Newsจับตา ‘มาร์กอส จูเนียร์’ กับยุทธศาสตร์สานสัมพันธ์สหรัฐฯ ให้แน่นแฟ้นอีกครั้งหลังยุคดูเตอร์เต

จับตา ‘มาร์กอส จูเนียร์’ กับยุทธศาสตร์สานสัมพันธ์สหรัฐฯ ให้แน่นแฟ้นอีกครั้งหลังยุคดูเตอร์เต

ในการประชุมทวิภาคีนอกรอบการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ  (UNGA) ระหว่างสหรัฐ-ฟิลิปปินส์ ในกรุงนิวยอร์กเมื่อวันที่ 22 กันยายน ที่ผ่านมา

 

ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน กล่าวว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และฟิลิปปินส์ ‘มีรากฐานที่ลึกซึ้งมาก’ ซึ่งจากมุมมองของสหรัฐฯ มันเป็นความสัมพันธ์ที่มีความสำคัญมากๆ และผมหวังว่าเราจะสามารถทำอะไรร่วมกันได้มากมาย”

 

ในขณะที่ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ มาร์กอส จูเนียร์ กล่าวตอบว่า “บทบาทของสหรัฐฯ ในการสร้างสันติภาพในภูมิภาคนี้ ‘เป็นที่น่าชื่นชมอย่างมาก’” พร้อมกล่าวเสริมว่า “เราเป็นคู่หูของคุณ พันธมิตรของคุณ และเพื่อนของคุณ”

 

นายเอียน สตอรีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มองว่าการที่ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เข้าพบไบเดนก่อนการเยือนจีนเพียง 1 สัปดาห์ และการกล่าวสุนทรพจน์ต่อหน้าสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ที่เน้นว่าควรมีการตั้งกฎเกณฑ์ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางทะเล ‘กำลังส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่า ผู้นำฟิลิปปินส์เชื่อว่าความสัมพันธ์เดียวที่สำคัญที่สุดของฟิลิปปินส์คือกับสหรัฐฯ’

 

ซึ่งสิ่งนี้ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับที่อดีตประธานาธิบดี ดูเตอร์เต เคยประกาศแยกตัวออกจากสหรัฐฯ  ทั้งในแง่ของการทหารและเศรษฐกิจ โดยลดความสัมพันธ์ทวิภาคีลงสู่ระดับต่ำสุดใหม่

 

อย่างไรก็ตาม มาร์กอส จูเนียร์ ยังคงดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบ ‘อิสระ’ ของดูเตอร์เตต่อไป พร้อมๆ กับการ ‘สร้างสมดุล’ ระหว่างความสัมพันธ์กับจีนและสหรัฐฯ ด้วยการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ขึ้นมาใหม่

 

นักประวัติศาสตร์ โจเซ่ แอนโทนิโอ คัสโตดิโอ อธิบายว่า มาร์กอส จูเนียร์ ‘กำลังค้นหากลยุทธ์’ เพื่อจัดการปัญหาความขัดแย้งทางทะเล และเพื่อจัดการกับอิทธิพลของจีนที่เพิ่มขึ้นในฟิลิปปินส์ จากนโยบายสานสัมพันธ์กับจีนของดูเตอร์เต

 

คัสโตดิโอ อธิบายเพิ่มเติมว่า มาร์กอส จูเนียร์ นิยมสหรัฐฯ และจะพูดในสิ่งที่เข้าหูพวกอเมริกัน อย่างไรก็ตาม ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า เขาจะคานอำนาจทั้งสองฝ่าย ด้วยการฝากฝังเรื่องความมั่นคงกับสหรัฐฯ ในขณะที่ฝากฝังเรื่องอื่นๆ ที่เหลือไว้กับจีน หรือไม่

 

ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวมาร์กอสกับสหรัฐฯ ย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีมาร์กอส จอมเผด็จการคนพ่อ หรือที่รู้จักกันในนาม “Amboy (American Boy)” จนกระทั่งเขาถูกประชาชนลุกฮือขับไล่จนต้องลี้ภัยไปสหรัฐฯ ในปี 1986

 

โดยความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-ฟิลิปปินส์ เริ่มสั่นคลอนในภายหลังเกี่ยวกับข้อพิพาทด้านค่าธรรมเนียมการตั้งฐานทัพ ซึ่งต่อมาในปี 1991 ฟิลิปปินส์ปฏิเสธไม่ต่ออายุข้อตกลงการตั้งฐานทัพให้แก่สหรัฐฯ ส่งผลให้สหรัฐฯ ต้องถอนฐานทัพออกจากฟิลิปปินส์ในปีต่อมา

 

อย่างไรก็ตาม ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศได้ฟื้นตัวอย่างช้าๆ ก่อนที่จะเลวร้ายลงอย่างกะทันหันภายใต้การปกครองของดูเตอร์เต

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า