NewsThailand Vision เปิด 8 วิสัยทัศน์นายกรัฐมนตรี สำหรับขับเคลื่อนประเทศไทย

Thailand Vision เปิด 8 วิสัยทัศน์นายกรัฐมนตรี สำหรับขับเคลื่อนประเทศไทย

เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศวิสัยทัศน์ Thailand Vision “IGNITE THAILAND จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึง” มุ่งเป้าพัฒนาประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุมทั้งการท่องเที่ยว การรักษาพยาบาลและสุขภาพ อาหาร การบิน การผลิตยานยนต์แห่งอนาคต เทคโนโลยี และการเงิน เพื่อการก้าวขึ้นเป็นที่ 1 ของภูมิภาคโดยอาศัยความได้เปรียบของประเทศไทย มีทั้งหมด 8 ด้านดังนี้

 

1 ศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยว (Tourism Hub)

 

คนไทยกว่า 1 ใน 3 มีรายได้จากการท่องเที่ยว มีมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 2.3 ล้านบาท หรือ 70% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี และเมืองไทยมีอัตลักษณ์ที่มีเสน่ห์ที่โดดเด่นในสายตาชาวโลก อีกทั้งยังมีเมืองรองอีกมากที่ยังรอการพัฒนา

 

รัฐบาลจะเปิดอิสรภาพในการเดินทางระดับภูมิภาคเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว เชื่อมโยงการเดินทางระหว่างประเทศเพื่อนบ้านสู่เมืองรอง และจะทลายข้อจำกัด กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคการท่องเที่ยว เพื่อให้เมืองไทยกลายเป็น Homestay ของคนทั้งโลก

 

2 ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ (Wellness & Medical Hub)

 

ระบบการรักษาพยาบาลของประเทศไทยมีชื่อเสียงระดับโลก ทั้งศาสตร์การดูแลสุขภาพแผนไทยที่มีชื่อเสียง บุคลากรที่มีคุณภาพและ Service Mind ทั้งยังสามารถดูแลได้ครอบคลุมตั้งแต่เกิดไปจนถึงวัยชรา และรักษาได้ทุกโรค ด้วยค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล สร้างรายได้ให้ประเทศกว่า 4 หมื่นล้านบาท

 

ในขณะที่ระบบประกันสุขภาพของคนไทยจะได้รับการพัฒนา ยกระดับจาก “30 บาทรักษาทุกโรค” เป็น “30 บาทรักษาทุกที่” เพื่อให้คนไทยเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ดีขึ้นได้ ทั้งในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน โดบใช้ AI เชื่อมฐานข้อมูลทั้ง 77 จังหวัดด้วยบัตรประชาชนเพียงใบเดียว ซึ่งจะแล้วเสร็จทั่วประเทศภายในปีนี้

 

3 ศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub)

 

ไทยจะดูแลความมั่นคงทางอาหารโลก ด้วยการยกระดับอุตสาหกรรมครบวงจร ตั้งแต่ภาคการเกษตร ไปจนถึงการแปรรูป และพัฒนาสูตรอาหาร ซึ่งรัฐบาลจะส่งเสริมเกษตรกรไทย ให้มีรายได้มากขึ้น 3 เท่าใน 4 ปีของรัฐบาลนี้ ด้วยการพัฒนาระบบชลประทาน และการประยุกต์ใช้เกษตรแม่นยำ ไปพร้อมๆ กับการดูแลเรื่องฝุ่น PM2.5

 

และจะพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต การวิจัยพัฒนาอาหารโปรตีนสูงจากพืช ตลอดจนการพัฒนาอาหารที่แปลกใหม่ ซึ่งคาดว่าจะเป็นกระแสของตลาดโลกในอนาคต รวมถึงการยกระดับคุณภาพอาหาร ทั้งอาหาร Halal อาหารสำหรับผู้ป่วย และอาหารชนิดพิเศษอื่น ๆ

 

4 ศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub)

 

จะพัฒนาสนามบินให้รองรับการ Transit ของสายการบิน และเตรียมปรับเปลี่ยนเส้นทางตารางบินให้เหมาะสม เพื่อเพิ่ม Transit Capacity ให้สูงขึ้น และให้มีความเชื่อมโยงกับเมืองรองให้มากขึ้น พร้อมเป็น

Home-base มากขึ้น

 

ซึ่งการปรับปรุงการบิน ไม่ได้เพียงเพื่อรองรับการเดินทางเท่านั้น แต่จะรองรับการขนส่งสินค้าทางอากาศ และมีความพร้อมที่จะเป็นศูนย์ดูแลรักษา ซ่อมบํารุง ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค

 

5 ศูนย์กลางขนส่งของภูมิภาค (Logistic Hub)

 

ภายในปี 2593 จะมีการขยาย Motorway เพิ่ม 10 เท่าเป็น 2,500 กม. และมีทางหลวงแผ่นดิน 4 เลนเพิ่มเป็น 23,000 กม. เชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านจากเหนือจรดใต้ ขยายระบบรางคู่เพิ่มอีก 2,000 กม. ให้ระบบรางระหว่างเมืองมีระยะทางรวม 5,500 กิโลเมตรภายในปี 2573

 

จะมีการสร้างทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และเชื่อมโยงถึงหนองคาย และท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบัง เพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรม และกลายเป็นนศูนย์กลางคมนาคมของอาเซียน เชื่อมจีน ยุโรป และเป็นศูนย์กลางขนส่งผ่าน Land Bridge เชื่อมสองฝั่งมหาสมุทรอันดามัน-อ่าวไทย สร้างความสมดุลสู่ความมั่งคั่งเป็นตัวกลางการค้าระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก

 

6 ศูนย์กลางผลิตยานยนต์แห่งอนาคต (Future Mobility Hub)

 

ตั้งเป้าหมายการลงทุนกว่า 1 ล้านล้านบาท เพื่อผลักดันไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์แห่งอนาคต และจะให้ความช่วยเหลือบริษัทยานยนต์ญี่ปุ่น ที่เลือกประเทศไทยเป็นบ้านหลังที่ 2 ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยายนต์แห่งอนาคต และวางรากฐานรองรับเทคโนโลยีอนาคตอื่น เช่นเครื่องยนต์ไฮโดรเจน

 

7 ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy Hub) 

 

ดึงดูดการลงทุนด้านอุตสาหกรรมดิจิทัลให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ไม่ว่าจะการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ศูนย์ Data Center รวมไปถึงการวิจัยและใช้งาน AI และ Deep Tech เพื่อให้โปรแกรมเมอร์ชาวไทยกว่า 3 แสนคนได้มีงานทำในประเทศ และเปิดโอกาสให้คนไทยที่อยากจะเป็นเจ้าของธุรกิจStart Up สามารถสร้าง Unicorn ของตนเอง

 

8 ศูนย์กลางทางการเงิน (Financial Hub)

ตั้งเป้าจะเปลี่ยนให้ไทยเป็น Financial Center of Southeast Asia ขับเคลื่อนโดยระบบการเงินที่แข็งแกร่ง ดึงสถาบันการเงินระดับโลกเข้ามาลงทุน สร้างย่านการเงิน Wall Street ของอาเซียนให้เกิดขึ้นในประเทศไทย และพัฒนา Infrastructure รองรับระบบการเงินแห่งอนาคตขับเคลื่อนด้วย Blockchain ที่ไร้ตัวกลาง 


และเตรียมปลดล็อก Digital Asset ต่าง ๆ ให้สามารถแปลงเป็นผลผลิตในโลกแห่งความเป็นจริง รวมถึงเชื่อมต่อระหว่างสินทรัพย์ในโลกปัจจุบันให้มาอยู่บนโลกดิจิทัลได้อีกด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า