครึ่ง

 

จากการประชุมวาระลับในช่วงท้ายของการประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 ม.ค.2566 ซึ่งมีการพิจารณาเรื่องการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา โดยพล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นำเข้ามาหารือใน ครม. และใช้เวลาราว 20 นาที พร้อมเชิญผู้ไม่เกี่ยวข้องออกนอกที่ประชุมนั้น

 

การประชุมดังกล่าวมีที่มาจากเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 พล.อ.ประวิตร ในฐานะประธาน JTC ไทย-กัมพูชา ฝ่ายไทย ได้หารือกับ นายซุย แซม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกัมพูชา ในฐานะประธาน JTC ไทย-กัมพูชา ฝ่ายกัมพูชา เพื่อร่วมกันผลักดันความร่วมมือพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ สำรวจแหล่งพลังงานน้ำมันและแก๊สในพื้นที่บริเวณพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อน ไทย-กัมพูชา (Overlapping Claims Area : OCA) 

 

โดยรับทราบว่าทางกัมพูชายินดีที่จะร่วมมือกับฝ่ายไทยโดยใช้โครงสร้างของคณะกรรมการร่วม (Joint Committee : JC)  ระหว่างไทย -กัมพูชา เพื่อสำรวจแหล่งพลังงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ รองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศต่อไป

 

วานนี้ (4 ม.ค.) แหล่งข่าวเผยว่าเนื้อหาการเจรจาดังกล่าวยังไม่เอ่ยถึงเรื่องเขตแดนที่ยังทับซ้อน เนื่องจากเป็นหัวข้อที่จะทำให้ไม่สามารถดำเนินการต่อเรื่องการสำรวจแหล่งพลังงานได้  ในขณะที่ปัญหาวิกฤตพลังงานจากผลพวงสงครามรัสเซีย-ยูเครนและอีกหลายปัจจัย ทำให้สองฝ่ายเห็นพ้องว่าควรนำพลังงานที่มีอยู่ในพื้นที่มาใช่ร่วมกัน โดยที่ประชนทั้งสองประเทศได้ประโยชน์ร่วมกัน โดยมี 4 เงื่อนไขสำคัญ ได้แก่

 

1) รัฐบาลเห็นชอบร่วมกัน และต้องประกาศใช้ประชาชนเข้าใจ ไม่ขัดแย้งกันเอง

 

2) ต้องให้สภาฯ ให้ความเห็นชอบร่วมกันทั้งสองประเทศ

 

3) ไม่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ

 

4) ต้องใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น แบ่งกันคนละครึ่ง

 

เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งที่คุยกันไว้ในเรื่องพลังงาน เปรียบเหมือนมีเงินในกระเป๋า แต่ไม่สามารถเอาออกมาใช้ได้ ความสามารถของรัฐบาล คือมีเงินอยู่ในกระเป๋าแล้วเอาออกมาใช้ให้ได้

 

กระทรวงการต่างประเทศได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักที่ต้องขับเคลื่อนในเรื่องนี้ เพื่อนำเรื่องที่คุยกันเอาไว้ มาประชุมหารือตั้งคณะทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะเรื่องเส้นเขตแดนเพราะเป็นพื้นที่ทับซ้อน และเรื่องวิกฤตพลังงาน เป็นต้น

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า