Newsถอนตัวเส้นทางสายไหม รัฐบาลอิตาลี เผยเสียใจที่ร่วม BRI ของจีน แต่ก็ยังอยากรักษาความสัมพันธ์กับจีนไว้

ถอนตัวเส้นทางสายไหม รัฐบาลอิตาลี เผยเสียใจที่ร่วม BRI ของจีน แต่ก็ยังอยากรักษาความสัมพันธ์กับจีนไว้

การตัดสินใจของอิตาลีในการเข้าร่วมโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) ของจีนเป็นความผิดพลาดที่โรมกำลังพยายามหาทางออก กีโด โครเซตโต รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอิตาลี กล่าวกับหนังสือพิมพ์ Corriere della Sera เมื่อวานนี้ (30 ก.ค.)

 

อิตาลีลงนามในข้อตกลงเส้นทางสายไหมใหม่” (Belt and Road Initiative : BRI) ของจีนในปี 2019 และกลายเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้าร่วมโครงการอย่างเป็นทางการ โดยภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว รัฐบาลจีนสัญญาว่าจะลงทุนในท่าเรือและโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของอิตาลี ซึ่งจะช่วยลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างทั้งสองประเทศ

 

“การตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเส้นทางสายไหมใหม่เป็นการตัดสินใจที่ไม่ได้เตรียมการมาอย่างดีและเลวร้าย” รมว.กลาโหมกล่าว โดยอธิบายว่าในขณะที่การนำเข้าของจีนมายังอิตาลีเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่านับตั้งแต่ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ แต่การส่งออกของอิตาลีไปยังจีนกลับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

 

“ประเด็นในวันนี้คือ เราจะถอนตัวจากโครงการเส้นทางสายไหมใหม่โดยไม่ทำลายความสัมพันธ์กับปักกิ่งได้อย่างไร… เพราะถึงแม้ว่าจีนจะเป็นคู่แข่ง แต่ขณะเดียวกันก็เป็นพันธมิตรกับเราด้วย” รัฐมนตรีกลาโหม ระบุ 

 

มีความเป็นไปได้ แต่ไม่แน่นอนว่าอิตาลีจะถอนตัวจากโครงการนี้ โดยจอร์เจีย เมโลนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี กล่าวเมื่อเดือนพฤษภาคมว่าเธอจะหารือกับปักกิ่งเกี่ยวกับการถอนตัวที่อาจเกิดขึ้น และหลังจากที่ได้พบกับประธานาธิบดีโจ ไบเดนของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ เธอบอกกับ Fox News ว่าเธอจะตัดสินใจภายในสิ้นปีนี้

 

การยุติโครงการกับจีนจะทำให้เมโลนีกลายเป็นพันธมิตรที่เชื่อถือได้ของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ Global Times ของจีนเตือนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (28 ก.ค.) ว่าความคิดที่จะเสียสละความร่วมมือกับจีนในโครงการ BRI เพื่อให้ได้บางสิ่งจากสหรัฐฯ เป็นการคำนวณที่ผิดพลาด

 

“แนวทางที่สหรัฐฯ นำมาใช้ในท้ายที่สุดนั้นไม่เป็นประโยชน์สำหรับเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในยุโรป ซึ่งรวมถึงอิตาลีด้วย เนื่องจากเป็นวิธีการที่ขับเคลื่อนด้วยลัทธิปกป้องการค้าและการออกนโยบายโดยฝ่ายเดียว ซึ่งตรงข้ามกับจีนที่สนับสนุนการค้าเสรีและเศรษฐกิจแบบเปิด ซึ่งเป็นคุณค่าหลักที่แท้จริงของหลักการความร่วมมือ” Cui Hongjian ผู้อำนวยการยุโรปศึกษาแห่งสถาบัน China Institute of International Studies (CIIS) กล่าวกับ Global Times 


ทั้งนี้ ข้อตกลงเส้นทางสายไหมใหม่จะหมดอายุในเดือนมีนาคม 2024 และจะมีการต่ออายุโดยอัตโนมัติ เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแจ้งอีกฝ่ายว่าต้องการจะถอนตัว โดยต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า