Newsอ.เศรษฐศาสตร์ มธ.ชี้ หากใช้นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท ธุรกิจขนาดเล็ก-กลางจะกอดคอลงเหว ความเหลื่อมล้ำจะพุ่งสูงขึ้นมาก

อ.เศรษฐศาสตร์ มธ.ชี้ หากใช้นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท ธุรกิจขนาดเล็ก-กลางจะกอดคอลงเหว ความเหลื่อมล้ำจะพุ่งสูงขึ้นมาก

วันที่ 7 ธ.ค. 2565 ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ออกมาวิเคราะห์ให้เห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย หากพรรคเพื่อไทย ได้เป็นรัฐบาลและนำนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท และ ป.ตรี เริ่มต้น 25,000 บาท มาใช้

 

———-

โพสต์ของ ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว

———-

 

ค่าแรง 600 บาท ป.ตรี  25,000 บาท ก็กอดคอกันลงเหวไปเลยสิครับ!!!

 

…ถอดหัวโขนการเป็นพ่อแมวกลับสู่โหมดนักเศรษฐศาสตร์…

โพสนี้ผมขอเจาะเฉพาะ “ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท” ก่อนนะครับ 

เพื่อให้เห็นภาพที่ต่อเนื่อง ในการวิเคราะห์เราควรแยก “อดีต” กับ “อนาคต” ด้วยนะครับ…

 

***Season 1 : มองอดีต***

 

  1. ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ค่าแรงไม่ได้เพิ่มอย่างต่อเนื่องในระดับที่สามารถเอาชนะอัตราเงินเฟ้อได้ ผมไม่ได้พูดถึงเงินเฟ้อในภาพรวมของประเทศ สำหรับคนที่ใช้ชีวิตอยู่ด้วยรายได้ใกล้เคียงกับค่าแรงขั้นต่ำ เราต้องดูเงินเฟ้อปากท้องที่คำนวณโดยใช้ราคาของกินของใช้และบริการที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน  ผมเคยคำนวณเอาไว้คร่าว ๆ เงินเฟ้อปากท้องจะสูงกว่าเงินเฟ้อภาพรวมประมาณ 2-5 เท่าขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละช่วง (ดูได้จากลิงค์นี้ครับ shorturl.at/byMR6) นั่นหมายความว่า การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเพียงแค่ให้เท่ากับค่าครองชีพก็ยังไม่พอเลย นับประสาอะไรกับการเพิ่มที่น้อยกว่าค่าครองชีพ ดังนั้น ค่าแรงแท้จริงของคนกลุ่มนี้จึงไล่ไม่ทันค่าใช้จ่ายรายวัน พูดง่าย ๆ ก็คือ ยิ่งอยู่ไปอยู่ไปพวกเขาอย่างดีฐานะก็เท่าเดิม อย่างแย่ก็จนลงกว่าเดิม

 

  1. การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแบบก้าวกระโดดเป็น 300 บาททำให้ค่าครองชีพเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ลองไปดูตัวเลขค่าแรงขั้นต่ำในกรุงเทพและปริมณฑล แล้วใช้เงินเฟ้อปากท้องมาเป็นฐานในการเทียบ จะพบว่า ภายในเวลาไม่ถึง 3 ปีเงินเฟ้อปากท้องก็ไล่ทันค่าแรงที่เพิ่มขึ้น คนที่เคยได้ประโยชน์จากค่าแรงก็กลับมาอยู่ ณ จุดเดิม เงิน 300 บาทที่ได้พาเขากลับไปสู่อดีตก่อนที่เขาจะได้ 300 บาทในเวลาที่รวดเร็วมาก ในทางเศรษฐศาสตร์นี่คือการบีบให้กลไกตลาดให้รางวัลแค่แรงงานในทางอ้อม เรียกกว่าเป็นโบนัสเชิงนโยบายก็ได้

 

  1. ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นทำให้ธุรกิจตัวเล็กตัวน้อย โดนหมัดฮุุกเข้าท้องน้อย ทำให้โตต่อได้ยาก เพราะต้นทุนค่าแรงคิดเป็นร้อยละ 50-70 ของต้นทุนทั้งหมด ส่วนธุรกิจใหญ่ที่ปกติจ่ายค่าแรงสูงกว่า 300 อยู่แล้ว ผลกระทบมีไม่มากนัก แม้ว่าผมจะไม่มีข้อมูล แต่ตามหลักแล้ว สถานการณ์เช่นนี้มักนำไปสู่ปัญหาทักษะไหล เพราะคนเก่งจะถูกบริษัทใหญ่ดึงตัวไปมากขึ้น เนื่องจากธุรกิจตัวเล็กตัวน้อยต้องปล่อยคน หรือไม่ก็ปิดตัวลง (ใครมีข้อมูลเรื่องนี้รบกวนแชร์ให้หน่อยนะครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ)

 

4.บทเรียนจากการทบทวนวรรณกรรมเรื่องการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแบบก้าวกระโดดทั่วโลกได้ผลตรงกันว่า ดีกับพรรคการเมือง แต่ไม่ดีกับประชาชน องค์การแรงงานระหว่างประเทศจึงได้กำหนดแนวปฏิบัติ (Guidelines) ลองดูในบทที่ 5 ของเอกสารนี้นะครับ (https://www.ilo.org/…/docs/WCMS_508566/lang–en/index.htm) ลองอ่านแล้วจะเห็นว่า การขึ้นค่าแรง 300 บาท (600 บาท เพิกเฉยต่อแนวปฏิบัติไปกี่ข้อ)

 

  1. การขึ้นค่าแรง 300 ที่อ้างว่าเราประสบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ดูได้จากการที่อัตราการว่างงานของเราต่ำมากอยู่ที่ไม่เกิน 2% ที่ต้องบอกคือ ประเทศอื่น ขนาดตอนเศรษฐกิจเขาดี ๆ อัตราการว่างงานเขายังอยู่แถว 3% แล้วทำไมไทยถึงต่ำขนาดนี้ คำตอบคือ เป็นเพราะนิยามของการมีงานทำที่ระบุว่าแค่ทำงาน 1 ชม ต่อสัปดาห์ก็มีงานทำแล้วยังไงล่ะครับ  แต่ถ้าเป็นแถวบ้านอาทิตย์นึงทำงาน 1 ชั่วโมงแล้วเวลาที่เหลือนอนดูซีรี่ส์นี่ แถวบ้านเรียกตกงานนะครับ (ดูนิยามการมีงานทำได้ที่นี่  http://service.nso.go.th/…/nso…/service/serv_lfsdef.html) ดังนั้นข้ออ้างเรื่องตลาดแรงงานตึงตัวจึงเป็นเหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผล

 

  1. แม้ว่าค่าแรงจะขึ้นเป็น 300 แต่อัตราการว่างงานของเราไม่กระโดดขึ้นมาเหมือนที่ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ นั่นเป็นเพราะปี 2555-2556 หรือเมื่อ 10 ปี ก่อนต้นทุนการนำเทคโนโลยีมาใช้แทนแรงงานยัง “แพง” และ “แทนได้ไม่ดี” ธุรกิจจึงต้องกัดฟันทนกันไป 

 

***Season 2: Spoiler ภาพอนาคต***

 

มีอะไรบ้างที่อาจจะเกิดขึ้น

 

  1. ค่าแรงกระโดดเป็น 600 เท่ากันทั่วประเทศ จะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำย้อนกลับ การขึ้นค่าแรง 600 บาทเท่ากันทุกจังหวัด ทำลายโอกาสได้งานในจังหวัดที่ไม่ใช่แม่เหล็กทางเศรษฐกิจ คนจะเดินทางมาหาโอกาสทำงานในจังหวัดที่เจริญแล้ว เพราะน่าจะมีความสามารถในการจ่ายได้มากกว่า เมื่อแรงงานออกจากจังหวัด ความเจริญก็ไหลออกตามมาด้วย กำลังซื้อในจังหวัดจะลดลง ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ระหว่างจังหวัดมากขึ้น (ดูได้จาก https://www.tcijthai.com/news/2013/24/scoop/1914)

 

  1. บริบทการฟื้นตัวแบบ K-Shape เราเห็นแล้วว่า การระบาดของโควิด ที่มาพร้อม Disruption ระยะที่ 2 ที่หมายถึงระยะที่ต้นทุนการเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีแทนแรงงานมีต้นทุนต่อ ทำได้ง่าย และเปลี่ยนแล้วคุ้มค่า หมายความว่า ธุรกิจไม่จำเป็นต้องง้อแรงงาน ยิ่งค่าแรงขึ้นแรง การเปลี่ยนไปใช้เทคโลยีแทนยิ่งคุ้ม ดังนั้น จะเอาข้อมูลในอดีตว่าไม่เกิดผลกระทบต่อการจ้างงานมาใช้กับบริหลังโควิดจึงไม่เหมาะสม (บทความของคุณกษิดิ์เดช คำพุช แห่ง 101 แสดงข้อมูลเรื่อง K-Shape ไว้ชัดเจนมาก ขออนุญาตแชร์นะครับ Kasidet Khumpuch https://www.the101.world/minimum-wage-to-living-wage/… )

 

  1. เราพูดถึงที่ค่าแรงขั้นต่ำ 600 จะทำให้เวียดนามยิ้มร่า ผมขอบอกเลยว่า ไม่ใช่แค่เวียดนามที่ยิ้มร่า อาเซียน and beyond ยิ้มกันหมดครับ ย้ายฐานการผลิตเกิดขึ้นแน่

แต่ๆๆๆๆ ที่ผมห่วงไม่ใช่แค่เงินไหลออกครับ ลักษณะของเงินทุนใหม่ที่ไหลเข้ามา เขาไม่ได้ต้องการแรงงานระดับที่ใช้ชีวิตอยู่กับค่าแรงขั้นต่ำ เขาต้องการแรงงานทักษะสูง นั่นหมายความว่าต่อให้ FDI เข้ามาจนประเทศไทยสำลัก ก็ไม่ได้การันตีว่า คนที่ตกงานจากการย้ายฐานการผลิตจะได้งาน 

 

  1. ค่าแรง 600 เราจะได้เห็นผีน้อยหลายชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทย คนไทยที่ตกงานก็ต้องต่อสู้แย่งชิงงานกับเขา จำนวนแรงงานนอกระบบจะเพิ่มขึ้น อันนี้น่ากลัว เพราะถ้าคนรายได้น้อยหลุดออกจากระบบ Safety Net ทั้งหลายก็จะหายไปด้วย 600 ไม่ได้ ครอบครัวลำบาก ชีวิตไม่มั่นคง…ธุรกิจมีกำไรลดลง…ฐานภาษีของรัฐก็หายไปด้วย…

 

  1. ค่าครองชีพที่สูงขึ้นส่งผลต่อต้นทุนธุรกิจ กระทบการท่องเที่ยว กระทบกับคนมีรายได้ประจำ ตอนนี้ยังไม่แน่ใจเลยว่าผลจะหนักหนาแค่ไหน เพราะยังไม่ได้ใส่ปัจจัยเรื่องสภาพอากาศและปัญหาเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ แต่ถ้าถามลางสังหรณ์ ผมใจหวิว ๆ ครับ

 

  1. ค่าครองชีพจะนำไปสู่การใช้นโยบายประชานิยมอีกรอบหรือเปล่า ถ้าฉายหนังซ้ำแบบนี้อีก ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศที่ค่าแรงขั้นต่ำสูง แต่น้ำตานองแผ่นดิน คุ้มหรือไม่คุ้มลองคิดดูนะครับ

 

ส่วนนโยบาย 25,000 บาท ขอเป็นพรุ่งนี้นะครับ แมวผมหิวข้าวแล้วครับ…

รักทุกคนนะครับกัลยาณมิตรที่รักของผม…

 

#ผมเป็นนักเศรษฐศาสตร์ #ผมเป็นคนสงขลา #ล้วนแก้ว

 

ที่มา: Kiatanantha Lounkaew

 

#TheStructureNews

#พรรคเพื่อไทย #แพรทองธาร

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า