Newsนักวิจัยวิศวะมหิดล เจ๋ง ! สกัดสารจากทะลายปาล์ม นำส่งยารักษามะเร็งลำไส้ แบบ “เคมีบำบัดมุ่งเป้า” ได้สำเร็จ ตอบโจทย์เศรษฐกิจ BCG หนุนไทยสู่การเป็นเมดิคัลฮับ

นักวิจัยวิศวะมหิดล เจ๋ง ! สกัดสารจากทะลายปาล์ม นำส่งยารักษามะเร็งลำไส้ แบบ “เคมีบำบัดมุ่งเป้า” ได้สำเร็จ ตอบโจทย์เศรษฐกิจ BCG หนุนไทยสู่การเป็นเมดิคัลฮับ

นักวิจัยวิศวะมหิดลเจ๋ง! สกัดสารจากทะลายปาล์ม ใช้นำส่งยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า ตอบโจทย์เศรษฐกิจ BCG หนุนไทยสู่การเป็นเมดิคัลฮับ

 

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชื่นชมทีมนักวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่สามารถคิดค้นนวัตกรรม “อนุภาคคาร์บอนเรืองแสง” จากสารชีวพอลิเมอร์ทะลายปาล์ม เพื่อนำส่งยารักษามะเร็งลำไส้แบบ “เคมีบำบัดมุ่งเป้า” ได้สำเร็จ ซึ่งสามารถตอบโจทย์เศรษฐกิจ BCG และเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทยในการเป็นเมดิคัลฮับ โดยได้รับการสนุบสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

 

ความสำเร็จครั้งนี้ เป็นฝีมือจากทีมนักวิจัยไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 5 คน และหน่วยปฏิบัติการเวชศาสตร์นาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งได้คิดค้นนวัตกรรม “อนุภาคคาร์บอนเรืองแสงจากสารชีวพอลิเมอร์ทะลายปาล์ม เพื่อส่งยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า” จนสำเร็จ

 

โดยการใช้อนุภาคคาร์บอน (Carbon Dots) ที่เป็นวัสดุนาโนในการนําส่งยาเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปขัดขวางและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง รวมถึงจํากัดบริเวณเพื่อให้ยาออกฤทธิ์เฉพาะที่อย่างแม่นยำ ช่วยลดผลกระทบต่อเซลล์ปกติโดยรอบ และลดผลข้างเคียงจากการรักษาได้

 

คุณสมบัติของอนุภาคคาร์บอน (Carbon Dots) มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ มีขนาดเฉลี่ยต่ำกว่า 10 นาโนเมตร สามารถเคลื่อนที่เข้าไปในเซลล์ได้ดี และมีคุณสมบัติในการเรืองแสงหลายสี ซึ่งจะช่วยติดตามการบำบัดรักษาได้ว่ายาอยู่ส่วนไหนของร่างกาย สำหรับการสังเคราะห์อนุภาคคาร์บอนนั้น ทีมวิจัยได้เลือกใช้กระบวนการไฮโดรเทอมัล คาร์บอไนเซชั่น เนื่องจากมีประสิทธิภาพ ต้นทุนต่ำ มีศักยภาพในการขยายขนาดในภาคอุตสาหกรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

จุดเด่นของการสังเคราะห์อนุภาคคาร์บอนจากทะลายปาล์ม ทะลายปาล์มมีโครงสร้างหลัก คือ กลุ่มของลิกโนเซลลูโลส (Lignocellulose) ที่ประกอบด้วยเซลลูโลส (Cellulose) 35-50% เฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) 20-35% และลิกนิน (Lignin) 10-25% เมื่อผ่านกระบวนการปรับสภาพและแยกองค์ประกอบแล้ว จะกลายเป็นอนุภาคคาร์บอนที่ดี นอกจากนี้ ยังเป็นวัสดุระดับนาโนจากชีวมวลเหลือจากอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ที่สามารถนำมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าทางอุตสาหกรรมการแพทย์ได้

 

“ประโยชน์ของนวัตกรรม ‘อนุภาคคาร์บอนเรืองแสงจากสารชีวพอลิเมอร์ทะลายปาล์ม เพื่อส่งยารักษามะเร็งลำไส้แบบมุ่งเป้า’ จะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง มีต้นทุนการรักษาต่ำ ไม่มีพิษต่อร่างกาย อีกทั้ง ยังลดความเหลื่อมล้ำ ช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพได้อย่างทั่วถึง ส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตจากวัตถุดิบการเกษตรที่มีในประเทศ และลดการนำเข้าวัสดุนำส่งยาที่มีราคาแพง ตลอดจนสอดคล้องกับแนวเศรษฐกิจ BCG ของรัฐบาล ที่จะสร้างโอกาสในการต่อยอดอุตสาหกรรมการแพทย์ไทยก้าวสู่การเป็นเมดิคัลฮับของภูมิภาค” นางสาวรัชดาย้ำ

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า